ข่าว

เฝ้าระวังการระบายน้ำท้าย "เขื่อนเจ้าพระยา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สำนักงาน "ชลประทาน" ที่ 12 จะบริหารจัดการเก็บน้ำฝน ที่เข้าสู่อ่างเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้มากที่สุด และ ให้ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาระวังการระบายน้ำไว้ด้วย

นาย กฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่12 เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล  เขื่อนสิริกิติ์  เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีน้ำใช้การรวมกันอยู่ที่ 2,081 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ หากเทียบจากปี 2563 ที่ผ่านมามีน้ำใช้การรวมกันอยู่ที่ 3,145 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ โดยจากต้นฤดูฝนมาจนถึงปัจจุบัน มีปริมาณฝนสะสมที่ไหลอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 เขื่อนหลัก ประมาณ 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และเทียบจากปี 2563 มี มีประมาณ 4,022 ลูกบาศก์เมตร จะเห็นได้ว่า ในต้นฤดูปริมาณฝนใกล้เคียงกัน จากนี้ไปยังคงอยู่ในช่วงฤดูฝนเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามว่าปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลัก เมื่อสิ้นฤดูฝนจะมีปริมาณเท่าไร โดยเมื่อเดือนเมษายน ปี 2563 ที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝนสะสมอยู่ที่ 5,771 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนในปี 2564 นี้ ทางกรมชลประทานคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ฝนน้อย แต่ในช่วงของเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าจะมีพายุจรเข้ามา 1-2 ลูก ก็จะเป็นผลดี แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ต่อไป

เฝ้าระวังการระบายน้ำท้าย "เขื่อนเจ้าพระยา" เฝ้าระวังการระบายน้ำท้าย "เขื่อนเจ้าพระยา"

ส่วนฝนตกที่ผ่านมา ทำให้มีน้ำไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มภาคกลาง หากมวลน้ำเพิ่มขึ้นในวันที่ 9 กันยายนนี้ ทางเขื่อนเจ้าพระยาก็จะมีการปรับการระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในวันที่ 10 กันยายน 2564 ให้เฝ้าระวังการระบายน้ำด้านท้ายของเขื่อนเจ้าพระยา

โดยการระบายน้ำตั้งแต่ 700 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ผลกระทบก็จะเกิดอยู่ที่ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ถ้ามากกว่า 2,000 – 2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ผลกระทบก็จะเกิดอยู่ที่ อ.ไชโย จ.อ่างทอง อ.พรมบุรี อ.เมือง อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี และหากการระบายน้ำตั้งแต่ 2,200 – 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ผลกระทบก็จะเกิดอยู่ที่ ต.โพนางดำ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 

เฝ้าระวังการระบายน้ำท้าย "เขื่อนเจ้าพระยา"

 

พร้อมกันนี้ทางสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้มีการออกหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการ จังหวัด 7 จังหวัด ประกอบด้วย อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี ให้ทราบถึงเรื่องสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกชุกหนาแน่น ทำให้มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กรมชลประทาน จะมีการบริหารจัดการน้ำจะเก็บปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาเข้าสู่อ่างเก็บน้ำให้มากที่สุด และการบริหารน้ำท่า ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะฝันน้ำเข้าสู่คลองชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เกษตรกรได้ทำนาปี

เฝ้าระวังการระบายน้ำท้าย "เขื่อนเจ้าพระยา"
วรชล  ฟักขาว  ผู้สื่อข่าวจังหวัดชัยนาท  

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ