ชีวิตดีสังคมดี

สงกรานต์ยังไม่มี 'คาร์ซีท' ตำรวจจับ? กฎหมายใหม่​บนความไม่พร้อมปฏิบัติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'คาร์ซีท' ไม่ได้มากับตัวรถ​ ผู้ปกครองต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง สงกรานต์ปีนี้คือถนนที่​ 2​ ต้อนรับกฎหมายใหม่​ 'บังคับคาร์ซีท'​ ตำรวจผู้บังคับใช้​ ผู้ปกครองจะเลือกประหยัด​ หรือเคารพกฎจราจรและคุ้มครองชีวิตลูก​ เนื้อหา 'คม ชัด ลึก' วันนี้ผู้ปกครองอาจตัดสินใจได้

  • กฎหมายดี​ แต่เพิ่มภาระ​ 

 

เด็ก​ 6​ ขวบกระเด็นออกจากรถกระบะ​ตกทางด่วน​ ร่างกระแทกพื้นเสียชีวิตคาที่ สาเหตุเพราะพ่อขับรถเสียหลักชนขอบทางด่วน​ เหตุการณ์​นี้ตอกย้ำได้ว่ากฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือ "คาร์ซีท"​ เป็นกฎหมายควรมี เพราะถ้าเด็กนั่งคาร์ซีทโอกาสรอดชีวิตสูงถึงร้อยละ 90​ ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก​ (WHO)​ แต่ในทางหนึ่ง​ คือ​ เพิ่มภาระผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดเรื่องรายได้​ 

 


 

รกกระบะคันที่เกิดเหตุ

 

 

พ.ต.อ.หญิง จินดา กลับกลาย ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

  • บังคับใช้กฎหมายแบบจริงจัง?

 

กฎหมาย "คาร์ซีท"​ โจทย์สำคัญตกอยู่ที่ตำรวจผู้มีอำนาจบังคับใช้ ท้าท้ายยิ่งขึ้นเพราะช่วงนี้ประชาชนใช้รถใช้ถนนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลสงกรานต์​ แน่นอนว่าเด็กต้องอยู่ในรถยนต์​กับผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย และข้อบังคับนี้เป็นกฎหมายใหม่​ที่มาพร้อมกับเทศกาลใช้รถ​เดินทางไกล​ กลุ่มผู้ปกครองรายได้น้อย และรถกระบะที่ภายในไม่เอื้อต่อการติดตั้ง "คาร์ซีท"​ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงยืดหยุ่นให้ยึดหลักปฏิบัติ 3 ข้อนี้เป็นหลัก 1. ขับช้าเสมอ 2. ซิดซ้ายตลอดเส้นทาง 3. เด็กนั่งเบาะด้านหลังคนขับ และต้องมีคนดูแลตลอด (แคป) 

  • เข็มขัดนิรภัยผู้ใหญ่คุ้มครองเด็กไม่ได้

 

ข้อมูลจาก​ WHO​ ระบุไว้ว่า​ แม้เด็กจะนั่งเบาะปกติและสวมเข็มขัดนิรภัย​ก็มีโอกาสกระเด็นออกจากตัวรถ​ เพราะอุปกรณ์บนรถถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ เช่น การออกแบบเบาะที่นั่งรถยนต์ รวมถึงต่ำแหน่งเข็มขัดนิรภัยใน​ เด็กมีรูปร่างต่างจากผู้ใหญ่เมื่อไปนั่งผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการไม่ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก

 

 

 

  • ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กลดเสียชีวิต​ 90%

 

การใช้ระบบยึดเหนี่ยวตัวเด็กบนยานพาหนะ ซึ่งประกอบไปด้วยเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือเบาะเสริม ร่วมกับการใช้เข็มขัดนิรภัย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตเด็ก จากรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558 เรื่องการส่งเสริมให้ใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ พบว่า เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ช่วยลดโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ประมาณร้อยละ​ 90 และประมาณร้อยละ 54 ถึง 80 ถ้าเป็นเด็กเล็ก การให้เด็กนั่งเบาะหลังจะปลอดภัยกว่าการให้นั่งด้านหน้า โดยเด็กแรกเกิดถึง 3 ปีให้นั่งหันหน้าเข้าเบาะ ส่วน 4 ปีขึ้นไป นั่งหันหน้าปกติได้ ส่วนการคาดเข็มขัดนิรภัยต้องรัดให้แน่นเหลือช่องว่างแค่นิ้วชี้สอดเข้าไปได้ก็พอ

 

 

การวางตำแหน่งคาร์ซีทสำหรับเด็ก 0-3 ปี

 

 

  • ไม่ใช้คาร์ซีทเด็กเสียชีวิตปีละ​ 44​ ราย


ข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2564) พบว่า​ มีเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,155 ราย ในจำนวนนี้มี 221 ราย เป็นเด็กที่เสียชีวิตขณะโดยสารรถยนต์ เฉลี่ยปีละ 44 ราย​ ส่วนใหญ่เกิดจากการโดยสารรถกระบะ 

 

 

 

  • เด็กไม่เกิน​ 15​ ปีเสียชีวิตบนท้องถนนปีละ​ 4,000​ ราย

 

อุบัติเหตุไร้ "คาร์ซีท"​​ ไม่เพียงสูญเสียเด็กแรกเกิดถึง 6​ ปี​ แต่ในประเทศไทยปี 2553-2556 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีสถานะเป็นผู้โดยสาร ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจำนวน 15,843 รายหรือเฉลี่ยปีละ 4,000 คน โดยเกิดจากการโดยสารรถกระบะ​ ร้อยละ 12.3 เด็กที่บาดเจ็บรุนแรงและรถเก๋ง ร้อยละ 2.7 ของเด็กที่บาดเจ็บรุนแรง เสียชีวิตเฉลี่ย 524 ราย ร้อยละ 23.9 ของเด็กที่เสียชีวิตเป็นเด็กที่โดยสารรถกระบะ และรถเก๋ง ร้อยละ 6.7 โดยมีสาเหตุจากการกระเด็นออกนอกรถ เพราะไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวเด็กไว้กับรถยนต์ 

 

 

 

  • กฎหมายดี​ แต่ต้องไม่เป็นภาระผู้ปกครอง

 

"รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์" ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหิดล บอกว่า กฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ว่าผู้ใหญ่ต้องคุ้มครองความปลอดภัยเด็ก ตอนนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ต้องดูว่าทำอะไรได้บ้างให้ความจนเสมอภาค ผู้มีอำนาจต้องมีส่วนคุ้มครองเด็ก เช่น โรงพยาบาลมีส่วนส่งเด็กแรกเกิดกลับบ้าน ต้องจัดทำธนาคาร "คาร์ซีท"​ ให้ผู้ปกครองเช่าหรือยืม เพื่อให้เด็กกลับบ้านปลอดภัย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต., เทศบาล) ตั้งกองทุนเสมอภาคให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อ "คาร์ซีท"​ ในรูปแบบผ่อนชำระ แต่ต้องไม่ใช่การแจก เพราะแจกประชาชนไม่ใช้แน่นอน ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันนำไปสู่วัฒนธรรมให้ความสำคัญต่อเด็ก เพราะจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดน้อยลงเรื่อยๆ การคุ้มครองเด็กจึงเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องทำ 

 

 

 

  • อนาคตยานพาหนะที่มาพร้อมที่นั่งนิรภัยเด็ก


บทลงโทษกฎหมาย "คาร์ซีท"​ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถบนท้องถนน ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร วัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายครั้งนี้เพื่อต้องการให้ทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์ ซึ่งนอกเหนือจากการบังคับให้ผู้ใหญ่ทุกคนต้องรัดเข็มขัดนิรภัยแล้ว เด็กทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยเช่นกัน หรือจะดีแค่ไหนหากรถยนต์ในอนาคตออกแบบให้มี "คาร์ซีท"​ มากับตัวรถ​  รองรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก และเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตรต้องรัดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง​ 

 

 

การบังคับใช้กฎหมาย "คาร์ซีท"​ ​ในการเดินทางจะเข้มงวดแค่ไหน​ ผู้ปกครองที่ยังไม่มี "คาร์ซีท"​ ​จะตัดสินใจซื้อเพื่อรักษากฎจราจร​ รวมถึงคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตลูก​ หรือลองเสี่ยงอาจไม่โชคร้ายเกิดอุบัติเหตุ​  


 

ข้อมูล: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ