เด่นโซเชียล

เปิดข้อมูล ชวนอึ้ง 'รถเข็นช้อปปิ้ง' ที่ไม่มีใครเคยรู้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดผลการศึกษา ชวนอึ้ง 'รถเข็นช้อปปิ้ง' ที่ไม่มีใครรู้ สกปรก ยิ่งกว่า 'ห้องน้ำ' 75% เจอ เชื้ออีโคไล ในอุจจาระ นำไปสู่การเจ็บป่วย

แม่บ้านสายช้อปปิ้งทั้งหลาย เวลาไปซื้อสิ่งของเครื่องใช้ ในห้างสรรพสินค้า ยังไงก็เลี่ยงไม่พ้นที่ต้องใช้ “รถเข็น” ในการพึ่งพาการช้อปปิ้ง หลายคนที่พาลูกหลานมาด้วย ก็มักจะให้เด็กนั่งไปบน “รถเข็นช้อปปิ้ง” แต่รู้หรือไม่ว่า รถเข็นช้อปปิ้งนี้ เป็นแหล่งรวมเชื้อโรค เรียกได้ว่า สกปรกยิ่งกว่า “ห้องน้ำ” เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะ “เชื้ออีโคไล” ที่เป็นอันตรายต่อลูกน้องของคุณได้

ภาพประกอบ รถเข็นช้อปปิ้ง สกปรกยิ่งกว่าห้องน้ำ

โดย “หมอหมู” รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โพสต์ข้อความเตือนเรื่อง “เชื้ออีโคไล” จากรถเข็นช็อปปิ้ง ซึ่งยกผลการศึกษา จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา พบว่า “รถเข็นช็อปปิ้ง” มากกว่า 75% ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) ในอุจจาระ

 

 

นอกจากนี้ การศึกษายังแสดงให้เห็นว่า “รถเข็นช้อปปิ้ง” สกปรกกว่าห้องน้ำ เนื่องจากห้องน้ำมีแนวโน้มที่จะถูกทำความสะอาด มากกว่ารถเข็นช็อปปิ้งเสียอีก

รถเข็นช้อปปิ้ง

เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรือที่มักเรียกแบบย่อว่า “อีโคไล” เป็นแบคทีเรียที่พบได้เป็นปกติในลำไส้ของคนและสัตว์บางชนิด โดยปกติจะไม่ก่อโรค และยังมีประโยชน์บางอย่างต่อร่างกายด้วย แต่ก็มีบางกรณีที่ “เชื้ออีโคไล” สามารถก่อโรคได้ โดยโรคที่พบบ่อยในมนุษย์ ได้แก่ โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และโรคท้องเดิน

 

 

เมื่อ “เชื้ออีโคไล” เข้าสู่ร่างกาย ผ่านการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการที่มือสัมผัสเชื้อแล้วปนเปื้อนกับอาหารเข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือมีไข้ ซึ่งอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น และอาจหายเป็นปกติได้เอง แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ อาจเกิดภาวะที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายก่อนอายุขัย และเข้าไปอุดตันระบบกรองของเสียของไต ส่งผลให้เกิดภาวะไตวาย ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ความผิดปกติทางลำไส้หรือหัวใจ ภาวะโคม่า และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทว่าภาวะแทรกซ้อนนี้พบในผู้ป่วยเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

 

สาเหตุของโรคติดเชื้ออีโคไล

 

  • การรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการปรุงที่ไม่สะอาด ปรุงไม่สุก หรือเก็บรักษาอย่างไม่เหมาะสม เช่น เนื้อสัตว์ดิบ อาหารทะเลดิบ ผักและผลไม้สด นมที่ไม่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ เป็นต้น
  • การนำนิ้วมือที่สัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก
  • การสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือมูลสัตว์ที่มีเชื้อปะปน โดยเฉพาะวัว แพะ และแกะ
  • การสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
  • การว่ายน้ำในสระน้ำ หรือแหล่งน้ำที่มีเชื้อปะปน

รถเข็นช้อปปิ้ง

 

การป้องกันเชื้อโรคจาก “รถเข็นช็อปปิ้ง”

 

 

  1. ใช้แอลกอฮอล์เจลเช็ดบริเวณที่จับรถเข็น โดยเฉพาะเมื่อมีเด็กไปด้วย ควรเช็ดบริเวณที่เด็กต้องสัมผัสทั้งหมด
  2. หลีกเลี่ยงการกินขนม ที่ต้องใช้มือหยิบจับเข้าปาก เพราะเชื้อโรคจากรถเข็นก็จะเข้าไปในร่างกายด้วย

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ