ข่าว

"ศรีสุวรรณ" ร้อง ป.ป.ช.เอาผิดกรมอุทยานฯ-กรมศิลปากร-ผู้ว่าแพร่ ปมรื้อทำลายอาคารบอมเบย์เบอร์มา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ศรีสุวรรณ"บุกร้อง ป.ป.ช.เอาผิดกรมอุทยานฯ-กรมศิลปากร-ผู้ว่าฯแพร่ เหตุปล่อยให้มีการทุบรื้อทำลายอาคารบอมเบย์ เบอร์มา

       

          19 มิ.ย.2563  เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน ป.ป.ช. นนทบุรี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อเอาผิดหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ละเลยเพิกเฉยปล่อยให้มีกานทุบทำลายอาคารประวัติศาสตร์บอมเบย์ เบอร์มา ณ สวนรุกขชาติเชตวัน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยอ้างเพื่อการ 

 

          “ทั้งๆ ที่ควรจะรู้ว่าเป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นราวปี 2432 หรือประมาณ 131 ปีมาแล้ว ซึ่งอาคารดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของการทำไม้ของประเทศไทยมายาวนาน โดยอาคารบริษัท บอมเบย์ เบอร์มา เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่ทำไม้ในเขตภาคเหนือตอนบนได้สร้างอาคารบ้านพัก สำนักงาน ที่พักคนงาน เป็นที่รวมไม้ซุงก่อนจะล่องซุงไปตามแม่น้ำยมลงไปยังภาคกลาง และกรุงเทพฯ ในอดีต

 

อ่านข่าว...  "ศรีสุวรรณ"  โวย  ไม้เก่า อาคารบอมเบย์เบอร์มา ถูกแอบขาย 

          แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรมอุทยานฯและหน่วยงานในจังหวัดแพร่กลับปล่อยให้ผู้รับเหมาที่ประมูลงานได้เข้าทุบรื้อทำลายอาคารเก่าแก่ดังกล่าวทั้งหมด จนไม่เหลือสภาพของเดิมๆ ไว้ จนมิอาจเรียกว่าเป็นการ “ปรับปรุงซ่อมแซม” ได้ เพราะแม้แต่ลวดลายไม้ฉลุต่างๆ ก็ถูกแกะรื้อทำลายจนแตกหัก ไม่อาจนำมาประกอบคืนสภาพได้ โดยมิได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนไม้แต่ละชิ้นก่อนรื้อแยกให้เป็นไปตามหลักการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกินกว่าร้อยปีแต่อย่างใด

 

          นอกจากนี้ยังมีข่าวว่ามีการแอบซื้อ-ขายไม่เก่าที่รื้อถอนออกมาบางส่วนไปแล้วด้วย ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารของกรมอุทยานฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งๆ ที่ควรรับรู้โดยปริยายว่าเมืองแพร่เป็นเมืองเก่าว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ตามมติ ครม. 10 ก.พ.2558 แล้ว
         

          นอกจากนั้น อาคารดังกล่าวเป็นอาคารประวัติศาสตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็น “โบราณสถาน” ตามนิยามใน พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ม.4 ที่ว่า “อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย”  ดังนั้น ถึงแม้อาคารดังกล่าวจะยังมิได้มีการประกาศรายชื่อจากกรมศิลปากรแต่ก็อยู่ในฐานะของการเป็นโบราณสถาน ตามนัยยะทางกฎหมายที่บัญญัติไว้ทุกประการ
           

          ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจำต้องนำความมาร้องเรียนกล่าวโทษกรมอุทยานแห่งชาติฯ  กรมศิลปากร และผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ รวมทั้งผู้บริหารในจังหวัดแพร่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดๆ ในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่นต่อ ป.ป.ช.ต่อไปนายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ