ข่าว

"กรมชลประทาน" ควบคุมการพร่องน้ำสถานีบางไทร ไม่ให้เกิน 3000 ลบ.ม.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรมชลประทาน" ควบคุมการพร่องน้ำสถานีบางไทร ไม่ให้ 3000 ลบ.ม. หวั่นกระทบ "กทม. " ประชุมร่วมคณะทำงานด้านอำนวยการน้ำ เดินหน้าบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่สถานีสูบน้ำบางไทร จะควบคุมไม่ให้

ดร.ทวีศักดิ์  ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา  และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการน้ำ ผ่านระบบVDO Conference โดยมี ดร.สุรสีห์  กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ   เป็นประธานการประชุมฯ

 

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน(21 ก.ย.65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ  มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 53,031 ล้าน ลบ.ม. (70% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 23,066 ล้าน ลบ.ม.

 

เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 15,330 ล้าน ลบ.ม. (62% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 9,541 ล้าน ลบ.ม.

 

ภาพรวมสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี และยังคงมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรองรับปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้น ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

 

ทั้งนี้ ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนเดือนสุดท้ายให้สอดคล้องกับสถานการณ์  กัก เก็บ ระบาย อย่างเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยคำนึงถึง ปริมาณ เวลา และสถานที่เป็นหลัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา นั้น ตอนบนจะใช้ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาในการกักเก็บน้ำ  ตอนกลางทำการหน่วงน้ำโดยการใช้เขื่อนเจ้าพระยาในการบริหารจัดการน้ำ  ควบคุมปริมาณน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จะระบายน้ำตามคลองแนวขวาง และแนวดิ่ง ออกสู่แม่น้ำบางปะกง และอ่าวไทย  ทางด้านตะวันตก จะทำการบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องกันระหว่างพื้นที่โครงการชลประทาน ในการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทย  พร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีบางไทร ไม่ให้เกิน 3,000 ลบ.ม./วินาที เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง 
 

ด้านสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น จนไหลล้นตลิ่งบางแห่ง กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 6 , 7 และ 8 ได้ร่วมบูรณาการจัดจราจรน้ำรวมกัน พร้อมทั้งยกบานประตูระบายน้ำตลอด ลุ่มน้ำชี-มูล เพื่อเร่งระบายน้ำในลำน้ำชี และลำน้ำมูล ลงสู่แม่น้ำโขงโดยเร็ว  

 

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฝั่งตะวันออกและปริมณฑล กรมชลประทาน ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำตามคลองแนวขวาง และแนวดิ่ง ออกสู่แม่น้ำบางปะกงและอ่าวไทย อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าวิกฤตแล้ว 

 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนปี 65 ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนดอย่างเคร่งครัด

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่

เพิ่มเพื่อน Line: https://lin.ee/qw9UHd2

Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่  

 (https://awards.komchadluek.net/#)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ