ข่าว

กรมวิชาการเกษตร นำเทคโนโลยีการผลิตเห็ดและการจัดการ ขับเคลื่อนกิจกรรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมวิชาการเกษตรได้นำเทคโนโลยีการผลิตเห็ดและการจัดการ มาขับเคลื่อนในกิจกรรมการผลิตเห็ดเพื่อเสริมรายได้ให้กับประชาชน และบรรเทาปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

กรมวิชาการเกษตร นำเทคโนโลยีการผลิตเห็ดและการจัดการ ขับเคลื่อนกิจกรรมการผลิตเห็ดเพื่อเสริมรายได้ให้กับประชาชน และบรรเทาปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) และใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย) ยังมีความห่วงใยจากภาครัฐ โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่” ภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นเจ้าภาพหลัก
 

กรมวิชาการเกษตรได้นำเทคโนโลยีการผลิตเห็ดและการจัดการ มาขับเคลื่อนในกิจกรรมการผลิตเห็ดเพื่อเสริมรายได้ให้กับประชาชน และบรรเทาปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่ข้างต้น มีกลุ่มเป้าหมายเป็นครัวเรือนยากจนตามฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเสริมรายได้ผ่านการฝึกอบรมแล้ว  210 ราย

 

กรมวิชาการเกษตร นำเทคโนโลยีการผลิตเห็ด

 

ขณะเดียวกันยังมีการใช้แบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรก่อน และหลังการอบรม การจัดทำแปลง (โรงเรือน) ต้นแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเห็ดคุณภาพในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส เพื่อใช้เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดคุณภาพ ได้มาตรฐานให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการผลิตเห็ดให้มีคุณภาพมากขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติในแปลงของตนเองได้ และการขยายผลในพื้นที่

 

นอกจากนี้เกษตรกรที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการฯ ยังสามารถเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายอื่นในพื้นที่ได้ โดยชุดเพาะเห็ดน็อคดาวน์ 1 ชุด (100 ก้อน) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.77 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายเห็ด 70 บาทต่อกิโลกรัม สามารถเสริมรายได้ให้เกษตรกรได้ 1,314 บาทต่อชุด ช่วยเพิ่มรายได้ และเสริมสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ สร้างสังคมเข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

กรมวิชาการเกษตร นำเทคโนโลยีการผลิตเห็ด

 

ในปี 2566 มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมกิจกรรมขยายผลจำนวน 75 ราย โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ และปัจจัยการผลิต เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตเห็ดและการจัดการของกรมวิชาการเกษตรไปปรับใช้  เกษตรกรที่สนใจสามารถขอรับคำแนะนำได้ที่หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 0-7444-5905

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ