ชีวิตดีสังคมดี

นักวิชาการมอง 'รัฐสวัสดิการ' เป็นเรื่องที่ต้องลงทุนมากกว่าเมกะโปรเจ็กต์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มุมมองนักวิชาการ 'รัฐสวัสดิการ' ต้องเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าเมกะโปรเจ็กต์ ชี้ทำให้คนไทยวางแผนชีวิตได้ มองอนาคตสวัสดอการถ้วนหน้าของไทยจากนี้ 4 ปี อาจจะดีขึ้นแต่ประชาชนยังต้องเรียกร้อง

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์ ผู้ขับเคลื่อนด้าน "รัฐสวัสดิการ" กล่าวหลังการปาฐกถาพิเศษรำลึก 47 ปี 6 ตุลา  โดยได้ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงการขับเคลื่อน "รัฐสวัสดิการ" ในประเทศไทย และทุนผูกขาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระบบการเมือง ข้าราชการ

 

 

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

 

 

 

โดย รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า การต่อสู้เพื่อสังคมที่เท่าเทียมไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานเรื่อง "รัฐสวัสดิการ" เป็นหนึ่งในประเด็นที่เกิดการต่อสู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่อดียจนถึงปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าในสังคมไทยไม่เคยมองเรื่อง "รัฐสวัสดิการ" เป็นเรื่องสำคัญ และถึงแม้ว่าจะมีการหยิบยกขึ้นมาพูด หรือถูกนำมาใช้ในการหาเสียงบ้างแต่ก็ไม่ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริง

ร่องรอยสำคัญเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมด้าน "รัฐสวัสดิการ" ที่เรามองเห็นได้ชัดเจนคือการที่คนรุ่นใหม่ออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมจากหน่วยงานรัฐอยู่ตลอดเวลา มีการตั้งคำถามกับกลุ่มทุนผูกขาด มีการตั้งคำถามกับการสืบทอดอำนาจ และอำนาจนิยมมากมายในสังคมไทย โดยวันที่ 6 ตุลา เป็นอีกหนึ่งสัญญลักษณ์ที่ทำให้คนคิด กล้าตั้งคำถาม แม้ว่าจะเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนแต่เหตุการณ์ 6 ตุลา ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนมากมายที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับสังคมที่เท่าเทียมกันในทุกๆ มิติ

 

ภาพประกอบบทความ 6 ตุลา

 

 

นอกจากนี้รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อน "รัฐสวัสดิการ" ในรัฐบาลใหม่ เอาไว้อย่างน่าสนใจ ว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลผสม สิ่งหนึ่งที่เราเห็นชัดเจนคือการพยายามลดเพดาน นโยบายหลายด้านที่เกี่ยวกับการอุดหนุนคุณภาพชีวิตประชาชนไม่ว่าจะเป็น โครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  หรือแม้กระทั้งโครงการเรียนฟรีของเด็ก โครงการเหล่านี้ล้วนเป็นข้อผูกมัดที่ไม่มีเรื่องผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องหากเทียบกับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ หรือ หากพูดง่ายๆ คือ เป็นโครงการที่มีเงินทอนนั้นเอง ตนมองว่ารัฐบาลผสมพยายามที่จะดำเนินการเมกะโปรเจ็กต์เพื่อที่จะแบ่งเค้กกัน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่รัฐบาลผสมจะดำเนินการโครงการขนาดใหญ่มากกว่าโครงการที่เป็นการยกระดับ "รัฐสวัสดิการ" ของประเทศ หรือการจัดงบประมาณที่จะเข้าสู่ประชาชนโดยตรง

 

ภาพประกอบบทความ 47 ปี  6 ปี ตุลา

 

ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ 4 ปีต่อจากนี้ โดย รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ มองว่า ทุกๆ การเลือกตั้งมันจะสร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นคลื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย อย่างน้อยเรามีพรรคฝ่ายค้านที่มีพลัง ตนคิดว่ามันจะดีแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการต่อสู้ของประชาชน เพราะขณะนี้การปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลก็มีความเข้มข้นเช่นกัน แต่ทั้งนี้ตนยังมองว่าประชาชนมีเครื่องเมืองและมีความตื่นตัวมากยิ่งขึ้นที่จะสามารถตรวจสอบนโยบายรัฐบาล ดังนั้นตนคิกว่ารัฐสวัสดิการจะดีขึ้น แต่ดีขึ้นในมุมที่ทุกคนจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้

 

ภาพประกอบบทความ 47 ปี 6 ตุลา

 

“ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลประชาชนก็จะต้องต่อสู้และยืนยัน ที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าหลายๆ นโยบายเขาไม่ได้หาเสียงแต่ได้ทำ บางนโยบายหาเสียงไว้แต่ไม่ทำเพราะหลังจากที่เลือกตั้งบรรดานักการเมือง กลุ่มทุน ข้าราชการ ก็จะกอดคอ จับมือ ดังนั้นประชาชนก็จะต้องส่งเสียงตลอดเวลา” นี่คือความคิดเห็นบางส่วนจาก รศ.ดร.ษัษฐรัมย์

 

 

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. ษัษฐรัมย์ ยังมีมุมองที่น่าสนใจและคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการผลักดันโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยเฉพาะการทำให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดอการถ้วนหน้าด้วย ว่า การจัดสวัสดิการต่างๆ ไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิประโยชน์ แต่เป็นการสร้างความทวีคุณด้านเศรษฐกิจได้ ซึ่งนโยบายเหล่านี้สามารถทำให้คนวางแผนชีวิตได้ไม่น้อยกว่าเมกะโปรเจ็กต์อื่นๆ แต่เมกะโปรเจ็กต์อื่นๆ กลับไปให้ประโยชน์เพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น  คนระดับบนเท่านั้น ในทางกลับกันหากเม็ดเงินกระจายไปสู่ประชาชนมันจะเป็นประโยชน์มากกว่าการคำนวณผลจากเครื่องคิดเลขเท่านั้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ