ข่าว

คนแห่ชม 'ซูเปอร์บลูมูน' จะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่ วันไหน เช็กที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คนแห่ชม 'ซูเปอร์บลูมูน' เปิดภาพเทียบ ซูเปอร์บลูมูน และ ไมโครฟูลมูน จะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่ วันไหน เช็กที่นี่

ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่แห่ไปชมจันทร์ 'ซูเปอร์บลูมูน' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และ ดวงจันทร์เต็มดวง ครั้งที่สองของเดือน โดยตั้งแต่ช่วงเย็นถึงค่ำมีเมฆมาก ฟ้าเปิดเป็นบางช่วง ทำให้มองเห็น ดวงจันทร์ ที่โผล่ทะลุเมฆมาเป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะมองเห็นด้วยตาเปล่า สดร. ยังนำกล้องโทรทรรศน์หลากหลายขนาดมาติดตั้งให้ประชาชนได้ส่องดูดวงจันทร์กันอย่างชัดเจนถึงพื้นผิว สร้างความตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ผู้ปกครองพาไปดูจำนวนมาก

 

 

ซูเปอร์บลูมูน

 

สำหรับ 'ซูเปอร์บลูมูน' เริ่มสังเกตได้เมื่อ เวลาประมาณ 20.15 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 357,185 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงไกลโลกที่สุด เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 เวลาประมาณ 01.40 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,813 กิโลเมตร แสดงให้เห็นขนาดปรากฏที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

 

 

โดยคืนวันที่ 30 ถึงเช้าวันที่ 31 ส.ค. 2566 ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่ที่สุดในรอบปี เรียกว่า 'ซูเปอร์ฟูลมูน' และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ 'บลูมูน' จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า 'ซูเปอร์บลูมูน' เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เมื่อเปรียบเทียบขนาดปรากฏของ ดวงจันทร์ ขณะใกล้โลกที่สุดกับ ดวงจันทร์เต็มดวง ขณะไกลโลกที่สุดแล้ว อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าถึง 14% และสว่างเพิ่มขึ้นถึง 30% เป็นผลจากการที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากขึ้น ขนาดปรากฏใหญ่ขึ้น จึงมองเห็นสว่างยิ่งขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ในช่วงหัวค่ำของคืนดังกล่าวยังมี ดาวเสาร์ ปรากฏสว่างข้าง ดวงจันทร์ อีกด้วย

 

ภาพเปรียบเทียบ

ดาวเสาร์อยู่ข้างดวงจันทร์

 

สำหรับ 'บลูมูน' (Blue Moon) ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน แต่หมายถึง วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึงสองครั้งในหนึ่งเดือนคือช่วงต้นเดือนและปลายเดือน บลูมูน ครั้งนี้นับเป็น บลูมูน ในรอบ 3 ปี ครั้งล่าสุดที่เกิดบลูมูนคือวันที่ 31 ต.ค. 2563 ซึ่งในครั้งนั้นนอกจากจะตรงกับวันฮาโลวีนแล้ว ยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) พอดีอีกด้วย และปรากฏการณ์ 'ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี' ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ต.ค. 2567 ส่วนปรากฏการณ์ บลูมูน ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 31 พ.ค. 2569

 

 

คนแห่ชม

คนแห่ชม

 

 

ภาพ : NARIT

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ