'เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000' ผู้สูงอายุ เช็กหลักเกณฑ์ด่วน เพื่อรับสิทธิ
'เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000' เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาเดือดร้อน 'ผู้สูงอายุ' เช็กเงื่อนไข-หลักเกณฑ์ ด่วน เพื่อรับสิทธิ ไม่เกิน 3 ครั้ง/คน/ปี
“เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000” หรือ เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาเดือดร้อน มีเงื่อนไขอย่างไร หลังมีการลงนามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เรื่อง การคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อน โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 2563 เป็นต้นมา ผู้สูงอายุ เข้าเกณฑ์เงื่อนไขใด ถึงจะมีสิทธิรับ “เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000” คมชัดลึกออนไลน์ รวบรวมแนวทาง มาให้แล้ว
หลักเกณฑ์ ผู้สูงอายุ ได้รับ เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000
- ถูกทารุณกรรม
- ถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบทางกฎหมาย
- ถูกทอดทิ้ง
- ประสบปัญหาด้านครอบครัว ด้านที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม
ทั้งนี้ กรณีผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง กระทรวง พม. จะช่วยเหลือโดยส่งผู้สูงอายุเข้ารับการดูแลในสถานที่ที่กระทรวงกำหนด หรือเป็นหน่วยงานเอกชน หรือชุมชน ที่ยินยอมรับไว้ดูแล โดยความยินยอมของผู้สูงอายุ พร้อมกันนี้ ยังเน้นให้การฟื้นฟูสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ หรือฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุ ตามความต้องการและความเหมาะสมอีกด้วย
'เงินผู้สูงอายุ 2567' เงินคนชราเข้าวันไหน อัปเดตล่าสุด เช็กได้เลย
'เงินผู้สูงอายุเดือนกุมภาพันธ์ 2567' ผู้สูงอายุ เช็กเลย ปรับวันเงินเข้า
ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อนตามที่กำหนดไว้แล้ว และเห็นว่าควรให้ความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายเป็นค่าพาหนะเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่ม หรือค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ฯลฯ สามารถพิจารณาช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสมได้ โดยต่อครั้งไม่เกิน 3,000 บาท และไม่เกิน 3 ครั้งต่อคนต่อปี
ขั้นตอนรับ “เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000”
- ผู้สูงอายุ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้ง หรือยื่นคำขอได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสังกัดกระทรวง พม. หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
- ผู้สูงอายุ ในจังหวัดอื่นๆ สามารถแจ้งหรือยื่นคำขอได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ หรือ หน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3,000 ในเขตกรุงเทพฯ ให้สิทธิแก่ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณา ส่วนในจังหวัดอื่นๆ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ