ข่าว

รวมภาพ คนแห่ชม 'ดาวเสาร์ใกล้โลก' ใกล้สุดในรอบปี สังเกตได้ด้วยตาเปล่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รวมภาพ คนแห่ชม 'ดาวเสาร์ใกล้โลก' ใกล้สุดในรอบปี สังเกตได้ด้วยตาเปล่านานถึงรุ่งเช้า ขณะ เตรียมพบอีก 1 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ส่งท้ายเดือนสิงหาคม

ช่วงคืนที่ผ่านมา (27 ส.ค. 2566) เกิดปรากฏการณ์ 'ดาวเสาร์ใกล้โลก' ใกล้ที่สุดในรอบปี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ ดาวเสาร์ โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) หมายถึง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าว เมื่อ ดวงอาทิตย์ ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์จะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

 

 

ดาวเสาร์ใกล้โลก

 

คืนดังกล่าวหลายพื้นที่ทั่วไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ แม้จะอยู่ในช่วงมรสุม มีเมฆมาก แต่ก็มีจังหวะที่ ดาวเสาร์ โผล่พ้นเมฆออกมาให้ชมกัน สำหรับจุดสังเกตการณ์หลักของ NARIT ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา มีประชาชนให้ความสนใจร่วมชมวงแหวนดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เป็นจำนวนมาก สามารถสังเกตเห็นช่องว่างแคสสินีระหว่างวงแหวนของ ดาวเสาร์ และดวงจันทร์บริวาร ได้แก่ ไททัน และเอนเซลาดัส ได้อย่างชัดเจน

 

 

หลังจากนี้ ดาวเสาร์ จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าไปจนถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ หากคืนไหนสภาพอากาศดีจะสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้

 

 

ดาวเสาร์ใกล้โลก

ดาวเสาร์ใกล้โลก

 

สำหรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ 'ซูเปอร์บลูมูน' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 30 ส.ค. 2566 เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 31 ส.ค. 2566 

 

 

NARIT เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ 'ซูเปอร์บลูมูน' สามารถเข้าร่วมได้ที่จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ หอดูดาวภูมิภาค โคราช ฉะเชิงเทรา และสงขลา รวมถึงโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือรับชม LIVE ปรากฏการณ์ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

 

แห่ชม ดาวเสาร์ใกล้โลก

แห่ชม ดาวเสาร์ใกล้โลก

แห่ชม ดาวเสาร์ใกล้โลก

 

 

ภาพ : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ