ชีวิตดีสังคมดี

สมรรถนะ 'เรือดำน้ำ' เรือฟริเกต แบบไหนแกร่งกว่า เหมาะเป็นเจ้าแห่งน่านน้ำไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดสมรรถนะ 'เรือดำน้ำ' เรือฟริเกต ท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแล้วแบบไหนคุ้มกว่ากัน เทียบชัดลำไหนแข็งแกร่ง เหมาะจะเป็นเจ้าแห่งน่านน้ำไทยมากกว่า

กระแสเปลี่ยน "เรือดำน้ำ" เป็น เรือฟริเกต ของกระทรวงกลาโหม ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าทั้งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่ากากรระทรวงกลาโหม ได้ออกมาประสานเสียงกันว่า การเปลี่ยนสัญญาซื้อขาย "เรือดำน้ำ" ระหว่างจีนและไทยในครั้งนี้ ประเทศไทยไม่เสียเปรียบอย่างแน่นอน และทุกอย่าง ทุกขั้นตอนจะต้องมีการตรวจสอบรายละเอียด สัญญาซื้อขายกันแบบละเอียด

 

 

ท่ามกลางกระแสสังคมที่ยังคงมีการตั้งคำถามอยู่ต่อเนื่องแล้วระหว่าง "เรือดำน้ำ" ราคาหลายหมื่นล้าน กับ เรือฟริเกต อะไรมีความคุ้มค่ามากกว่ากัน ทั้งด้านสมรรถนะ ระยะเวลาการใช้งาน ราคา รวมไปถึงความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย คมชัดลึก รวบรวมข้อมูลคุณสมบัติ และการใช้งานด้านการรบ อาวุธต่างๆ ของ เรือดำน้ำ และ เรือฟริเกต ไว้ดังนี้

 

 

"เรือดำน้ำ" เป็นเรือรบที่สามารถปฏิบัติการในขณะที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้ สร้างจากเหล็กแต่มีความสามารถในการเคลื่อนที่ภายใต้น้ำ "เรือดำน้ำ" ถูกนำมาใช้ในการสงครามและการค้นคว้าสำรวจใต้ทะเลลึกในบริเวณที่มนุษย์เราไม่สามารถดำลงไปได้ด้วยการสวมเพียงชุดดำน้ำ ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษเหนือกว่ายานพาหนะชนิดอื่น คือ สามารถที่จะอยู่ได้ทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ

 

 

"เรือดำน้ำ" Yuan ClassS26T  เป็นเรือดำน้ำขนาดกลาง ยาว 77.6 เมตร กว้าง 8.4 เมตร กินน้ำลึก 6.7 เมตร มี 1 ใบจักร ความเร็วผิวน้ำ 16 นอต ความเร็วสูงสุดขณะดำน้ำ 23 นอต เครื่องยนต์ใช้เทคโนโลยี AIP (Air Independent Propulsion) เป็นระบบใช้เครื่องยนต์ดีเซล แบบใช้อากาศหมุนเวียน มีออกซิเจน และเชื้อเพลิงอยู่ในตัว ระบบเครื่องยนต์ไม่ต้องพึ่งพาอากาศจากผิวน้ำ เพื่อยืดเวลาขึ้นสู่ผิวน้ำและการเข้าซ่อมบำรุงในฝั่ง ทำให้การขับเคลื่อนมีความเงียบ สามารถดำอยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลานาน 21 วัน ตัว เรือดำน้ำ สามารถติดตั้งระบบอาวุธนำวิถี สามารถยิงใส่เป้าหมายทั้งใต้น้ำและบนฝั่ง มีท่อยิงตอร์ปิโด 6 ท่อ สามารถติดตั้งระบบอาวุธตอร์ปิโดและทุ่นระเบิด อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 30 ปี

 

 

อย่างไรก็ตามไทยเคยมี "เรือดำน้ำ" เข้าประจำการได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ, ร.ล.วิรุณ, ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล โดยทั้ง 4 ลำได้ปฏิบัติการในอ่าวไทยหลายครั้งตั้งแต่สงครามอินโดจีนทั้งการรับและส่งสายลับพลพรรคขบวนการเสรีไทย และการโจมตีเรือของฝ่ายอักษะด้วยตอร์ปิโดซึ่งได้ปลดประจำการแล้วทุกลำในปี พ.ศ. 2494

 

 

เรือฟริเกต ปัจจุบันประเทศไทยมีเรือ ฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือที่พัฒนามาจากแบบของเรือพิฆาตชั้นควังแกโทมหาราช ของกองทัพเรือเกาหลีที่ใช้มาตรฐานเดียวกับกองทัพเรือสหรัฐ เพิ่มเติมคุณสมบัติด้านการล่องหน  เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เรือฟริเกต สมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย สามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ คือบนผิวน้ำ ใต้น้ำ และอากาศ สามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนทางเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ สามารถทนทะเลได้ในระดับ 8 ความสูงคลื่นประมาณ 12 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 30 นอต มีระยะในการปฏิบัติการไกล 4,000 ไมล์ทะเล ปฏิบัติการต่อเนื่องได้ 21 วัน ใช้กำลังพลปฏิบัติงานทั้งหมด 141 นาย โดยมีนายทหารระดับนาวาเอก เป็นผู้บังคับการเรือ

 

 

โดย เรือฟริเกต มีการออกแบบให้ใช้เทคโนโลยีในการล่องหน (ตรวจจับได้ยาก) สามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติคือ ผิวน้ำ ใต้น้ำ ทางอากาศ ผ่านเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล 3 มิติ และเรดาร์ตรวจการณ์ระยะกลางสำหรับค้นหาอากาศยานและตรวจจับพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเรือและอากาศยานที่ร่วมการปฏิบัติการรบ และโจมตีด้วยขีปนาวุธหรือปืนประจำเรือ

 

สำหรับระบบป้องกันตนเองของ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ประกอบไปด้วยระบบอาวุธปล่อยนำวิถี ปืนต่อสู้อากาศยาน ปืนใหญ่เรือ อาวุธป้องกันระยะประชิด ระบบเป้าลวงอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายของเรือที่สามารถทำได้ทั้งจากศูนย์กลางและแบบแยกส่วน รวมไปถึงระบบป้องกันการแพร่สัญญาณต่าง ๆ ออกจากตัวเรือและการดักจับรบกวนสัญญาณต่าง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ