ชีวิตดีสังคมดี

พัฒนา 'ขนส่งสาธารณะ' อีก 10 ปีเดินจากบ้านถึงสถานี รถไฟฟ้า แค่ 500 เมตร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กระทรวงคมนาคม เดินหน้าพัฒนา 'ขนส่งสาธารณะ' ให้ครอบคลุม ราคาสมเหตุสมผล อีก 10 ปี เดินจากบ้านถึงสถานีรถไฟฟ้าแค่ 500 เมตร

จากภาวะเศรษฐซบเซาส่งผลกระทบต่อภาคหลายส่วน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ของประเทศไทย ทำให้เกิดการชะลอด้านการเติบโต การลงทุนค่อนข้างมาก และเพื่อเป็นการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม "ขนส่งสาธารณะ" การจัดการระบบผังเมือง ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ผู้อยู่อาศัย ฐานเศรษฐกิจ จึงได้จัด เสวนาโจทย์ใหญ่ฟื้นอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย

 

 

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่จะเข้ามาส่งเสริมให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ให้สามารถเดินหน้าต่อไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม การเดินทางของประชาชนเกิดความสะดวกในการใช้ "ขนส่งสาธารณะ" ลดความแออัดของพื้นที่ชั้นในได้อย่างดี

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบคมนาคมของประเทศ ว่า  ที่ผ่านมารัฐบาลมีการวางโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมการเดินทางของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และเป็นที่ต้องการของประชาชน คือ การบริการระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม "ขนส่งสาธารณะ" ที่มีความสะดวก ปลอดภัย ราคาสมเหตุสมผล เพราะหากสามารถทำได้จะเป็นการลดอัตราการนำรถยนต์ส่วนตัวออกมาใช้ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านการขนส่งโลจิสติกส์

อย่างไรก็ตามปัจจุบันต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีปัญหาด้านคมนาคมที่จะต้องเร่งดำเนินการอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจร ปัญหาระบบขนส่งระบบรางที่มีราคาสูง และยังไม่ตอบโจทย์ระบบการขนส่งโลจิสติกส์  ระบบ "ขนส่งสาธารณะ" ที่ไม่สะดวก  ระบบเชื่อมต่อของขนส่งมวลชน  ส่งผลให้คนต้องเอารถยนต์ส่วนตัวออกมาใช้งานทำให้เกิดปัญหาการจรารติดขัด มลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม  อุบัติเหตุ  ต้นทุนการขนส่งที่ราคาแพงขึ้น

 

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม

 

 

นายชยธรรม์ กล่าวต่อไปว่า หากระบบการขนส่งสาธารณะสามารถลดระยะเวลาการเดินทางให้ประชาชนลงได้  รวมไปถึงมีระบบขนส่งเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางที่ดีและครอบคลุม จะช่วยให้การเดินทางโดยระบบ "ขนส่งสาธารณะ" มีความคล่องตัวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดังนั้นที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม จึงได้มีการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานด้านดารคมนาคมให้มีความครอบคลุมในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน การพัฒนาเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม และการพัฒนาเมือง

 

 

ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในข้างต้นให้เกิดความยั่งยืน 3 ได้แก่  1.การพัฒนาระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ  2.การพัฒนาระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.การดึงให้คนทุกระดับเข้าถึงระบบบริการ "ขนส่งสาธารณะ" ด้วยการเปลี่ยนเป้าหมาย ลดระยะเวลาในการเดินทางให้เหลือไม่เกิน 1 ชั่วโมง ดังนั้นการพัฒนาโครงข่ายระบบราง ถนน ขนส่งทางน้ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้ต่อเนื่อง มีความเชื่อมต่อกัน  ภายใต้แนวคิดการทำให้ทุกคนเข้าถึงสถานี และจุดตัดให้ได้ง่ายที่สุด รวดเร็วที่สุด ลดระยะเวลาในการเดินทาง ลดความแออัดของที่อยู่อาศัยที่กระจุกตัวเฉพาะในตัวเมือง ด้วยการพัฒนาระบบ Feeder ใหม่ ผ่านการใช้ขนส่งระบบราง รถเมล์พลังงานสะอาด เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้ระบบ Feeder เพื่อเดินทางเข้ามาสู่ระบบการขนส่งหลักได้

 

 

โดยที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามโครงการรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 หรือ M-MAP 1  ระยะทาง  554 กิโลเมตร 14 เส้นทาง ก่อสร้างเสร็จภายในปี 2575  หากดำเนินการเสร็จทั้งหมดประชาชนจะเดินจากที่พักอาศัยมายังสถานีรถไฟฟ้าเพียงแค่ 500 เมตรเท่านั้น

 

 

แต่เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้ไวมากขึ้น กระทรวงคมนาคม มีเป้าหมายเร่งด่วนที่ดำเนินการให้เสร็จเกินครึ่งหนึ่งของระยะทางทั้งหมดในปี 2572 ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดใช้ไปแล้วระยะทางกว่า  241 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวตะวันออก ตะวันตก แนวเหนือ-ใต้  รวมไปถึงการพัฒนาระบบ Feeder  ซึ่งในอนาคตรถเมล์จะวิ่งในระยะทางที่สั้นลง รวมทั้งการขนส่งทางน้ำจะสะดวก มีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งที่ครอบคลุมมากบยิ่งขึ้น

 

 

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2  หรือ M-MAP 2 ซึ่งเป็นการศึกษารถไฟฟ้าสายหลักและรองฉบับใหม่ รวม 33 เส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางราง อาทิ โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน โครงการรถไฟความเร็วสูง ระบบโครงข่ายถนน ทางด่วน รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนหรือ TOD เพื่อการพัฒนาพื้นที่โครงข่ายโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ศึกษาร่วมกับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA)  ในการศึกษาและออกแบบ ที่มีความครอบคลุมทุกบริการ เชื่อมต่อระบบขนมวลชนระบบรางอื่นๆ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ