ข่าว

"ดร.สุวินัย" แนะปชช.สวดคาถาชินบัญชร เพื่อเสริมสร้างเกราะป้องกันภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ท่ามกลางวิกฤตโควิด สำหรับชาวพุทธแล้ว จะมีคาถาไหนเหมาะสมที่สุดเท่ากับคาถาชินบัญชร

วันที่ 24 เม.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เฟซบุ๊ก ของ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้โพสต์ข้อความ  คาถาชินบัญชรเพื่อกายศักดิ์สิทธิ์ / สุวินัย ภรณวลัย

\"ดร.สุวินัย\" แนะปชช.สวดคาถาชินบัญชร เพื่อเสริมสร้างเกราะป้องกันภัย

ท่ามกลางวิกฤตโควิด สำหรับชาวพุทธแล้ว จะมีคาถาไหนเหมาะสมที่สุดเท่ากับคาถาชินบัญชร

ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่าบัญชร ซึ่งแปลว่า กรงหรือเกราะ

\"ดร.สุวินัย\" แนะปชช.สวดคาถาชินบัญชร เพื่อเสริมสร้างเกราะป้องกันภัย

ชินบัญชร จึงหมายถึง เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้าประดุจแผงเหล็กหรือเกาะเพชรที่แข็งแกร่ง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตราย และศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

 

คาถาชินบัญชรนี้มีเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่มีอายุยาวนานหลายร้อยปีเป็นอย่างต่ำ มีต้นกำเนิดมาจากลังกา แต่โด่งดังเป็นที่แพร่หลายในเมืองไทยเพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังนำมาเผยแพร่

 

คาถาชินบัญชรเป็นคาถาที่มีอานุภาพมาก เพราะเป็นคาถาที่อัญเชิญพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆอันเป็นเลิศให้ลงมาสถิตในทุกส่วนของร่างกายผู้สวด

 

รวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวผู้สวดภาวนาเพื่อให้ห่างไกลจากอันตรายทั้งปวง เสริมความเป็นสิริมงคล มีเมตตามหานิยม มีพลังพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ และมีคุณานุภาพตามแต่ผู้สวดภาวนาจะตั้งจิตปรารถนา

 

สมเด็จโตเคยกล่าวไว้ว่า "พระคาถาชินบัญชรนี้ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลานเพื่อปกป้องคุ้มครองภัย คือ กำจัดมารภายในหรือความกลัวเมื่อภาวนามากๆแช้ว เชือดโยมก็จะบริสุทธิ์เข้าถึงรสพระธรรมได้ง่าย เข้าถึงศีลได้ง่าย

 

แม้จะอยู่ในองค์ภาวนาก็ดี สาธยาย มนต์ก็ดี   ย่อมกำจัดสิ่งที่เป็นอวิชชาหรืออัปมงคลทั้งหลาย

 

ดังนั้น ผู้ใดจะสวดก็ดี ภาวนาในใจก็ดี ย่อมเป็นมงคล   ย่อมเกิดสมาธิ ย่อมเกิดญาณ ย่อมเกิดบารมี ..."

คาถาชินบัญชรเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์คาถาเดียวที่ตัวผมใช้ในการปลุกเสกทุกสิ่ง ทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ตัวผมผูกพันกับคาถาชินบัญชรมาเนิ่นนานแล้วบนเส้นทางฝึกจิตของผม

 

เมื่อ 25 ปีก่อน ตอนที่ตัวผมเริ่มหันเหเข้าสู่เส้นทางจิตวิญญาณอย่างเต็มตัว ผมเริ่มฝึกคาถาชินบัญชรเพื่อใช้ปลุกศักยภาพภายในตัวผม

ต่อมา ภายหลังจากที่ผมได้นั่งสมาธิต่อหน้าพระจักษุธาตุ และช่วยสร้างมหาเจดีย์ให้พระจักษุธาตุ พระอาจารย์ประจักษ์ซึ่งเป็นพระอริยะที่ดูแลพระจักษุธาตุ ได้เมตตามอบพระธาตุของพระอรหันต์เจ้าทุกพระองค์ที่ปรากฏนามในคาถาชินบัญชรให้ผมนำไปปฏิบัติบูชาผ่านคาถาชินบัญชร

 

หลังจากนั้นไม่นานสหายธรรมของผมในชมรมมังกรธรรมได้มอบสมเด็จโตปิดทองที่แกะจากต้นตะเคียนทองให้ผมบูชาที่เรือนมังกรซ่อน

หลังจากที่ผมช่วยท่านอาจารย์ในดงสร้างอาศรมเทพมังกรที่จังหวัดชัยภูมิ คาถาชินบัญชรเป็นคาถาที่ผมใช้ในการอัญเชิญแก้วเสด็จมาในดอกบัวที่อยู่ในบาตร รวมทั้งใช้ในพิธีกลืนแก้วและกลืนพระธาตุทอง

 

ปัจจุบัน ผมสวดคาถาชินบัญชรเพื่ออาบน้ำมนต์สลายกรรม และขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่มีผลกรรมสืบเนื่องกับตัวผมมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน

 

ผมไม่เคยลังเลสงสัยเลยแมัแต่น้อยว่า คาถาชินบัญชรเป็นคาถาเพื่อกายศักดิ์สิทธิ์ของคนกายสิทธิ์

 

ขอให้เราพิจราณาคำแปลคร่าวๆของคาถาชินบัญชรกัน

 

(1) ผู้สวดอัญเชิญพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์มาประทับอยู่เหนือเศียร

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่บนศีรษะ

พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง

พระสงฆ์อยู่ที่อก

 

(2) พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลาน์อยู่เบื้องซ้าย

พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

 

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่ที่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

พระโสภิตะอยู่ทุกเส้นขนตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

พระกุมาระกัสสะปะอยู่ที่ปาก

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะและพระสีวลี จงปรากฏเป็นกระแตะจุณเติมที่หน้าผาก

พระอสีติมหาเถระและเหล่าแปดสิบพระสาวกให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

 

(3) พระสูตรสำคัญๆอยู่เบื้องหน้า เบื้องขวา เบื้องซ้าย เบื้องหลัง รวมทั้งเบื้องบนดุจหลังคาอยู่บนอากาศ

 

(4) ผู้สวดอธิษฐานจิตภาวนาขอให้พลังแห่งพุทธคุณ คุ้มครองผู้สวดดุจกำแพงเจ็ดชั้น โรคภัยทั้งหลายจงพินาศ ชนะอันตรายและศัตรูทั้งปวงด้วยพุทธานุภาพตลอดกาลนานเทอญ

 

พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม

ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า

ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง   ธะนะกาโม ละเภธะนัง

อัตถิกาเย กายะ ญายะ   เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท

  1. ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
     
  2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง     มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
     
  3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.
     
  4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง  โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
     
  5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.
     
  6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว
     
  7. กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง     ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
     
  8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ        อุปาลี นันทะ สีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา       นะลาเต ติละกา มะมะ.
     
  9. เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา             ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ          อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
     
  10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ           ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ        วาเม อังคุลิมาละกัง
     
  11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ         เสสา ปาการะสัณฐิตา
     
  12. ชินา นานาวะระสังยุตตา       สัตตัปปาการะ ลังกะตา
    วาตะปิตตาทะสัญชาตา        พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
     
  13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
     
  14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ       เต มะหาปุริสาสะภา.
     
  15. อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ                     ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ                   ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ                   ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต         จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ