Lifestyle

10 ทริคเด็ด 'กินเจ' อย่างไร ไม่ อ้วน แถมได้บุญ สุขใจ และ สุขภาพดี ด้วย 'อาหารเจ'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'อาหารเจ' ส่วนใหญ่ก็มักจะทำจากแป้ง และของทอด หากรับประทานเข้าไปมากๆ อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้คนที่ 'กินเจ' อ้วน ได้

นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่วัน เทศกาลกินเจ ประจำปี 2566 ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 - 23 ต.ค. 2566 กินเจ ถือเป็นเทศกาลยอดนิยมของชาวไทยจำนวนมาก เพราะการงดบริโภคเนื้อสัตว์นั้นนอกจากจะไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตและ ช่วงนี้ยังเป็นช่วงเวลาปรับสภาพร่างกายให้สมดุล ล้างพิษในร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

 

สำหรับคนที่ตั้งใจจะ กินเจ มักจะเริ่มล้างท้องด้วย อาหารเจ ก่อนเริ่มเทศกาล 1 วัน ก่อนที่จะเข้าสู่ เทศกาลกินเจ เต็มรูปแบบ ซึ่งหากจะพูดถึงอาหารเจแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะทำจากแป้ง และของทอด หากรับประทานเข้าไปมากๆ อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้ อ้วน ได้ วันนี้ คมชัดลึก จึงมีคำแนะนำดีๆ ถึงวิธี กินเจ อย่างไร ไม่ให้อ้วน แถมได้บุญ สุขใจ และสุขภาพดี มาฝากกัน

 

สำหรับการ กินเจ อย่างไร ไม่ให้ อ้วน แถมได้บุญ สุขใจ และสุขภาพดี  มีทริคที่อยากแนะนำดังนี้

 

  1. รับประทาน อาหารเจ ควรกินให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ เช่น ธัญพืช เต้าหู้ เห็ด ถั่ว เพื่อป้องกันการขาดโปรตีน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม หรืออาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรระมัดระวังอาหารเจที่มีส่วนประกอบของแป้ง และอาหารที่มีรสชาติหวานมันมากเกินไป หรือผู้ที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีรสเค็ม
  3. ทุกมื้อควรเพิ่มผักหรือผลไม้สด โดยหากปรุงอาหาร หรือรับประทานผักและผลไม้สด ต้องแช่และล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เพื่อชะล้างสารเคมีที่มักปนเปื้อนมากับผักและผลไม้สด
  4. ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” คือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรืออุ่นให้ความร้อนทั่วถึง และอุปกรณ์บรรจุทุกชิ้นต้องสะอาด
  5. กินอาหารประเภทถั่ว และธัญพืชต่างๆ เนื่องจากการงดกินเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารประเภทโปรตีน แต่ก็สามารถเสริมได้ด้วยโปรตีนจากถั่ว และธัญพืชต่างๆ หรืออาจจะเป็นนมถั่วเหลืองก็ได้
  6. ลดการกินผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง ช่วยลดปัญหาท้องอืดในผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการกินผักสด หากจะกินควรนำมาต้ม หรือนึ่งให้นิ่มก่อน เพื่อช่วยในการย่อย
  7. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง และไขมันสูง ซึ่งทำให้ร่างกายจะได้รับสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และไขมันที่สูงเกินความจำเป็น เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ
  8. เน้นอาหารต้ม นึ่ง ย่าง หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือผัด ร่วมกับการกินผักและผลไม้ควบคู่ไปด้วย
  9. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคอ้วน แนะนำให้ควบคุมการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ เนื่องจาก อาหารเจ จะเน้นผัก ผลไม้ คาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีนจากถั่วต่างๆ ซึ่งย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์มาก ทำให้รู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติ อาจทำให้รับประทานอาหารระหว่างมื้อบ่อยครั้ง
  10. ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยการเผาผลาญแป้งและน้ำตาล ที่รับประทานมากขึ้นในช่วง เทศกาลกินเจ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ