ข่าว

'ตรีนุช' ต้องชี้ขาด 'สทศ.' ปรับบทบาทเพื่อไปต่อ หรือ ยุบทิ้ง

นักเรียนชั้นป.6, ม.3, ม.6 ได้สิทธิ์สอบ-ไม่สอบโอเน็ต ด้วยความสมัครใจ แม้ รมว.ศธ. สั่งยกเลิกไปเมื่อ 2 ปี ถึงเวลา 'ตรีนุช' ต้องชี้ขาดสทศ. ให้ปรับบทบาทใหม่เพื่อไปต่อ หรือ ยุบทิ้ง

กิจกรรมของ ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่กำลังจะมาถึง คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

 

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความรู้ และความคิดรวบยอด ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ

 

หากจำไม่ผิด กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ออก ประกาศ ยกเลิกการใช้ผล O-NET ในการตัดสินผลการเรียน และไม่ต้องนำไปกรอกใน ปพ.1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 คือ ยกเลิกสัดส่วนคะแนน O-NET ไปใช้ในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาฯ และไม่ต้องนำผลการสอบ O-NET ไปกรอกในแบบ ปพ.1 ของนักเรียน ชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ทั้ง3 ระดับ

 

ก่อนหน้านั้นไปอีก ในปีการศึกษา 2563 กระทรวงศึกษาธิการมีประกาศ เรื่อง นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ให้ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษาในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับการทดสอบ O-NET ตามความสมัครใจ โดยให้ถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน

\'ตรีนุช\' ต้องชี้ขาด \'สทศ.\' ปรับบทบาทเพื่อไปต่อ หรือ ยุบทิ้ง

\'ตรีนุช\' ต้องชี้ขาด \'สทศ.\' ปรับบทบาทเพื่อไปต่อ หรือ ยุบทิ้ง

จากประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 สรุปได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับการทดสอบ O-NET ตามความสมัครใจ โดยให้ถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน และกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศไม่นำผลการทอสอบ O-NET มาใช้ในการตัดสินผลการเรียน หรือพิจารณาเป็นความดีความชอบของครูผู้สอน แต่ทาง สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ก็ยังดำเนินการจัดการทดสอบต่อไป โดยในปีการศึกษา 2565 ใช้งบประมาณในการจัดสอบเป็นจำนวนมาก

 

แปลกแต่จริง  มีการตกลงหรือหารือกันหรือ ไม่ระหว่างหน่วยงานที่เป็น ผู้จัดการเรียนการสอน คือ กระทรวงศึกษาธิการ  และหน่วยงานที่เป็นผู้จัดการทดสอบ หรือ สทศ. ในเมื่อผู้รับการทดสอบไม่สมัครใจ ไม่ยอมรับผลการทดสอบ และไม่นำไปใช้งาน หน่วยงานที่จัดการทดสอบก็ยังคงจะเดินหน้าต่อไป 

 

สทศ.คงลืมไปว่า “ตรีนุช เทียนทอง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) สั่งยกเลิกการสอบโอเน็ต และไม่ให้นำผลสอบโอเน็ตมาเป็นส่วนประกอบในการคัดเลือกนักเรียนในการเลื่อนระดับแต่ละช่วงชั้น  แต่สทศ.ยังจัดสอบเหมือนเดิมทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เลี่ยงคำว่า “ไม่บังคับ” หรือ “สมัครใจ” สอบ

 

ถึงเลาที่“ตรีนุช” ต้องทบทวน บทบาทหน้าที่ของสทศ.จะให้คงอยู่แต่ปรับบทบาทใหม่ หรือยุบทิ้ง แต่ไม่ควร ต่างคน ต่างทำ ไม่สนใจว่าประเทศชาติจะได้อะไร แค่ตัวเองได้ก็พอ เป็นองค์กรอิสระ ที่อิสระจริงๆ แบบนี้ก็สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน

 

     โลกเปลี่ยน การประเมินผลการศึกษาต้องเปลี่ยนให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลง

 

ข่าวยอดนิยม