ข่าว

"โควิด-19"หลุมดำรัฐบาล วัดกึ๋นมาตรการเศรษฐกิจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โควิด-19"หลุมดำรัฐบาล วัดกึ๋นมาตรการเศรษฐกิจ

           ช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า“โควิด-19”ลามระบาดทั่วโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ คือแผลกระทบที่เกิดจากโรคกับผลกระทบที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ตามมาจากการแตกตื่น การปิดประเทศหรือการแพร่ระบาดของโรค เมื่อเจาะลึกไปยังมาตรการเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็มีออกมามากมาย นับตั้งแต่โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดและมีมาเป็นระยะ ๆ ก่อนหน้านั้นจากผลพวงของสงครามการค้า แต่ทว่ามาตรการชุดใหญ่ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมีมติออกมาเมื่อวันอังคารที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา รายการ“คมชัดลึก” เนชั่นทีวี ช่อง 22 มีโอกาสสัมภาษณ์เจาะลึก “อุตตม สาวนายน” รมว.คลังถึงมาตรการด้านเศรษฐกิจในการช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบไวรัสโควิด-19

อ่านข่าว-ต้องตรวจฟรี Covid-19!! กับสิ่งที่รัฐบาลและสธ.ละเลย

 

# ทำไมรัฐบาลไม่ทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดให้กับโรคก่อน

    ในข้อเทจจริงรัฐบาลทำทั้งสองเรื่องคู่ขนานกันไป  ทั้งเรื่องของโรคเรื่องของสุขภาพแน่นอนชัดเจน สำคัญมากกับชีวิตของประชาชนชาวไทยทุกคน ฉะนั้นสรรพกำลังทุ่มไปตรงนี้อยางแน่นอน ซึ่งรัฐบาลก็ทำอยู่ ส่วนเศรษฐกิจขอันนี้ก็จำเป็นเพราะผลกระทบจากโคโรน่าไวรัสมันขยายวงกว้าง เดิมเริ่มจากการท่องเที่ยววันนี้ไปภาคการผลิต ผลิตไม่ได้ ธนาคาร สถาบันการเงินกระทบไปหมดเป็นลูกโซ่ ก่อนหน้านี้ถ้าจำกันได้ตั้งแต่ปีที่แล้วเราเห็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจโลก เจอสงครามการค้า การส่งออกเรากระทบแล้ว แต่วันนั้่นการท่องเที่ยวยังดี ยังเป็นพระเอก 

     เมื่อเศรษฐกิจโลกเป็นเช่นนั้นรัฐบาลเริ่มออกมาตรการมาแล้วดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คนตัวเล็ก ตัวกลาง ยังไม่เห็นตลาดหลักทรัพยเลย เพราะเราไม่เห็นสิ่งที่จะมา ปรากฎว่าเมื่อต้นปีโคโรน่าไวรัสมานี่มันเปลี่ยนอีกมุมหนึ่งเลย ถามว่าปัจจัยเดิมปัญหาเศรษฐกิจโลกยังอยู่ไม๊ ก็ยังอยู่ ส่งออกเราก็ยังมีปัญหา วันนี้มีปัจจัยใหม่เข้ามาอีกแล้ว คราวนี้เครื่องยนต์การท่องเที่ยวภาคบริการต่อเนื่องก็โดนกระทบเข้าไปอีก นี่คือเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลต้องเดินคู่ขนาน เรื่องสุขภาพต้องทำทันที แต่เศรษฐกิจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องทำต่อไป 

# รัฐบาลมีความคิดจะแจกเงินแทนที่จะได้ดอกไม้กลับได้ก้อนอิฐแทน 

    ผมต้องเรียนอย่างนี้ว่าเวลาเราทำมาตรการเศรษฐกิจ ประการแรกคิดก่อนว่าต้องตอบโจทย์อะไร เป้าหมายคืออะไรสิ่งที่เกิดในวันนี้ ไม่ใช่เราไม่มีประสบการณ์ เราเคยวิกฤติต้มยำกุ้ง ซาร์ เมอร์สมาหมแล้ว  เราพอมีประสบการณ์ระดับหนึ่ง แต่ประสบการณ์เหล่านี้เราเชื่อว่ามาตรการต้องตอบโจทย์หนึ่งคือเรื่องของรายได้ ทำอย่างไรให้เงินเข้ากระเป๋าผู้ประกอบการ เข้ากระเป๋าประชาชนในช่วงนี้ เพราะรายได้มันออก ส่งออกหาย กระทบเป็นลูกโซ่เลย สองจะช่วยบรรเทาภาระ ลดค่าใช้จ่ายประจำเขาอย่างไร นี่เป็นโจทย์ใหญ่สองอัน พอเป็นอ่างนี้แล้วจะออกมาตรการอะไรล่ะที่จะตอบโจทย์เหล่านี้แล้วก็อย่าลืมว่ามาตรการนี้จะต้องออกให้ทันการ ตรงจุด ตรงเป้า ต้องเข้าใจตรงกันว่าเป็นมาตรการชั่วคราว  ถ้าเราขยับเรื่องภาษีให้หรือเอารายได้เข้ากระเป๋าท่านชั่วคราวนะ

    แล้วอีกข้ออย่าไปมองมาตรการในตัวมันเอง แต่ต้องมองวัตถุประสงค์และความเชื่อมโยงว่าทั้งชุดตอบโจทย์อย่างไร ที่เรามองไว้อย่างเอาเงินเข้ากระเป๋าโดยตรงก็เพราะว่าเราต้องการให้มีผลต่อเนื่องไปถึงเรื่ิองเศรษฐกิจด้วยเขาเอาเงินไปจับจ่ายใช้สอยช่วยผู้ประกอบการด้วย หนึ่งถ้ามีเงินในกระเป๋าเขาออกไปแน่ สองลดภาระภาษีจูงใจผู้ประกอบการถ้าไม่เลิกจ้าง เราให้หักภาษีต่าง ๆได้ นี่คือแนวความคิดไม่ใช่อยู่ดี ๆ ให้เงินเข้ากระเป๋า ที่ให้ก็เพื่อให้ไปช่วยกันจับจ่ายใช้สอย

    และอีกอย่างท่านนายกรัฐมนตรีย้ำมากคือต้องให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่อยู่ในบัตรประชาชรัฐ อาชีพอิสระ จริง ๆ ที่ผ่านมาไม่เคยได้ช่วยเขา วันนี้จำเป็นคนขับรถตู้ อาชีพรับจ้าง ลงไปถึงแม่ค้าตามตลาด  วันนี้รายได้เขาหายไป นี่คือวิธีหาทางช่วยเขาตรงนี้   

  # มีคนตั้งคำถามรัฐบาลนี้เอาใจนายทุนและคนรายได้น้อย 

    แต่ชนชั้นกลางผู้เสียภาษีไม่เคยได้รับการเหลียวแล รอบนี้เลยรู้ทัน

    ไม่เชิงรู้ทันหรอก แต่ต้องการให้ครอบคลุมจริง ๆ บางอย่างไม่เคยทำมาก่อนครั้งนี้เราจะคิดให้รอบคอบและคำนึงถึงมนุษย์เงินเดือน ในอดีตไม่ใช่แต่รัฐบาลนี้หรอกเป็นไปได้ว่ามนุษย์เงินเดือนมีเงินเดือนก็ไปคิดถึงเกษตรกร  ซึ่งก็ถูกต้องในหลักการ แต่วันนี้ผลกระทบในวงกว้างจากเหตุการณ์นี้ จำเป็นต้องคิดถึงคนทุกกลุ่ม  

   # มาตรการที่ออกมาจะส่งกระทบงบประมาณขาดดุลอยู่แล้วจะทำให้ขาดดุลลงไปอีก

     เป็นเรื่องของรายจ่ายบางส่วนมีแน่ แต่อันนี้ก็ต้องดูสถานการณ์มันจำเป็นไม่ใช่หรือเพื่อดูแลประชาชนในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยในหลายๆประเทศก็ทยอยออกมาและเป็นมาตรการที่ใกล้เคียงกันหมด เรื่องขาดดุลขอแยกสองประเด็นหนึ่งเราขาดดุลอยู่แล้ว ซึ่งก็ถูกต้องเพราะประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา พอพัฒนาเราก็ต้องเอาเงินไปลงทุนเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติอันนี้มีเหตุมีผลในตัวมันเอง ธนาคารโลก ไออ็มเอฟ เขาก็แนะนำเช่นนี้ แต่วันนี้พอมีเหตุการณ์นี้มามันก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จริงแล้วก็ยังขาดดุล

    # แล้วมันจะไปกระทบฐานะทางการเงินของประเทศหรือไม่ 

     เรายังมีจุดดีอยู่ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น ก็คือฐานะการเงินการคลังของประเทศมีความมั่นคง  ทำให้เรายืดหยุ่นหรือมีช่องว่างที่จะออกมาตรการต่าง ๆ ได้ อันนี้สำคัญมาก แล้วอีกข้อวันนี้สิ่งที่เราไม่มีในอดีตนั่นก็คือคือกฎหมายว่าด้วยการรักษาวินัยการเงินการคลัง ซึ่งเมื่อก่อนรัฐบาลจะทำอะไรทำได้ แต่วันนี้ไม่ได้ การที่รัฐบาลออกมาตรการมาทุกชิ้นทุกชุดแล้วแต่ละชิ้นได้คำนึงถึงวินัยการเงินการคลังเต็มที่ 

 

 

    # ทั้ง 3 มาตรการ อันไหนเข้าถึงประชาชนเร็วที่สุด ง่ายที่สุดและได้ผลที่สุด

       ผมคิดว่ามันประกอบกัน ถ้าพูดถึงประชาชนมันเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการเอสเอ็มอี เราพยายามช่วยในทุกด้าน ถ้าพูดถึงประชาชนโดยเฉพาะ เราก็มีมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ ทั้งผู้ประกอบการและประชาชน ซึ่งเราก็เคยทำมาแล้ว มาตรการพวกนี้สัมผัสได้ เข้าถึงตัวเลยแล้วยังมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการอย่าไปเลิกจ้าง เพราะจะทำให้รายได้ของประชาชนจำนวนหนึ่งหายไป  เราก็ออกมาตรการนี้ออกมาคือการนำรายได้จากค่าจ้างจะสิบคน ยี่สิบคนของเอสเอ็มอีสามารถนำไปหักภาษีได้ 3 เท่า ไม่เคยมีรัฐบาลไหนให้นะ 3 เท่า ขอว่าช่วยดูแลพนักงานเถอะ ซึ่งเราก็เข้าใจเขามีแรงกดดัน ออเดอร์ไม่มีหรือมีน้อย เพื่อไม่ให้เขาได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็ขอช่วยอีกทาง 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ