ข่าว

ยกระดับ "แปลงใหญ่หม่อนไหม" ด้วยเกษตรสมัยใหม่ สร้างรายได้ 9.18 ล้านบาทต่อปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แปลงใหญ่หม่อนไหมรุ่งเรือง เมืองเพชรบูรณ์ ยกระดับ "แปลงใหญ่" ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด สร้างรายได้กลุ่ม 9.18 ล้านบาทต่อปี

ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เปิดเผยถึงผลติดตามโครงการ "ยกระดับแปลงใหญ่" ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดของ "กลุ่มแปลงใหญ่หม่อนไหมรุ่งเรือง" ต.คลองกระจัง อ.ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีกรมหม่อนไหม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยทางกลุ่มได้เข้าร่วมโครงการเมื่อปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณสนับสนุน จำนวน 2.87  ล้านบาท ในการก่อสร้างอาคารเก็บผลผลิตเพื่อรอจำหน่าย โรงเรือนอุปกรณ์การเลี้ยงไหม อาคารห้องประชุมและห้องสำหรับถ่ายทอดความรู้ และปัจจัยการผลิตในการ "ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม"

      ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

จากการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ โดยศูนย์ประเมินผล สศก. พบว่า กลุ่มแปลงใหญ่หม่อนไหมรุ่งเรืองมีนางนพมาศ มูลสุวรรณ เป็นผู้จัดการแปลง เกษตรกรสมาชิก 30 ราย พื้นที่ 312 ไร่ โดยงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน ส่งผลให้ทางกลุ่มฯ  มีรายได้จากการเลี้ยงไหมในโรงเรือนด้วยกล่องขนาดความจุ 3 กล่อง รวมตัวไหม 120,000 ตัว (เฉลี่ยกล่องละ 40,000 ตัว)

      โรงเรือนอุปกรณ์การเลี้ยงไหม

 

ในระยะเวลา 1 ปี สามารถเลี้ยงหมุนเวียนได้ 6 รอบการผลิตคิดเป็นผลผลิตไหมรวม 900 กิโลกรัมต่อโรงเรือนต่อปี ราคาจำหน่ายรังไหมเฉลี่ย 200 บาทต่อกิโลกรัม สร้างรายได้ให้กับกลุ่มฯ รวมกว่า 180,000 บาทต่อปี ซึ่งผลผลิตจะจำหน่ายให้กับบริษัท จุลไหมไทย จำกัด ทั้งหมด 

    รังไหม

 

นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มฯ ยังทำการผลิตรังไหมในครัวเรือนตนเองและมีการรวบรวมผลผลิตรังไหมจากเกษตรกรในกลุ่มนำไปจำหน่ายรวมกัน ประหยัดต้นทุนค่าขนส่งโดยส่งจำหน่ายให้กับบริษัท จุลไหมไทย จำกัด  ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 300,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปีหรือคิดเป็นรายได้รวมของทุกครัวเรือนเฉลี่ย 9,000,000  บาทต่อปี ทั้งนี้เมื่อคิดเป็นรายได้ทั้งหมดของกลุ่มทั้งจากผลผลิตในโรงเรือนและรายได้ของแต่ละครัวเรือนสมาชิกจะสามารถสร้างรายได้รวมทั้งสิ้น 9,180,000 บาทต่อปี

 

หลังจากการเข้าร่วมโครงการฯ ทาง "กลุ่มแปลงใหญ่หม่อนไหมรุ่งเรือง" ได้ยกระดับเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หม่อนไหมรุ่งเรือง ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2564 อีกทั้งยังพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับเกษตรกรผู้สนใจเข้ามาศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

ติดตามกระแสโซเชียลเพิ่มเติมhttps://www.facebook.com/komchadluek/

ปัจจุบันมีเกษตรกรสนใจเข้ามาเรียนรู้ในทุก ๆ ปี รวมแล้ว 6 รุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นใช้เวลาเรียนประมาณ 20 วันเป็นการต่อยอดอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งในชุมชนและนอกชุมชนได้อย่างยั่งยืน  ดร.ทัศนีย์ กล่าวทิ้งท้าย 

 

ติดตามข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม https://www.komchadluek.net/
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ