เด่นโซเชียล

ถกสนั่น 'ร้านดัง' จดทะเบียน 'ปังชา' สงวนสิทธิ์ห้ามเลียนแบบ ชาวเน็ตงงจดได้ไง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถกสนั่น 'ร้านดัง' จดทะเบียน 'ปังชา' สงวนสิทธิ์ห้ามเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ชาวเน็ตงงจดได้ไง เมนูมีมานานแล้ว ทำไมถึงกล้ามาเครม

เกิดเรื่องให้ชาวเน็ตถกเถียง เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2566 "ร้านดัง" ซึ่งมีเมนูเด็ด "ปังชา" ออกมาโพสต์รูปภาพเมนู "ปังชา" ผ่านเพจ พร้อมแคปชั่นระบุว่า "จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า สู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยร่วมกันอย่างยั่งยืน🇹🇭 แบรนด์ปังชา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trademark)

 

 

 

 

 

"ปังชา" ภาษาไทย และ Pang Cha ภาษาอังกฤษ ตามพระราชบัญญัตคุ้มครองเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จดทะเบียนลิขสิทธิ์, จดทะเบียนสิทธิบัตร, เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข สงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย"

 

ปังชา

 

หลัง "ร้านดัง" โพสต์การจดทะเบียนเมนู "ปังชา" สู่โซเชียล ก็กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนสนใจมียอดแชร์ไปเกือบ 2 พันแชร์ และมีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์ถกเถียงกันสนั่น โดยชาวเน็ตหลายคนมองว่า จดทะเบียนได้อย่างไร เมนู "ปังชา" เหมือนเป็นคำพูดที่คนใช้พูด และเป็นเมนูที่มีมานานมากแล้ว ทำไม "ร้านดัง" ถึงเครมเป็นของตัวเอง และทำไมถึงสามารถจดทะเบียนได้

 

ปังชา

 

ล่าสุดมีนักกฎหมาย ออกมาแสดงความคิดเรื่อง "ปังชา" ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Dr. Pete Peerapat โดยโพสต์ข้อความระบุว่า

 

"จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา คือ อะไร เป็นเรื่องที่ดีนะครับที่ผู้ประกอบการใส่ใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ข้อมูลที่เอามาประชาสัมพันธ์ต่อออาจจะไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง

 

เคสนี้จะมีทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภท

 

  • ลิขสิทธิ์ - เป็นการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ซึ่งบ้านเราไม่มีระบบจดทะเบียน เข้าใจว่าเคสนี้เป็นการจดแจ้งประเภทงานจิตรกรรม 
  • สิทธิบัตร - เป็นการคุ้มครองเรื่องงานประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเคสนี้มีผู้รู้บอกว่าเป็นการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ #ถ้วยใส่น้ำแข็งใส
  • เครื่องหมายการค้า - เป็นการคุ้มครองแบรนด์ ซึ่งพวกคำว่า ชา ไม่สามารถจดได้อยู่แล้วเพราะเป็นคำสามัญ เข้าใจว่าเค้าจดคำรวมๆ แล้วสละสิทธิส่วนนั้นออก

 

สรุป เคสนี้ทางร้านมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า / สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ / จดแจ้งลิขสิทธิ์ จริง แต่จะไปห้ามใครทำ #บิงซู หรือ #น้ำแข็งใส ใส่ชาไทย ไม่ได้นะครับ 

 

ปังชา

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ