Lifestyle

" เนยถั่ว" อร่อยและประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เนยถั่ว" ซึ่งมีที่มาจากการแปรรูปถั่วลิสง    เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ  ด้วยสารอาหารนานาชนิดที่มีอยู่ จึงมีประโยชน์ในการบำรุงสุขภาพ

 

 

“เนยถั่ว”  (Peanut Butter)  กระบวนการผลิตมาจากถั่วลิสงคั่วหรืออบ แล้วนำไปบดให้ละเอียด จนได้เป็นเนยถั่วเนื้อเนียน  บางสูตรอาจผสมกับน้ำมัน เช่น น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันพืช สารให้ความหวาน เช่น น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายแดง และเกลือเล็กน้อย ซึ่งส่วนผสมในการทำเนยถั่วนั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสูตร

 

 

คุณค่าของ"เนยถั่ว"   เนยถั่ว  2 ช้อนโต๊ะ (ประมาณ 32 กรัม) ให้พลังงาน 188 กิโลแคลอรี่ และมีคุณค่าทางโภชนาการ กล่าวคือ   โปรตีน 7.02 กรัม ไขมันทั้งหมด 16 กรัม (21% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) ,กรดไขมันอิ่มตัว 3 กรัม (15% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน), คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม (3% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) , ไฟเบอร์ 1.8 กรัม (6% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) , สังกะสี หรือซิงก์ 0.85 มิลลิกรัม (7.7% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) ,  วิตามินบี 3 หรือไนอะซิน 4.21 มิลลิกรัม-

 

 

"เนยถั่ว" 2 ช้อนโต๊ะ (ประมาณ 32 กรัม)  ยังมี วิตามินบี 6 0.17กรัม (14% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) , แมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม , ฟอสฟอรัส 107 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 200 กรัม ,  น้ำตาล 2.1 กรัม, โซเดียม 152 มิลลิกรัม , วิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น วิตามินอี แคลเซียม เหล็ก    คุณค่าทางโภชนาการของเนยถั่ว แตกต่างกันไปตามส่วนผสมในการทำเนยถั่ว

 

 

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ “เนยถั่ว”  แม้เนยถั่วจะมีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เนยถั่ว  มีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ อีก หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ก็จัดว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้แก่   ในการลดน้ำหนัก -  การบริโภคถั่วช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักให้คงที่  เพราะถั่ว หรืออาหารจากถั่วอย่างเนยถั่ว อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน และไฟเบอร์ จึงทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น

 

 

บำรุงหัวใจ- เนยถั่วมีสารอาหารมากมายที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เช่น  กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว , กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน   ไนอะซิน หรือวิตามินบี 3 วิตามินอี  แมกนีเซียม  การบริโภคถั่วในปริมาณมาก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคอื่นๆ ได้ เนยถั่วจึงถือเป็นตัวเลือกในการเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ

 

 

ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเต้านม -   การบริโภคเนยถั่วเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่กินเนยถั่วตั้งแต่วัยรุ่น อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนที่เต้านม ที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสาร Breast Cancer Research and Treatment พบว่า   การบริโภคเนยถั่วและถั่วชนิดต่างๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนที่เต้านม ในช่วงวัย 30  ปีขึ้นไป  และแม้แต่ผู้หญิงที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม ก็พบว่าความเสี่ยงลดลงเช่นกัน

 

 

" เนยถั่ว" อร่อยและประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา

 

 

" เนยถั่ว" อร่อยและประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา

 

 

 

 

เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนยถั่วให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ   จัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด  -  เนยถั่วจัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตต่ำ อุดมไปด้วยไขมันดี และโปรตีน มีไฟเบอร์  หากเป็นเนยถั่วแบบไม่เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวาน จะดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด เป็นตัวเลือกที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ  -  สารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน หรือภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุล  ซึ่งนำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ ได้มากมาย สารต้านอิสระที่พบได้มากในเนยถั่ว ได้แก่ เรสเวอราทรอล  ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้

 

เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ  การบริโภคเนยถั่วให้ดีต่อสุขภาพ คือ ต้องบริโภคแต่พอดี และสูตรในการผลิตที่เหมาะสม เนยถั่ว ชนิดที่เติมน้ำตาลหรือเติมเกลือมากไป  การบริโภคมากไป   อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ผู้บริโภค ควรเลือกซื้อเนยถั่วที่ทำจากถั่วลิสง หรือใส่ส่วนผสมอื่นน้อยที่สุด   ควรหลีกเลี่ยงเนยถั่วที่เติมน้ำตาล เกลือ หรือน้ำมัน   หากอยากได้รสหวาน อาจเติมน้ำผึ้งเล็กน้อยแทน   

 

 

เนยถั่ว  จัดเป็นอาหารที่มีแคลอรี่สูง  ควรบริโภคแต่พอดี เพราะมากเกินไปอาจทำให้ปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมในร่างกายสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพโดยรวม   ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสงหรือถั่วอื่นๆ ไม่ควรบริโภคเพื่อป้องกันอาการแพ้ ซึ่งอาจเป็นอันตราย

 

" เนยถั่ว" อร่อยและประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา

 

 

 

" เนยถั่ว" อร่อยและประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา

 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก 

https://www.gourmetandcuisine.com/stories/detail/712
https://hellokhunmor.com/

 

ภาพประกอบจาก 

https://pixabay.com/th/

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ