ข่าว

ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ "ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่"ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

การนำสื่อมวลชนในทุกแขนงกว่า 50 ชีวิตลงพื้นที่ดูความสำเร็จของโครงการสินเชื่อธุรกิจสร้างไทยหรือเรียกสั้น ๆ ว่าโครงการล้านละร้อยในพื้นที่อ.ขนอมและอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช พร้อมแถลงข่าวการขับเคลื่อนนโยบายของผู้จัดการธกส.คนใหม่”ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์”ในระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา
นอกจากมุ่งสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม เสริมเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อรองรับกับการแข่งขันและการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนแล้วยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส.อีกด้วย
“ธ.ก.ส.ยังคงมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ที่ธนาคารวางไว้คือเป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” แต่จะปรับวิธีหรือกระบวนการทำงาน  เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการดูแลเกษตรกรลูกค้าให้สามารถยืนอยู่ได้ อย่างมั่นคง ยั่งยืน ผ่านมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ”

ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ \"ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์\" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

                             นางบุญพา  เกลี้ยงขำ  เจ้าของนายฟาร์มแพะ

     ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ \"ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์\" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

บางช่วงบางตอนที่”ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์” ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่แถลงถึงนโยบายการขับเคลื่อน ธ.ก.ส. นับจากนี้ไปในฐานะผู้นำองค์กรคนใหม่  โดยมุ่งเป้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ (New Gen /Smart Farmer / Entrepreneur)) ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านการตลาด  ให้เข้ามาต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน       
ขณะเดียวกันต้องเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่มีภาระหนักด้านหนี้สิน โดยกำหนดให้พนักงานสาขาเข้าไปพบลูกค้าทุกรายเพื่อตรวจสุขภาพหนี้และประเมินศักยภาพ (Loan Review) หากพบว่าลูกค้ายังมีศักยภาพ จะแนะนำให้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น หรือชำระหนี้ให้สอดคล้องกับที่มาของรายได้ กรณีลูกค้าไม่มีศักยภาพ จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Loan Management) ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูอาชีพให้กับลูกค้า เพื่อสร้างที่มาแห่งรายได้หรือเพิ่มเติมทุนใหม่ต่อไป
ส่วนการขับเคลื่อนงานพัฒนาชนบทนั้น  ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ย้ำว่าจะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เน้นดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน  การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด

มีการจัดการด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
โดยเน้นความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค  การเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริหารจัดการทางการตลาด

เช่น การเชื่อมโยงตลาด Social Commerce การส่งเสริมระบบการตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าบนระบบ Blockchain  การพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน 
ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่เผยต่อไปว่า นอกจากนี้ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคาร (Digital Workplace) การนำ Fin Tech มาใช้ผ่าน Digital Banking เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวกสบาย ช่วยลดต้นทุนและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

เช่น การรับชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน Alipay ผ่านแอปพลิเคชั่นร้านน้องหอมจัง ซึ่งเป็นการเชื่อมระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินให้กับลูกค้าและ โครงการ ATM White Label ระบบเอทีเอ็มกลางที่รับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของทุกธนาคาร  ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้บริการตู้เอทีเอ็มระหว่างธนาคารหรือข้ามเขต   
สำหรับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ธนารัตน์ย้ำว่าเป็นอีกนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านโครงการสินเชื่อธุรกิจสร้างไทยหรือโครงการล้านละร้อยเป็น โดยเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกู้มาสร้างอาชีพเป็นระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันกู้ โดยตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปจะคิดอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร โดยกำหนดชำระคืนเงินกู้กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี (พิเศษไม่เกิน 20 ปี) นับแต่วันที่กู้ ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 รวมวงเงินสินเชื่อรวม 50,000 ล้านบาท
อย่างเช่นวิสากิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า ต.บ้านเขาน้อย อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ที่มี”จารึก เพ็ชรด้วง”(08-7908-0227)เป็นประธาน ก็เป็นอีกกลุ่มอาชีพที่ประสบความสำเร็จผ่านโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทยหรือโครงการล้านละร้อยที่กู้เงินธ.ก.ส.เพื่อดำเนินกิจกรรมการผลิตแพะครบวงจร ตั้งแต่การผลิตลูก การขุนแพะและการแปรรูปเพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศอีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากมูลแพะมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายและนำมาใส่สวนปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกอีกด้วย
 “บุญพา เกลี้ยงขำ” เจ้าของนายฟาร์ม ม.5 ต.บ้านเขาน้อย อ.สิชล ซึ่งเป็นสมาชิกวิสากิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้าบอกว่าเริ่มเลี้ยงแพะมากว่า 2 ปีแล้ว เริ่มจากทำเป็นอาชีพเสริมที่ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพและรายได้หลักให้กับครอบครัว เหตุเพราะว่ามีรายได้จากการจำหน่ายแพะเกือบทุกเดือน เฉลี่ยเดือนละ 2-3 ตัว ทำให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2-4 หมื่นบาท
“อาชีพหลักทำสวนปาล์มและสวนผลไม้ เพิ่งเลี้ยงแพะมาได้ 2 ปี เป็นแพะเนื้อ เมื่อเห็นว่ามีรายได้ดีก็เลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้มีอยู่ 75 ตัว ถ้าเป็นแพะตัวเมียก็จะเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ ส่วนตัวผู้ก็จะขุนขาย แพะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-6 เดือนนับตั้งแต่เกิดออกมาจนขาย ส่วนอาหารก็จะใช้ทางปาล์มสับบผสมหญ้าเนเปียร์   ส่วนราคาขายจะอยู่ที่กิโลละ 140-160 บาท ตามขนาดน้ำหนัก 35-40 กิโลต่อตัว ขายได้เฉลี่ยตัวละ 1.8-2.2 หมื่นบาทจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงฟาร์ม”บุญพาเผย 
ส่วนโรคระบาดในแพะนั้น เธอระบุว่าเท่าที่เลี้ยงมายังไม่มีปัญหา เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแพะแบบขังคอกยกระดับสูงจากพื้นประมาณ 1-2 เมตร ไม่ใช่การเลี้ยงแบบปล่อย จึงไม่มีปัญหาเรื่องโรคระบาดแต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็มีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยมูลแพะส่วนหนึ่งก็นำมาใช้ใส่สวนปาล์ม สวนผลไม้อีกด้วย
เช่นเดียวกัน”ธีรวีย์ ตันติพงศ์”หรือเก้า(09-1549-9546) เจ้าของมาดาวี ฟาร์ม คนหนุ่มรุ่นใหม่ นักเรียนนอก จบปริญญาโทด้านการเงินจากสหรัฐอเมริกาหันมาเอาดีอาชีพเลี้ยงแพะและทำเกษตรครบวงจร ภายใต้ชื่อมาดาวี ฟาร์ม  ซึ่งเป็นฟาร์มอินทรีย์ โดยผลผลิตหลักส่งห้างโมเดิร์นเทรดในจ.นครศรีฯและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นอีกหนึ่งสมาชิกวิสากิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้าที่เป็นคนรุ่นใหม่หรือยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ในฐานะแกนนำหลักของกลุ่ม
ปัจจุบันมาดาวี ฟาร์ม นอกจากเลี้ยงแพะครบวงจร ซึ่งมีอยู่กว่า 700 ตัวแล้วยังเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี ปลูกผักเควและผักสลัดอีกหลายชนิด โดยใช้ปุ๋ยจากมูลแพะ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้นำรุ่นใหม่คนสำคัญที่ดูแลด้านการตลาดให้กับสมาชิกของกลุ่ม  โดยมีทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ จำหน่ายผลผลิตหน้าฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันผลผลิตจากกลุ่มมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะแพะขุน
นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จของธ.ก.ส.ในการสนองนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของเกษตรสมาชิก

ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ \"ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์\" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

                                 นายธีรวีย์  ตันติพงศ์  เจ้าของมาดาวี ฟาร์ม
          ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ \"ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์\" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า


 

ส่องวิสัยทัศน์ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ \"ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์\" ผ่านกลุ่มเลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ