Lifestyle

'หน้ากระตุกครึ่งซีก' ไม่ใช่ลางบอกเหตุ แต่เป็นอาการเตือน 'โรคทางสมอง'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อาการ 'หน้ากระตุกครึ่งซีก' จะเกิดขึ้นแบบสุ่ม ไม่เป็นจังหวะ ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงใด และไม่สามารถควบคุมได้

หลายคนอาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อบนใบหน้า และคิดว่านั่นคือลางบอกเหตุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการ หน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเป็นอาการของ โรคทางสมอง แต่สามารถรักษาได้ 

 

ผศ.นพ.ปรัชญา ศรีวานิชภูมิ

 

ผศ.นพ.ปรัชญา ศรีวานิชภูมิ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลรามคำแหง อธิบายว่า โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งจะเป็นรูปแบบของการ กระตุก ของ กล้ามเนื้อ ใบหน้าโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเกิดที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง อาการกระตุกจะเกิดขึ้นในกลุ่มของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้แก่ กล้ามเนื้อรอบดวงตา หน้าผาก มุมปาก และกล้ามเนื้อชั้นตื้นบริเวณลำคอ

 

 

อาการ หน้ากระตุกครึ่งซีก จะเกิดขึ้นแบบสุ่ม ไม่เป็นจังหวะ ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงใด และไม่สามารถควบคุมได้ ในรายที่มีอาการมากอาจมีการ กระตุก จน กล้ามเนื้อ หดเกร็งค้างทำให้ใบหน้าดูผิดรูป ตาข้างที่มีอาการลืมไม่ขึ้น หรือมุมปากข้างที่มีอาการหดเกร็งจนดูเบี้ยวผิดรูปได้ โดยรายที่มีอาการหดเกร็งมากอาจมีอาการปวดใบหน้าข้างดังกล่าวได้ นอกจากนี้ในผู้ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ป่วยบางรายอาจมีอาการได้ยินเสียง “คลิก” ในหูข้างเดียวกันกับที่มีอาการ ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

'หน้ากระตุกครึ่งซีก' ไม่ใช่ลางบอกเหตุ แต่เป็นอาการเตือน 'โรคทางสมอง'

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หน้ากระตุกครึ่งซีก นั้นมีหลากหลาย โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่

 

  • เป็นตามหลังภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือบาดเจ็บ
  • การมีวงของหลอดเลือดที่บริเวณก้านสมองไปกดเบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
  • สาเหตุอื่นๆ แต่พบได้ไม่บ่อยเช่น เนื้องอกบริเวณก้านสมอง ปลอกเยื่อหุ้มประสาทส่วนกลางอักเสบ

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก มีอาการหน้า กระตุก เพิ่มขึ้น ได้แก่ แสงสว่างมากๆ เสียงดังๆ การเคี้ยวการพูด การล้างหน้าแปรงฟัน การอดนอน ความเครียด การจ้องหน้าจอทีวี คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน

 

'หน้ากระตุกครึ่งซีก' ไม่ใช่ลางบอกเหตุ แต่เป็นอาการเตือน 'โรคทางสมอง'

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกรักษาอย่างไร

 

แม้ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจในการใช้ชีวิต ปัจจุบันการรักษาด้วยการฉีด ยาโบทูลินั่มท็อกซิน เพื่อยับยั้งการกระตุกของกล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่ได้ผลการรักษาที่ดี เห็นผลเร็วและปลอดภัย

 

logoline