ข่าว

เปิดใจ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯกับมาตรการเยียยาเกษตรกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดใจ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ กับมาตรการเยียยาเกษตรกรประสบอุทกภัย

              เกษตรฯ เตรียมเสนอของบครม.จัดซื้อเมล็ดพันธ์ข้าว อีก 3,000 ล้านบาท สัปดาห์หน้าเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย หลังสำรวจพบนาข้าวเสียหายกว่า 3 ล้านไร่ นอกจากนี้ยังแจกพันธุ์ปลาช่วยเกษตรกรอีก 5 หมื่นราย เตรียมเสนอครม.ปรับหลักเกณฑ์จ่ายเงินชดเชยใหม่ให้เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน พร้อมวางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งระยะยาว ด้วยการขุดลอกเขื่อน อ่างเก้บน้ำและฝายทั่วประเทศเพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำ โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการปีงบประมาณ 2564

เปิดใจ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯกับมาตรการเยียยาเกษตรกร

                                                   เฉลิมชัย ศรีอ่อน  รมว.เกษตรฯ

        “สัปดาห์หน้าผมจะนำเรื่องเสนอ ต่อ ครม. อีกครั้ง เพื่อของบประมาณจากรัฐบาลในการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว แจกจ่ายให้ชาวบ้านได้ปลูกข้าวได้ทันทีหลังน้ำลด ซึ่งตอนนี้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่เสียหายทั้งหมดตอนนี้มันเท่าไหร่ เพราะที่ผ่านมาเจอทั้งแล้ง และน้ำท่วม สัปดาห์นี้เลยไม่ทัน ต้องเลื่อนออกไปอีก แต่ยืนยันว่าจะเร่งแจกให้เร็วที่สุด" 

           เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวกับคณะกรรมการบริหารสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย(สกท.) นำโดย อ.ถวิล สุวรรณมณี นายกสมาคมฯในโอกาสเทียบเชิญมาเป็นประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษ“เกษตรไทยเกษตรโลก”ในงานครบรอบ 12 ปีสมาคมฯในวันที่ 7 พฤษจิกายนนี้ โดยยืนยันว่าสัปดาห์หน้ากระทรวงเกษตรฯ จะเสนอของบประมาณจากครม.อีก 3,000 ล้านบาท เพื่อเร่งรัดจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ที่สามารถปลูกทดแทนพื้นที่เสียหายได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะเน้นแจกในพื้นที่ที่พร้อมสามารถปลูกได้ทันทีหลังสถานการณ์น้ำลด 

         ทั้งนี้จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า พื้นที่นาข้าวกว่า 3 ล้านไร่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ขณะนี้ ตนได้สั่งการให้มีการสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้ง เนื่องจากก่อนที่จะประสบปัญหาน้ำท่วม ได้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงต่อเนื่อง ทำให้นาข้าวเสียหายจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องสำรวจให้ชัดเจนก่อน เร่งรัดแจกเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้กับเกษตรกร เพื่อปลูกทดแทนพื้นที่เสียหายต่อไป  

         โดยจะแจกจ่ายตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ และเป็นไปตามระเบียบการช่วยเหลือของทางราชการที่กำหนด ในส่วนพื้นที่ไหน ที่ปลูกได้ก็ปลูกให้ทัน ส่วนพื้นที่ไหนปลูกไม่ได้ก็ต้องปลูกพืชระยะสั้นอย่างอื่นทดแทนไปก่อน ซึ่งก็มีทั้งถั่วเขียวและข้าวโพด โดยทางกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมพร้อมเรื่องของการตลาดรองรับไว้แล้ว และมีการประกันการรับซื้อชัดเจน คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรระยะสั้นได้ 

         "มาตรการรวมในวันนี้เป็นการเข้าไปดูแลในส่วนของการให้เงินชดเชยครัวเรือนละ 5,000 บาท ซึ่งเราได้มีมติครม.ไปแล้วในส่วนของการเงินที่ได้รับการชดเชยที่เสียหายทั้งหมดหรือบางส่วนสำหรับบ้านเรือน ในส่วนของภาคการเกษตร ส่วนหนึ่งเราได้สำรวจมาตั้งแต่ภัยแล้งแล้วมาคร่อมกับน้ำท่วม  การสำรวจความเสียหายจะได้อย่างใดอย่างหนึ่งเพราะเสียหายครั้งเดัียว อาจจะช้านิดนึงแต่ว่าไม่นานหรอก  ซึ่งก็จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด"

เปิดใจ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯกับมาตรการเยียยาเกษตรกร

         ส่วนเงินชดเชยต้องได้ตามสิทธิ์อยู่แล้ว นาข้าว 1,113 บาทต่อไร่ พืชไร่ 1,148 บาทต่อไร่และพืชสวน 1,600 บาทต่อไร่  ขณะเดียวกันก็ได้คุยกับนายกรัฐมนตรีถึงการปรับเปลี่ยนเงินชดเชยใหม่ให้เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน ซึงนายกรัฐมนตรีก็รับปากว่าจะเร่งดำเนินการ โดยจะตั้งคณะกรรมการฯขึ้นมาเพื่อพิจารณาในประเด็นดังกล่าว 

        "เงินชดเชยน่าจะมีการปรับราคาสักที มันนานแล้วควรเอาตามสภาพความเป็นจริง แต่การปรับมันก็มีระเบียบอยู่ไม่ใช่ปรับตามอำเภอใจนึกจะปรับก็ปรับเลยได้ มันต้องมีคณะทำงานขึ้นมา ซึ่งตรงนี้ผมก็เสนอท่านนายกฯไปแล้วว่ามันควรจะดูให้เหมาะสมตามความเป็นจริง" 

        นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ยังมีการส่งเสริมเลี้ยงโคขุน และโคเนื้อส่งออกระยะสั้น รวมทั้งการส่งเสริมการเลี้ยงแพะบางส่วน ขณะนี้กำลังจัดทำรายละเอียด และปรับแนวทางให้สอดคล้องในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะนำเสนอของบประมาณต่อครม.พร้อมกันทั้งหมดในสัปดาห์หน้าด้วย โดยทั้งหมดเป็นการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรหลังน้ำลดที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการชดเชยความเสียหายของพืชผลทางเกษตร และปศุสัตว์ที่เป็นไปตามสิทธิและระเบียบความช่วยเหลือของทางราชการที่มีอยู่แล้ว  

เปิดใจ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯกับมาตรการเยียยาเกษตรกร

      อย่างไรก็ตามในส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในระยะยาว รมว.เกษตรฯยังให้แนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่เก็บกักน้ำในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝ่ายและแก้มลิงต่าง ๆ ทั่วประเทศที่เกิดจากตะกอนทับถมจนตื้นเขินจะต้องมีการขุดลอดครั้งใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่ปริมาณเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสำรวจและแนวทางการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเสนอของบประมาณในปี 2564 ในขณะที่งบประมาณปี 2563 นั้นคงไม่ทันแล้ว

       "ตอนนี้ผมสั่งให้สำรวจทั่วประเทศทุกลุ่มน้ำ เพราะเขื่อน อ่างหรือฝายต่าง ๆ เหล่านี้สร้างมาเป็น 20-30 ปีแล้ว  น้ำมีแค่ 20-30%ของควมจุ เพราะฉะนั้นจะต้องกวาดตะกอนเหล่านี้ออกไปเพื่อให้ความจุกลับคืนมาอย่างน้อยก็เพิ่มขึ้นมาสัก 20% ก็เป็นการเพิ่มในสิ่งที่เรามีโดยไม่ต้องไปมีผลกระทบกับชาวบ้าน แต่ในระยะยาวเราก็ทำอยู่แล้ว   เบื้องต้นทำในสิ่งที่ง่ายที่สุด เร็วที่สุดก่อน"  

   

       รมว.เกษตรฯยังกล่าวถึงการปรับโครงสร้างการเกษตรยุคใหม่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการแปลงเกษตรผ่านเกษตรกรรุ่นใหม่หรือยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เนื่องจากเกษตรกรกลุ่มนี้มีความพร้อมและมีพื้นฐานทางเทคโนโลยีการเกษตร ที่พร้อมพัฒนาก้าวไปสู่นักธุรกิจการเกษตรในอนาคตต่อไป

       "วันนี้เรามีนวัตกรรมเทคโนโลยีมากมาย แต่ต้องมีคนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง คนที่จะเข้ามาอยู่ตรงนี้จะต้องมีพื้นฐานที่มีส่วนนำไปต่อยอด การทำตรงนี้ถ้าเกษตรกรเขามีพื้นฐานรับรู้ได้ ต่อยอดได้ มันจะไปได้ไว วันนี้ผมมาจับสมาร์ทฟาร์มเมอร์เป็นหลัก ผมจะทำให้ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์เป็นจุดเปลี่ยนของเกษตรกรไทยที่ไม่ยึดติดในรูปแบบเดิม ๆ ที่ทำการเกษตรแบบไม่มีอนาคต ถ้าคุณทำเกษตรในรูปแบบใหม่คุณก็สามารถเป็นนักธุรกิจได้ เกษตรกรก็เป็นพ่อค้าเองได้ เป็นนักธุรกิจได้"เฉลิมชัยกล่าวย้ำทิ้งท้าย

       นับเป็นอีกก้าวของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯในการเร่งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยจากพายุสองลูกใหญ่“โพดุลและคาจิกิ”ที่พัดผ่านประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-"เฉลิมชัย ศรีอ่อน"นั่งเลขาฯพรรคปชป.คนใหม่
-นายกฯเตรียมลงพื้นที่อุบลฯรอบ 2
-"เฉลิมชัย"ลุยอีสานแก้แล้งทุ่งกุลา
-เช็กกำลัง ปชป. "52 ส.ส." ก๊กไหนใหญ่สุด

                                                             

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ