ข่าว

พระธรรมเทศนา "ความไม่เบียดเบียน คือบันดาลสันติสุขให้สังคม"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจ้าพนักงานนิมนต์ พระเทพปฏิภาณกวี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง "ความไม่เบียดเบียนกัน คือการบันดาลสันติสุขให้สังคม"

    พระธรรมเทศนา "ความไม่เบียดเบียน คือบันดาลสันติสุขให้สังคม"

         วันที่ 17 สิงหาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้คณะบุคคลและองค์กรต่างๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและถวายเป็นพระราชกุศลโดยเวลา 10.00 น. น.ส.ทวิวรรณ ปิยะสมบัติกุล ตัวแทนบริษัท เมโทร ท็อปวู้ด จำกัด เป็นประธานพิธีบำเพ็ญกุศล  และถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ 10 รูป จากวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดเจ้ามูล วัดไผ่เงินโชตนาราม กทม. วัดควนกะไหล จ.พังงา วัดชัยมงคล วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดหัวป้อมนอก จ.สงขลา วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ จ.ฉะเชิงเทรา และวัดคลองสวน จ.สมุทรปราการ ที่สวดพระพุทธมนต์ นอกจากนี้ยังมีพิธีบำเพ็ญกุศลเวลา 14.30 น.,17.00 น. และ 19.00 น.
   

พระธรรมเทศนา "ความไม่เบียดเบียน คือบันดาลสันติสุขให้สังคม"

      ในการนี้ เจ้าพนักงานนิมนต์ พระเทพปฏิภาณกวี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง "ความไม่เบียดเบียนกัน คือการบันดาลสันติสุขให้สังคม" ความตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งขัตติยจักรีวงศ์ องค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานถึง 70 ปี ได้ทรงอุทิศพระวรกาย ประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ โดยทรงหวังให้ประชาชนชาวไทยอยู่ดี กินดีมีความสุข สมดังปฐมบรมราชโองการที่ตรัสไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินดดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”แล้วพระองค์ก็ทรงตั้งมั่นอยู่ในพระราชปณิธาน โดยทรงทำโครงการมากมายเพื่อพัมนาประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชย์ เช่น ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร และด้านสังคมให้นิยมคุณธรรม นำประโยชน์สุขมาสู่มหาชนชาวสยาม สมพระราชสมัญญานามว่า “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” จากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ 
     การพัฒนานั้น ไม่ว่าพระองค์จะทรงพัฒนาอะไรก็จะเริ่มไปจากประชาชนก่อนในการพัฒนาประชาชนนั้นก็ทรงเน้นการพัฒนาจิตใจควบคู่กันไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาโครงการต่าง ๆ ประสบผลดี มีผลที่แน่นอนเป็นการพัฒนาที่ถาวร ดังคำกลอนที่ว่า “ถ้าไม่ได้พัฒนาด้านจิตใจ จะพัฒนาสิ่งใด ๆ ก็ไร้ผล การพัฒนาต้องเริ่มที่ใจคน จึงผลพัฒนาที่ถาวร”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ