ข่าว

'โหวตนายกฯ' 13 ก.ค. ห่วง 'สว.' ขวาง 'พิธา' เข้าทำเนียบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คาดการได้ไม่ยาก หาก 'พิธา' แห้วจากการ'โหวตนายกฯ' โดยกลุ่ม 'สว.' เชื่อว่าจะมีการชุมนุมในหัวเมืองที่มีมหาวิทยาลัย เพราะไม่พอใจจำนวนมาก

อานนท์ นำภา ทนายจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนฯมองว่าสถานการณ์การเมือง หลากหลายและคนมีช่องทางในการแสดงออกมากขึ้น สมัยก่อนถ้าเลือกตั้งเสร็จก็เสร็จเลย นักการเมืองจะไปทำอะไรก็ได้ แต่ตอนนี้ประชาชน เฝ้าจับตามองโดยเฉพาะการโหวตนายกฯ ที่มีสว.เป็นตัวแปรในการเลือก พิธา

การชุมนุมโหวตนายกฯวันที่ 13 ก.ค.2566 ไม่คิดว่าจะมีอะไรรุนแรง คนอาจจะคิดว่าไปกดดันให้สว.เลือก พิธา  แต่เขาไปเพื่อสนับสนุน ส่งเสียงเชียร์มากกว่า ดูจากรูปแบบเป็นม็อบออร์แกนนิค ไม่มีการจัดตั้งเวทีอะไรใหญ่โต  และมีข้อดีอย่างหนึ่งคือ

 

รัฐเปลี่ยนจากเผด็จการมาเป็นประชาธิปไตย ท่าทีต่อผู้ชุมนุมก็เปลี่ยนไป มีการจัดเตรียมสถานที่ อำนวยความสะดวก ไม่ใช่เอาลวดหนามมาขวางยั่วยุ

 

แต่ถ้าผลการลงคะแนนโหวตนายกฯวันนั้น พิธาถูกสว.ขวางไม่ได้เป็นนายกฯนั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่ต้องให้ฝ่ายความมั่นคงมาประเมิน แน่นอนว่าคนจะไม่พอใจ แต่ต้องมาดูว่าในแง่ปริมาณความไม่พอใจมันมากน้อยแค่ไหน

 

ดูจากผลการเลือกตั้งและการเดินสายขอบคุณ ประชาชนของพิธาและพรรคก้าวไกล ก็คาดการได้ว่า ถ้าไม่ได้ขึ้นมา คนจะโกรธแค้นขนาดไหน เดาว่าจังหวัดใหญ่ๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัย มีการชุมนุมแน่นอน เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น

 

ทนายอานนท์ บอกอีกว่า หากเป็นระบอบรัฐสภาปกติ  การรวมเสียงข้างมากได้เกินครึ่งของสภาขนาดนี้ ไม่จำเป็นต้องโหวตนายกฯ พิธาสามารถจัดตั้งรัฐบาลเดินหน้าได้แล้ว แต่ด้วยกติกาที่บิดเบี้ยว เอาสว.มาเกี่ยวกับเลือกนายกรัฐมนตรีทำให้มีปัญหา

 

กติกา คือเสียงข้างมาก มารยาทคือให้พรรคอันดับหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลก่อน  ยิ่งดูคะแนนเลือกตั้งกว่า 70 % เป็นฝ่ายประชาธิปไตย เมื่อระบบ ระบอบ มีปัญหา ประชาชนก็มีสิทธิ เสรีภาพที่จะออกไปส่งเสียง ได้รับการรับรองโดยกฎหมายระหว่างประเทศ และถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 

 

ถ้าเป็นการชุมนุมที่สงบ เห็นต่างก็ออกมาแสดงความเห็นได้ แต่ต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดการปะทะกัน เพราะมือที่สามที่ต้องการอยู่ในอำนาจต่อ รออยู่

logoline