ข่าว

แล้งพ่นพิษทำลายเศรษฐกิจภาคเกษตรเสียหายแล้วกว่า 800 ล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ภัยแล้งทำลายเศรษฐกิจภาคเกษตรกว่า 800 ล้านบาท เสียหาย 15 จว. กรมชลฯระบุเขื่อนใหญ่ 14 แห่งน้ำใช้การวิกฤติต่ำกว่าร้อยละ 30

 

 

7 มกราคม 2563  ศูนย์ภัยพิบัติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยแล้งปี 62/63 รายงานสภาพอ่างน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำใช้การอยู่ในเกณฑ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 14 อ่างฯ 

 

ทั้งนี้ได้แก่ อ่างฯภูมิพล (18%) อ่างฯสิริกิติ์(29%) อ่างฯแม่กวงอุดมธารา (24%) อ่างฯแม่มอก (19%) อ่างฯจุฬาภรณ์ (6%) อ่างฯอุบลรัตน์ (-5%) อ่างฯลำพระเพลิง (14%) อ่างฯลำแซะ (29%) อ่างฯลำนางรอง (16%) อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ (23%) อ่างฯทับเสลา (14%) อ่างฯกระเสียว (8%) อ่างฯคลองสียัด (20%) และอ่างฯหนองปลาไหล (28%) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ของความจุอ่างฯ จ่านวน 2 อ่าง ได้แก่ อ่างฯสิรินธร (87%) และ อ่างฯศรีนครินทร์ (84%)

 

สภาพน้ำแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำวัง แม่น้ำยม มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑน้ำน้อย แม่น้ำมูล แม่น้ำบางประกง แมน้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยแม่น่้าโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 ปริมาณน้ำไหลผ่าน 228 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำ+17.38 ม.รทก.ต่ำกว่าตลิ่ง 8.82 เมตร


เขื่อนเจ้าพระยา สถานี C.13 ปริมาณน้ำไหลผ่าน 85 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน +14.16 ม.รทก.  ระดับน้ำท้ายเขื่อน +5.71 ม.รทก. รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก รวม 67 ลบ.ม./วินาที โดยผ่านคลองชัยนาท-ป่าสัก (ปตร.มโนรมย์) 65 ลบ.ม./วินาที คลองชัยนาท-อยุธยา (ปตร.มหาราช) 2 ลบ.ม./วินาที


แม่น้ำป่าสัก เขื่อนพระรามหก 5 ลบ.ม./วินาที  ) รับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ 17 ลบ.ม./วินาที ผ่านคลองระพีพัฒน์แยกตก (ปตร.พระศรีศิลป์) 2 ลบ.ม./วินาที และผ่านคลองระพีพัฒน์แยกใต้ (ปตร.พระศรีเสาวภาค) 2 ลบ.ม./วินาที รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก รวม 36 ลบ.ม./วินาที โดยผ่านคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง (ปตร.มะขามเฒ่า-อู่ทอง) ปิด ลบ.ม./วินาที แม่น้ำสุพรรณ (ปตร.พลเทพ) 20 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำน้อย (ปตร.บรมธาตุ) 16 ลบ.ม./วินาทีอ.บางไทร สถานี C.29A ปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลีย 92 ลบ.ม./วินาที (เมือวาน 91 ลบ.ม./วินาที)

 

กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ(ค่าความเค็ม) ในแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า ท่าน้ำนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ ท่าน้ำกรมชลประทานสามเสน (สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ท้ังนี้ กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยท่าการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา


สภาพอ่างน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (วันที 1 พ.ย.62 ถึง 30 เม.ย. 63) ณ วันที 1 พฤศจิกายน 2562 ปริมาตรน้ำต้นทนุ สามารถใช้การได้ จำนวน 26,666 ล้าน ลบ.ม. โดยการวางแผนจัดสรรน้ำ ทั้งประเทศ จ่านวน 17,699 ล้าน ลบ.ม.

 

ผลการจัดสรรน้ำทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที 1 พฤศจิกายน 2562 – ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 5,635 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 32 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้่าเจ้าพระยา วันนี้ใช้น้ำไป 17.82 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 1,733 ลา้ น ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43 ของแผนจัดสรรน้ำ

 

 

พื้นที่ประสบภัยแล้ง ช่วงภัยเดือน ก.ย. 62 – ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธ.ค.62)

 

จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 13 จังหวัด จำนวน 68 อ่าเภอ 423 ตำบล 3,769 หมู่บ้าน 20 ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย(14) น่าน(2) เพชรบูรณ์(6) อุทัยธานี(8) นครพนม(1) มหาสารคาม(6) บึงกาฬ(4) หนองคาย(8) บุรีรัมย์(6) กาฬสินธ์ุ(1) นครราชสีมา(5) กาญจนบุรี(6) และจังหวัดฉะเชิงเทรา(2) และอยู่ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม ในประกาศเขตฯ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย(4) ชัยนาท(4) สุพรรณบุรี(5)ผลกระทบด้านการเกษตรในเบืองต้น

 

 

ด้านพืช ประสบภัย 15 จังหวัด เกษตรกร 164,391 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,635,676 ไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว 15 จังหวัด เกษตรกร 76,923 ราย พื้นที่เสียหาย 736,182 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 650,266 ไร่ พืชไร่ 85,446 ไร่ พืชสวนและอืนๆ 448 ไร่ คิดเป็นวงเงิน 822.62 ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 339 ราย พ้ืนที 3,150 ไร่ เป็นเงิน 3.51 ล้านบาทด้านปศุสัตว์ และด้านประมง ยังไม่มีรายงานได้รับผลกระทบ

 

 

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังได้รับการรายงานจาก นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 12 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีก 117 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันเพียงร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ

 

 

ซึ่งไม่ถึงครึ่งของความจุรวมกันทั้งหมด สถานการณ์ดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำโดยเฉพาะภาคการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกต่ำกว่าค่าปกติ ตลอดจนน้ำท่าก็ต่ำกว่าเกณฑ์เช่นกัน ทั้งนี้ ยังมีแนวโน้มอีกว่า ในปี 2563 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2563 ปริมาณน้ำฝนจะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 5-10 ซึ่งปัจจุบันปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่ภาพรวมในปี 2563 จะต่ำกว่าปี 2562 กว่าครึ่งหนึ่ง

 

 

ส่วนจ.พิษณุโลก เริ่มลดลง บางพื้นที่เริ่มแห้งขอดไม่มีน้ำเป็นช่วง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่แม่น้ำยมที่อยู่นอกเขตชลประทาน ขณะนี้พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร และอาจส่งผลกระทบกับการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ พรหมพิราม บางระกำ วังทอง บางกระทุ่ม และวัดโบสถ์ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูฝนปี 2562 อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30-35 ทำให้คาดว่าปีนี้จะแล้งยาวนานกว่า 6 เดือน และคาดว่าจะรุนแรงกว่าเทียบเท่าปี 2558  

 

 

เบื้องต้นโครงการชลประทานพิษณุโลก ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ลดการทำนาปรังต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่วนในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดล ได้มีการประกาศงดส่งน้ำทำนาปรังเช่นกัน เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุน พร้อมกับจัดรถกระจายเสียงแจ้งเตือนเกษตรกรให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำที่มีน้อยไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยได้ขอให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน สำหรับแนวทางการช่วยเหลือนั้น ทางจังหวัดพิษณุโลกได้ร่วมกับโครงการชลประทานต่างๆในพื้นที่ และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เตรียมรถบรรทุกน้ำอุปโภคบริโภคเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน

 


สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคอีสานกลางหลังได้รับรายงานจากนายศักดิ์ศิริ  อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ว่า ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และ เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย สามารถสนับสนุนน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น

 

"ปัจจุบันที่เขื่อนอุบลรัตน์ได้นำน้ำก้นอ่างมาใช้แล้วประมาณ 95 ล้านลูกบาศก์เมตร ยืนยันไม่กระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อน ส่วนที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถสนับสนุนน้ำสำหรับทุกกิจกรรมได้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า"  
    


อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้ทุกโครงการชลประทานในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ,ชัยภูมิ ,มหาสารคาม ,กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงสถานการณ์น้ำให้ประชาชน และเกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมกับรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด อาทิเช่น ในพื้นที่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม โครงการชลประทานมหาสารคามและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาติดป้ายประชาสัมพันธ์และเครื่องกระจายเสียง ออกวิ่งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ขอความร่วมมือให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด 
   


สำหรับจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการชลประทานร้อยเอ็ด และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ ประชุมร่วมกับอาสาสมัครชลประทาน เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชลประทาน และแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 พร้อมส่งรถติดเครื่องขยายเสียงลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในทุกพื้นที่
   


ด้านจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิ เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำพรม-เชิญ เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบสำหรับผลิตประปาอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอชุมแพจังหวัดขอนแก่น พร้อมประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ขอความร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัด และคุ้มค่าเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค

 

นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว ได้ลงพื้นที่ประชุมคณะกรรมการจัดการชลประทาน JMC ของอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ทุกอ่างฯ เพื่อชี้แจงแผนการบริการจัดการน้ำ พร้อมชี้แจงสถานการณ์น้ำและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดอีกด้วย  

 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมถึงเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์น้ำในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งขอความร่วมมือทุกภาคตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด ปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งนี้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้าอย่างไม่ขาดแคลน 

 

 

 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ