ข่าว

เสี่ยงภัยไร้ค่าตอบแทน "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" ครู- นร.ออนไซต์ที่รร. คุ้มไหม

เสี่ยงภัยไร้ค่าตอบแทน "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" ครู นักเรียน ออนไซต์ที่โรงเรียน คุ้มไหม เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ภัยพิบัติ จากโควิด-19 โดยไม่มีเงินค่าตอบแทนค่าเสี่ยงภัย เหมือนกระทรวงอื่น

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างหนักและยาวนานกว่าภัยพิบัติใดๆ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โควิด-19 ส่งผลกระทบทุกวงการ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยแต่ ครู-นักเรียน ออนไซต์ที่โรงเรียน แต่ไร้ “ค่าเสี่ยงภัยโควิด”  

 

ต่างก็ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยแตกต่างกันไป ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความเห็นของแพทย์หลายท่านว่า โควิด-19 ควรกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้แล้ว 

 

แต่เพียงไม่กี่วันก็ต้องหยุดคิดใหม่ โควิด-19 ควรเป็นเพียงโรคติตต่อทั่วไป ไม่ใช่โรคประจำถิ่น ส่วนหนึ่งมีเหตุผลมาจากในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลทุ่มเท ทั้งกำลังและงบประมาณให้กับการแก้สถานการณ์โควิด-19 เป็นจำนวนมาก และยังมีผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่ระหว่างการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยอีกพอสมควร

มีบางกระทรวงได้ใช้โอกาสดังกล่าวขอบรรจุข้าราชการจำมากในคราวเดียว มากกว่ากระทรวงอื่นทุกกระทรวง และยังใช้โอกาสในช่วงสุดท้ายขอเพิ่มจำนวนข้าราชการที่จะบรรจุด้วยเหตุโควิด-19 จำนวนหลายหมื่นอัตรา ในช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 

 

นับเป็นนาทีทองของข้าราชการกระทรวงดังกล่าว ได้รับทั้งค่าตอบแทน "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" ด้วยเหตุที่ไม่มีข้าราชการกระทรวงอื่นปฏิบัติงานแทนได้ 

 

เชื่อหรือไม่ว่า ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19 ได้รับ “ค่าเสี่ยงภัยโควิด” วันละ 1,000 บาทขึ้นไป แม้ปฏิบัติงานในห้างหรูกลางเมืองก็ตาม ทำให้นึกถึงข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าได้รับ “ค่าเสี่ยงภัย” กันวันละกี่บาท

 

ย้อนกลับมาถึงระบบการศึกษาไทย ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลแต่อย่างใด แต่ใช้วิธีการที่เหมือนกับไม่มีมาตรฐานกับโรงเรียนและนักเรียน ที่ต่างก็อ้างว่า เป็นอนาคตของชาติ 

ไม่ว่าจะมีใครป่วยที่ไหน ใครติดเชื้อ สถานที่ที่ต้องปิดอันดับแรก คือ โรงเรียน โดยอ้างความเสี่ยงภัย จนกระทั่งเวลาผ่านไป 2 ปี เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมา 2 คน จึงรู้ว่า “ที่ผ่านมาการปิดประเทศ lock down นำมาสู่การปิดโรงเรียน ทำให้เด็กสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ 

 

กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จึงต้องจัดรูปแบบการศึกษาที่หลากหลาย แต่ที่สุดแล้ว ศธ.ก็พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือ การมาโรงเรียน  หรือเรียนออนไซด์ ดังนั้น การปิดโรงเรียนจึงไม่ใช่มาตรการหลักของเรา” นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ กล่าว เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการเสวนา โอมิครอน ร้ายจริงหรือ? ถึงต้องปิดโรงเรียน และกล่าวย้ำอีกครั้งในการตรวจเยี่ยมโรงเรียนเพลินพัฒนา เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565

 

2ปี ครู-นักเรียนสู้โควิด

ระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา ครูและนักเรียน ต้องทำการเรียนการสอน ด้วยความหวาดผวา ไม่ทราบว่า โรงเรียนจะโดนปิดเมื่อไหร่ บางโรงเรียนครูน้อย ไม่ครบชั้น ก็แย่พออยู่แล้วยังเปิดเรียนไม่ได้อีก เลยทำให้ยิ่งแย่ไปใหญ่ 

 

ในสถานการณ์ที่ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่น้อยกว่าใคร ขาดทั้งความรู้ ขาดทั้งอุปกรณ์ ขาดทั้งเครื่องมือ ในการป้องกันโรค แต่ก็ไม่ได้รับเงิน "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" เหมือนข้าราชการบางกระทรวง

 

ครูที่ไม่ครบชั้นก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาบรรจุเพิ่ม อาคารเรียน บ้านพักครู หรือแม้แต่เงินอาหารกลางวัน ก็ไม่เคยได้รับการพิจารณาเพิ่มให้จากภัยโควิด-19

 

1 ก.พ.ออนไซต์ทุกโรงเรียน

ในวันที่1 กุมภาพันธ์ 2565 คาดว่า โรงเรียนเกือบทั้งหมด ทั่วประเทศ จะเปิดทำการเรียนการสอนแบบ On-site (ออนไซต์)โดยปราศจากอัตราบรรจุใหม่ และ "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" แม้ว่า ทางผู้บังคับบัญชาระดับสูง บอกว่า เรามีแผนเผชิญเหตุของทุกโรงเรียน ที่ออกแบบไว้เป็นอย่างดี พร้อมปฏิบัติตามเมื่อพบนักเรียนป่วย หรือคาดว่า ติดเชื้อ

 

เวลานี้ ทุกสายตา จับจ้องมาที่ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.รร.) ที่เป็นผู้ปฏิบัติจริง สั่งการจริง

 

อำนาจทุกอย่างมอบให้ผอ.รร.แล้ว ถึงเวลาต้องพิสูจน์ สิ่งที่เรียกร้องกันมานาน ขอให้โรงเรียนเป็นเอกเทศ บริหารงานแบบนิติบุคคล ถึงเวลาแล้ว พิสูจน์ให้สังคมไทยได้รู้ว่า ครูทำได้ โรงเรียนทำได้จริง

ข่าวยอดนิยม