ชีวิตดีสังคมดี

ความผิดปกติซื้อ 'เรือดำน้ำ' ไม่มีแผนสำรอง ข้อเสนอฉับไว ข้อมูลน้อยน่าสงสัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้เชี่ยวชาญชี้ความผิดปกติจัดซื้อ 'เรือดำน้ำ' ไม่มีแผนสำรอง มีข้อเสนอเปลี่ยนเป็นเรือรบแบบอื่นอย่างฉับไว ข้อมูลน้อยน่าสงสัย ระบุหากจะเดินหน้าต่อต้องรอบคอบมากขึ้น

ดูเหมือนว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าท้ายที่สุดแล้ว "เรือดำน้ำ" จะดำไปในทิศทางใด เพราะล่าสุด สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลาโหม ระบุว่า รอเจรจากับทางการจีนอีกครั้งในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเดินไปทางไหนต่อ ดูจากท่าทีแล้วไม่ว่าจะเข็ญโครงการจัดซื้อ"เรือดำน้ำ" หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลง และแลกเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นทดแทนกัน ก็คงจะต้องใช้เวลานานพอสมควรจนกว่าจะจบปัญหาจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ได้   เพราะการทำสัญญาซื้อ-ขายแบบรัฐต่อรัฐ (G2G)มีความละเอียดอ่อนในหลายประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อ่อนไหวมากที่สุด

สำหรับการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ไว้ว่า โครงการจัดซื้อ เรือดำน้ำ ของกองทัพเรือ กระทรวงกลาโหมมีความผิดปกติหลายอย่าง ความผิดปกติข้อแรกคือการซื้อ "เรือดำน้ำ" ซึ่งเป็นโครการขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อน มีผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผลกระทบด้านยุทธศาสตร์ ที่มีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะการส่งอาวุธออกนอกประเทศของเยอรมนีที่มีข้อห้ามเยอะ ซึ่งเป็นข้อควรระวังตั้งแต่แรก ส่วนข้อเสนอทางเลือกอื่นๆ ในการนำเสนอแต่ละครั้งไม่ชัดเจนไม่เข้มข้น จนถึงตอนนี้ก็พบปัญหาจริงๆ  อีกทั้งโครงการใหญ่แบบนี้กลับไม่มีแผนสำรองไว้เลย  

รศ.ดร. ปณิธาน ระบุต่อไปว่า ความผิดปกติต่อมาหลังจากที่มีการข่าวออกไปว่าจะยกเลิกการจัดซื้อเรือดำน้ำ กลับมีขอเสนออย่างรวดเร็วฉับไว ว่าให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ย เป็นเรือฟริเกต เป็นเรือคอเวต ให้เอาเครื่องยนต์จากประเทศเยอรมนีมาใช้ ทั้งหมดล้วนเป็นข้อเสนอที่มีผลกระทบสูง และเป็นข้อเสนอที่มาจากคนภายนอก แต่ละข้อมีความซับซ้อนในเชิงการดำเนินงานทั้งสิ้น 
 

 

เราต้องอย่าลืมว่า "เรือดำน้ำ" เป็นยุทธศาสตร์โดยเฉพาะ เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกด้วยซ้ำ  เพราะการใช้งานเป็นลักษณะการดำเข้าไปในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ช่องแคบลอมเบาะ ช่องแคบซุนดา ช่องแคบมะละกา เรือดำน้ำต้องตอบโจทย์วาจะเอาไปใช้ทำอะไร เพราะเรือรบแต่ละประเภทมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ถ้าเป็น เรือฟริเกต ก็จะเป็นการสนับสนุนอีกแบบ เนื่องจากเป็นเรือรบขนาดเล็ก หากเป็นเรือคอเวตก็จะต้องดำเนินการอีกแบบ

 

 

โดยเพาะในเรื่องของกำลังพล ทั้ง 3 ระบบไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง และไม่สามารถทดแทนกันไม่ได้ทั้งหมด เพราะคนละวัตถุประสงค์กัน ในบางกรณีเอามาใช้เพื่อที่จะลดระบบการป้องกันประเทศ แต่ไม่ใช่การทดแทนกัน ดังนั้นต้องกลับไปถามว่าก่อนที่จะมีการซื้อเรือระบบใด ระบบหนึ่งมาทำไมไม่มีการวางแผนทดแทนกัน แบบนี้แปลว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะหาเรือระบบอื่นมาทดแทน "เรือดำน้ำ" ถ้าไม่ทดแทนการเดินหน้าจะต้องทำอย่างไร เพราะมีความซับซ้อนอยู่แล้ว ทั้งด้านระบบการต่อเรือ ระบบกำลังคน ระบบการดูแลรักษา บางประเทศต้องจ้างคนมาประจำการล่วงหน้า เช่าเรือมาทดลองประจำการ เช่น สิงคโปร์ ดังนั้นข้อเสนอที่มีอยู่ตอนนี้ค่อนข้างที่จะหลากหลายและขัดแย้งกันเอง ขัดแย้งกับโจทย์ของการจัดซื้อเรือดำน้ำ  

 

 

รศ.ดร. ปณิธาน ระบุต่อว่า ความผิดปกติข้อสุดท้าย คือ ข้อมูลมีน้อยมาก แม้กระทั้งกองทัพเรือเองก็ยังไม่ได้ให้ข้อมูลในการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" กับสภา และประชาชนมากพอว่าเงินจำนวนมหาศาลจะใช้ไปกับยุทธศาสตร์ทางการทหารอย่างไร ความมั่นคง ความสัมพันธุ์ ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาอย่างจรังจิง ในฝ่ายกองทัพเรือก็เช่นกัน เพราะมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยกับการซื้อเรือดำน้ำ และไม่เห็นด้วย มายาวนานกว่า 30 ปี อีกทั้งยังมีกลุ่มที่เห็นด้วยแต่เลือกว่าจะต้องซื้อเรือดำน้ำจากประเทศไหนฝั่งยุโรป หรือจีน ดังนั้นกาศึกษาจะต้องเปิดกว้างให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย รวมไปถึง นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศ  การที่จะอ้างว่าเป็นเรื่องความมั่นคงน่าจะไม่ให้  

 

 

สุดท้ายจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าการซื้อเรือรบมาเพื่อดำเนินการด้าน ยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศจะเอามาเพื่อทำอะไร รบกับใคร ถ้าเอามาเพื่อป้องกันชายฝั่งไม่จำเป็ยนจะต้องมีเรือดำน้ำ แต่หากมองอนาคตในการ่วมรบกับจีน อเมริกา หรือกดดันร่วมกับอาเซียน จึงจะเป็นคำตอบว่าเราจะซื้อเรือดำน้ำมาเพื่ออะไร 

 

 

อย่างไรก็ตามวางแผนซื้อจะเป็นการตอบคำถามกลายๆ ว่าเราจะเลือกข้างใคร หรือจะรบกับใคร เป็นกลไกลทางยุทธศาสตร์ที่เดินโดยอัตโนมัติทันที เพราะจะต้องมีการฝึกขับ ให้ทหารเข้ามาดูแลจนกว่าเราจะดูแลเรือดำน้ำได้ เป็นกลไกลการเข้าสู่การเป็นพันธมิตร 

 

 

นอกจากนี้ รศ.ดร. ปณิธาน ยังระบุเพิ่มเติมว่า การยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงซื้อ "เรือดำน้ำ" จากประสบการณ์ในอดีตที่เราเคยยกเลิกสัญญาจัดซื้อ F18 เราสามารถยกเลิกสัญญาได้ ขอให้ขายเครื่องบินแก่คนอื่น ขอเงินมัดจำคืนและนำไปซื้ออาวุธอื่น ๆ ที่ผ่านมาทำมาแล้วและทุกอย่างก็ดีขึ้น แต่กลับจีนเรามีความสัมพันธุ์ที่ดีมากกว่า  ตนไม่เชื่อว่าจะเจรจาไม่ได้ การพูดคุยเป็นการให้หลักประกันในอนาคตโดยที่เราไม่ควรจะต้องจ่ายอะไรเพิ่ม หากมีทีมเจรจาที่ดี จริงๆ แล้วพื้นฐานความสัมพันธุ์ระหว่างไทย-จีน จะดีมากกว่า 

 

สำหรับทางออกของการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" หรือการเปลี่ยนไปเป็นเรือแบบอื่นๆ นั้น จะต้องคิดให้รอบครอบก่อน และชะลอการตัดสินใจใดๆ ที่จะสร้างความเสียหายเพิ่มเติม และทำให้เหมาะสมมากขึ้นหากจะเปลี่ยน หรือจะเดินหน้าซื้อเรือดำน้ำต่อ ควรจะเปิดเผยให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ มีข้อมูลจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้วย  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ