ข่าว

"ยาเรมเดซิเวียร์" ช่วยผู้ป่วยโรคโควิด-19 อาการรุนแรง ฟื้นตัวเร็วขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ฟื้นตัวเร็วกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาหลอก (placebo)

 

               วอชิงตัน, 29 เมษายน 2563 (ซินหัว) - เมื่อวันพุธ (29 เม.ย.) สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ (NIAID) รายงานว่า ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ที่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับปอด ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ฟื้นตัวเร็วกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาหลอก (placebo)

อ่านข่าว - โควิด-19 ระบาดหนักในเรือนจำสหรัฐฯ ป่วยพุ่ง 1.6 พัน ดับ 30

 

 

 

               ผลวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นนี้ มาจากการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 1,063 ราย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา

               ผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเรมเดซิเวียร์ใช้เวลาในการฟื้นตัวเร็วกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกร้อยละ 31 โดยเวลาเฉลี่ยในการฟื้นตัวของผู้ที่ได้รับยาเรมเดซิเวียร์อยู่ที่ 11 วัน ส่วนผู้ที่ได้รับยาหลอกอยู่ที่ 15 วัน

               ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นข้อดีว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับยาเรมเดซิเวียร์อยู่ที่ร้อยละ 8 ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกอยู่ที่ร้อยละ 11.6

               คณะกรรมการผู้รับผิดชอบการตรวจสอบข้อมูลและความปลอดภัยได้เข้ามากำกับดูแลการทดลองนี้ เมื่อวันที่ 27 เม.ย. เพื่อตรวจสอบข้อมูลและแบ่งปันการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการศึกษากับคณะผู้วิจัย

 

 

 

               หลังตรวจสอบข้อมูล สมาชิกคณะกรรมการฯ ระบุว่า ยาเรมเดซิเวียร์มีประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอกในแง่ของการบรรลุจุดยุติปฐมภูมิ (primary endpoint) และเวลาในการฟื้นตัวของผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มักใช้กับการทดลองไข้หวัดใหญ่

               สถาบันฯ เผยว่า ผู้เข้าร่วมทดลองรายแรกเป็นชาวสหรัฐฯ ที่ถูกส่งตัวกลับมาหลังกักตัวบนเรือสำราญไดมอนด์ ปรินเซส (Diamond Princess) ที่จอดเทียบท่าในเมืองโยโกฮามาของญี่ปุ่น โดยผู้ป่วยรายนี้อาสาเข้าร่วมการทดลองที่สถานที่ทำวิจัยแห่งแรกของศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสกา (UNMC) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

               รายงาน ระบุว่า การศึกษาครั้งนี้มีสถานที่ทำวิจัยวิจัยเข้าร่วมทั้งหมด 68 แห่ง แบ่งเป็นในสหรัฐฯ 47 แห่ง และในประเทศแถบยุโรปและเอเชียอีก 21 แห่ง

 

 

 

               การทดลองครั้งนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ เป็นการทดลองทางคลินิกครั้งแรกในสหรัฐฯ เพื่อประเมินผลการรักษาในขั้นทดลองสำหรับโรคโควิด-19

               ด้านบริษัทกิเลียด ไซแอนซ์ (Gilead Sciences) บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์สัญชาติสหรัฐฯ ก็ได้ประกาศผลการทดลองเบื้องต้นระยะที่ 3 ของการทดลองใช้ยาเรมเดซิเวียร์ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมากกว่าครึ่งในกลุ่มที่ใช้เวลารักษานาน 5 วัน และ 10 วัน ล้วนได้รับการปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาลหลังผ่านไป 2 สัปดาห์

               บริษัทฯ ระบุว่า การทดลองครั้งนี้ประเมินระยะเวลาการให้ยาเรมเดซิเวียร์ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงไว้ที่ 5 วัน และ 10 วัน โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาดังกล่าวเป็นเวลา 10 วัน มีผลสัมฤทธิ์ทางคลินิกที่ใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่ใช้เวลาในการรักษา 5 วัน

 

 

 

               “ณ วันที่ 14 ของการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ 64.5 ในกลุ่มที่รักษานาน 5 วัน และร้อยละ 53.8 ในกลุ่มที่รักษานาน 10 วัน เห็นผลในการฟื้นตัวทางคลินิก” บริษัทฯ แถลงพร้อมเสริมว่า ยังไม่พบสัญญาณความเสี่ยงใหม่ของยาเรมเดซิเวียร์ในการรักษาทั้งสองกลุ่ม

               ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ริเริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 จำนวน 2 รอบ เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาเรมเดซิเวียร์ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19

               ทั้งนี้ การศึกษาแบบสุ่ม แบบเปิด และแบบพหุสถาบันเหล่านี้ ได้เริ่มรับสมัครกลุ่มผู้ป่วยเข้าทดลองเมื่อเดือนมีนาคม และจะเปิดรับสมัครผู้ป่วยจากประเทศที่มีความชุกของโรคโควิด-19 ระดับสูง ทั้งหมดราว 1,000 ราย ให้เข้าร่วมในการทดลองระยะแรก

 

 

 

--------------------

ที่มา : xinhuathai.com

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ