ข่าว

'พิธา' แสดงวิสัยทัศน์ครั้งสุดท้ายหลัง โหวตนายกฯ แจงยิบทุกข้อสงสัยในสภา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'พิธา' แสดงวิสัยทัศน์ครั้งสุดท้ายหลังอภิปราย โหวตนายกฯ ฝากถึงสว. เรามีสิ่งที่ต้องการพัฒนาประเทศไทยเหมือนกัน พร้อมแจงยิบทุกข้อสงสัยในสภา

นาย "พิธา" ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวสรุปการอภิปราย และแสดงวิศัยทัศน์ ครั้งสุดท้ายในการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงสุดที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย  โดยในการแสดงวิสัยท์ครั้งนี้ เราต้องชี้ให้เห็นก่อนว่ามีความแตกต่างจากการแสดงนโยบายอย่างไร และจะต้องรู้ว่าใครคือเป้าหมายในครั้งนี้  เราจะต้องรู้ว่าอะไรคือจุดแข็งจุดอ่อนของประเทศไทย และจะทำอย่างไรเพื่อให้เป้าหมายที่แท้จริง เป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วที่ประชาชนได้เห็นตนแสดงวิสัยทัศน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากนโยบายปากท้องดี เศรษฐกิจดี และความตั้งใจที่จะทำให้ประเทศไทย หลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง  

ที่ผ่านมาตนเคยมีการพุดคุยกับสมาชิก รัฐสภา สมาชิกวุฒิสภาหลายครั้ง โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าให้แก่ภาคเกษตรกรด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมผลผลิตทางการเกษตร  รวมไปถึงเป้าหมายในการสร้างความเท่าเทียม และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย เช่นการเสนอ พ.ร.บ.อุ้มหาย ซ้อมทรมานที่มีการผลักดันเข้าสภาทั้ง 2 วาระ ซึ่งการเสนอกฎหมายดังกล่าวนับว่าเป็นความร่วมมือของ พรรคก้าวไกล และสมาชิกรัฐสภา

 

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  
 

อย่างไรก็ตามในช่วงการทำหน้าที่เป็น สส. ตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มี สว. ลุกขึ้นมาอภิปราย และปิดสวิตช์ตัวเองไปกว่า 63 คน แต่ตอนนี้ไม่สามารถจะทำแบบนั้นได้แล้ว การปิดสวิตช์และไม่โหวตครั้งนี้นำว่าเป็นการเลือกให้ประเทศไทยไม่สามารถเดินหน้าไปต่อไปได้ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาตนเคยขึ้นเวที รัฐสภาไทยในเวที IPU ระหว่างไทย-นิวซีแลนด์  ที่มีการพูดคุยถึงการศึกษา สิ่งแวดล้อม การต่างประเทศ การบริหารจัดการน้ำ ตนเชื่อว่า พรรคก้าวไกล และ สว. มีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศที่เหมือนกัน การโหวตรัฐบาลครั้งนี้เปรียบเสมือนการเปิดประตูแห่งโอกาสที่จะได้ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ ที่ สว. ต้องการที่จะดำเนินการให้สำเร็จ 

 

 

นอกจากนี้นาย "พิธา" ยังได้อธิบายถึงการแก้ไขกฎหมายม.112 การผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นการธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตย์ให้อยู่กับสังคมไทย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งนำเรื่องสถาบันมาโจมตีทางการเมือง หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2549  นับว่าเป็นปีที่เป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งกฎหมายม.112 ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องงมือทางการเมืองของคนที่ไม่มีอำนาจโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน กลุ่มธุรกิจ ที่มีการนำเอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง กระทบมาจนถึงคนรุ่นใหม่ที่จะต้องแบกรับภาระ ที่ผ่านมาเราเห็นมาโดยตลอดว่ามีการสกัดไม่ให้ตน เพราะกลุ่มนั้นกำลังจะสูญเสียผลประโยชน์ด้านการสัมปทาน ธุรกิจของกลุ่มทุน การแก้ไขกฎหมายม.112 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใดแอบอ้างสถาบันได้อีก เพราะความขัดแย้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดจากการดึงเอาสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง   
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ