ปคบ. จับผลิตภัณฑ์แคปซูล "สมุนไพรจีน" ปลอม เตือนบริโภคเสี่ยงอันตราย
อย. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. แถลงจับผลิตภัณฑ์แคปซูล "สมุนไพรจีน" ปลอม ชี้หากประชาชนนำไปบริโภค เสี่ยงเป็นอันตราย
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) พล.ต.ต. ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก. ปคบ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข และรักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมแถลงผลการจับกุมผลิตภัณฑ์ "สมุนไพรจีน" ปลอม และมีการระบุว่าป้องกันโควิด-19 ผิดกฎหมาย เช่น ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร แคปซูล , เครื่องมือแพทย์ประเภทชุด PPE , เครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหลายรายการ
ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ของกลางที่นำมาโชว์วันนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ยา "สมุนไพรจีน" ปลอม ที่มีผู้ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ หรือทำปลอมขึ้นมา ซึ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ต้องจำหน่ายโดยบริษัทที่ถูกต้องตามกฏหมายเท่านั้น ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ของกลางที่วางโชว์ในวันนี้ นำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อ้วกจะแตก ตม.ลุยสอบ ต่างชาติทำ "ขนมปังเท้าเหยียบ"
- "หมอปลา" แจ้งกองปราบ แฉยับ ตำรวจเอี่ยวผลประโยชน์ ศูนย์บำบัดยานรก
- สาวปากน้ำแฉ "เหยื่อแท็กซี่" พม่าจอมหื่น โวยถูกพูดจาแทะโลม
- "ชนแล้วหนี" เก๋งปริศนา ซิ่งขยี้ จยย. ส.ต.ต.สาหัส ตำรวจเร่งตรวจวงจรปิดล่า
- ยกเลิก "เคอร์ฟิว" ไม่เป็นผล ตำรวจเล็งดำเนินคดี ม็อบป่วนกรุง
โดยมีข้อแตกต่างคือ ผลิตภัณฑ์ของแท้ต้องมีฉลากยาภาษาไทย การจำหน่ายต้องจำหน่ายโดยผู้ที่มีใบอนุญาติขายยา สามารถสั่งซื้อยา โดยผู้นำเข้าที่ถูกต้อง ถ้าซื้อผ่านทางออนไลน์ อาจจะได้ผลิตภัณฑ์ "สมุนไพรจีน" โดยไม่มีฉลากยาภาษาไทย แสดงว่าเป็นของปลอม
ที่สำคัญคือ ผลิตภัณฑ์ยา "สมุนไพรจีน" ปลอม ไม่มีฉลากภาษาไทย ต้องระวัง เพราะอาจจะได้สินค้าที่ไม่ได้มาตราฐาน ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโควิด ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ ฉะนั้นจะต้องซื้อจากผู้ได้รับอนุญาตินำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซื้อแล้วมีฉลากภาษาไทยถูกต้อง มีผู้รับผิดชอบในกรณีที่สินค้าไม่ได้มาตราฐาน และซื้อผ่านช่องทางที่บริษัทกำหนด
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ยา "สมุนไพรจีน"ปลอม ที่นำมาแถลงข่าว จะส่งตรวจวิเคราะห์ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเปรียบเทียบกับตัวยาที่มีใบอนุญาติขายในประเทศไทย เบื้องต้นผู้ที่นำมาขาย พบว่าไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีใบอนุญาตในการขาย ผิดกฏหมายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตการขายยา คนอื่นที่นำมาขาย และไม่มีทะเบียน อย. ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ "สมุนไพรจีน" ปลอม ของกลางก็จะเก็บไว้ จนกว่าคดีจะสิ้นสุด และจะนำไปทำลายต่อไป โดยจะมีการทำลายของกลาง อย่างน้อยปีล่ะ 1 ครั้ง