ชีวิตดีสังคมดี

สรุปมหากาพย์ 'เรือดำน้ำ' จัดซื้อบนความฝืดเคือง สุดท้ายโดนจมเป็น เรือฟริเกต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปมหากาพย์ ซื้อ 'เรือดำน้ำ' ราคา 36,000 ล้านบาท ราคาที่ยอมแลกเพราะอยากได้ความเกรงใจจากนานาประเทศ ไม่สนความฝืดเคืองแค่ไหนท้ายที่สุดถูกจมเตรียมเปลี่ยนเป็น เรือฟิเกต แทน

กลายเป็นเรื่องที่สังคมกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งในการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ราคา 36,000 ล้านบาท จากประเทศจีนในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา เพราะหลังจากที่รัฐบาลในยุค คสช. พยายามที่จัดซื้อยุทโธปกรณ์ด้านการทหาร ในภาวะที่ประเทศกำลังฝืดเคืองกลายเป็นประเด็นที่ทำให้มีการตั้งคำถามมากมายมาย แม้ว่าในช่วงโควิด กองทัพเรือจะยอมคืนงบประมาณบางส่วนในการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" แต่ก็เกิดการคัดค้านจากสังคมอย่างมาก

เวลาผ่านไปโครงการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ที่จะทำให้คนเกรงใจ ไม่ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของคนไทย โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา "เรือดำน้ำ" กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีแผนที่จะจม "เรือดำน้ำ" ที่เคยทำสัญญาไปแล้วเป็น เรือฟริเกต แทน

สำหรับมหากาพย์การจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" มีที่ไปที่มา ดังนี้

1. ย้อนกลับไปเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมาประมาณปี 2558  รัฐบาลยุค คสช. มีแนวคิดที่จะซื้อ "เรือดำน้ำ" จำนวน 3 ลำ ในราคาราวๆ 36,000 ล้านบาท หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้เห็นชอบในหลักการให้จัดหา เรือดำน้ำ โดยกองทัพเรือได้พยายามเสาะหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการผลิตจัดหา เรือดำน้ำ จนสุดท้ายก็ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดจากจีน

 

 

2.หลังจากนั้นจึงได้ทำสัญญาตกลงซื้อขาย "เรือดำน้ำ" จำนวน 3 ลำ ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (G2G) โดยมีระยะเวลา 11 ปี ในการส่งมอบ เรือดำน้ำ ให้แก่กองทัพไทย โดยกองทัพเรือได้มีการเซ็นสัญญาซื้อเรือดำน้ำลำแรก ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านบาท แบ่งชำระเงินเป็น 7 ปี รวม 17 งวด ประเดิมงวดแรกปี 2560 จำนวน 700 ล้านบาท ส่วนปี 2561-2566 จ่ายเงินเฉลี่ยปีละ 2,100 ล้านบาท

 

 

3. ท่ามกลางคำครหาถึงการใช้งบประมาณแผ่นดินในจำนวนมหาศาลแต่ ทางรัฐบาล และ กองทัพเรือก็ยังคงเดินหน้าซื้อ "เรือดำน้ำ" ไม่หยุดจนกะรทั้งในปี 2563 ไทยเผชิญกับวิกฤตโควิดอย่างหนัก รัฐบาลได้มีคำสั่งให้แต่ละหน่วยงานโอนงบประมาณกลับคืน ทร. จึงได้คืนงบประมาณในการจัดซื้อ เรือดำน้ำ แต่ในปี 2565 กองทัพเรือได้เดินหน้าจัดซื้อ เรือดำน้ำ ลำที่ 2 และ 3 อีกครั้ง ในงบประมาณ 22,000 ล้านบาท

 

 

4. ดูเหมือนว่าการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ในช่วงนั้นจะเริ่มมีปัญหา โดยกระทรวงกลาโหมได้แจ้งขอถอนวาระการเสนอจัดซื้อ เรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ ออกจากการพิจารณางบประมาณปี 2565  หลังจากนั้นทางกองทัพเรือออกมายอมรับว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำแบบไม่มีเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยประเทศเยอรมนี มีปัญหาเนื่องจากทางเยอรมนีไม่ยอมออกใบอนุญาตแก่จีนได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จีนจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป

 

 

 

5. ปัญหาการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" คาราคาซังต่อเนื่องจนมาถึงยุครัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐฐมนตรี และแน่นอนว่าหลังจากที่มีการแต่งตั้ง ครม. และนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้กุมกองทัพได้มีการหยิบเอาการจัดซื้อ เรือดำน้ำ มูลค่ามหาศาลกลับมาพิจารณาเป็นเรื่องแรกๆ  จนท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า มีความคิดที่จะเปลี่ยนการซื้อ เรือดำน้ำ และ เรือฟริเกต อย่างแน่นอน เพราะมีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากกว่า แต่การเปลี่ยนสัญญาระหว่างไทยกับจีน จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ เพราะมีการทำสัญญาซื้อขาย "เรือดำน้ำ" ไปแล้ว ต้องรอการสรุปอีกครั้ง

 

 

ด้านนายกฯ ก็ออกมายืนยันถึงการเปลี่ยน "เรือดำน้ำ" เป็น เรือฟริเกต ว่า ประเทศไทยไม่เสียเปรียบแน่นอน ส่วนความชัดเจนการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็น เรือฟริเกต ขอให้ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีข้อมูลครบก่อนแล้วค่อยดำเนินการเจรจา  แต่เชื่อว่าจะมีข่าวดี และมีความคืบหน้าไปได้ด้วยดี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ