Lifestyle

ไทยเป็นเจ้าภาพ ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วย "วิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรฯ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมาย นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง แถลงข่าวการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม "สหประชาชาติ"

ภายหลังการแถลงข่าว อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่านับตั้งแต่สมัชชาสหประชาชาติ เห็นชอบให้มีการดำเนินการ "ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2021 - 2030" (The UN Ocean Decade Kickoff Conference for Western Pacific and its Adjacent Areas 2021-2030) หรือ ทศวรรษแห่งมหาสมุทร (Ocean Decade) และได้มีการเปิดตัวในระดับโลกอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2564 ในรูปแบบ ออนไลน์ ณ เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี 

 

ครั้งนี้ ประเทศไทยได้จับมือกับ IOC WESTPAC และด้วยความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ร่วมจัดการประชุม The UN Ocean Decade Kickoff Conference for Western Pacific and its Adjacent Areas เป็นภูมิภาคแรกของโลก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยจะได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำใน ระดับภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2021 – 2030

 

ไทยเป็นเจ้าภาพ ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วย \"วิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรฯ\"

การจัดงานครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 25 – 26 พฤศจิกายน 2564 สำหรับกำหนดการการประชุม 2 วันจะแบ่งเป็นการประชุมผู้นำระดับสูง และการอภิปรายกลุ่มสำหรับประเทศไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าว เปิดการประชุม พร้อมผู้บริหารระดับสูงของ UNESCO

ไทยเป็นเจ้าภาพ ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วย \"วิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรฯ\"

นอกจากนี้ ผู้นำระดับสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ UNESCAP และ UNESCO ยังได้ให้เกียรติกล่าวในช่วงการประชุมระดับสูง ทั้งนี้ ผลลัพธ์จากการประชุมครั้งนี้ นอกจากการแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ Ocean Decade ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความตื่นตัวให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การแสดงการดำเนินงานของทศวรรษแห่งมหาสมุทรและการมีส่วนร่วมทางการเงินและในรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงการกระตุ้นความร่วมมือและริเริ่มโครงการระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในความท้าทาย บรรลุผลลัพธ์และวิสัยทัศน์แห่งทศวรรษมหาสมุทร

เนื่องจากเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างมาก และมีผู้บริหารระดับสูงของประเทศสมาชิกกว่า 22 ประเทศเข้าร่วม รวมถึงหน่วยงาน องค์กรระดับนานชาติ และผู้สนใจจากทั่วโลก เข้าร่วมประชุมด้วย คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมหลายร้อยคนจากทั่วโลก ทำให้ทุกฝ่ายต้องเตรียมงานกันอย่างหนัก อีกทั้ง เป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ ทำให้มีขั้นตอนที่ต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน อีกทั้ง มีการประชุมอภิปรายกลุ่มอีก 17 หัวข้อ ซึ่งมีประเทศที่ให้ความสนใจเข้าร่วมมากกว่า 20 ประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทางด้านมหาสมุทร รวมถึงนักวิจัย ร่วมกันออกแบบ และร่วมส่งต่อการแก้ปัญหาโดยใช้แนวทางวิทยาศาสตร์มหาสมุทร เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่ภูมิภาคกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งปัจจุบันกรมได้ร่วมกับพันธมิตรได้เตรียมพร้อมทั้งด้านพิธีการ ด้านสารัตถะ และด้านเทคนิคการดำเนินงานไว้พร้อมแล้ว นอกจากนี้ สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นการประชุม ประเทศไทยโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานประสานงานแห่งทศวรรษ (Decade Coordination Office : DCO) เป็นหน่วย


ไทยเป็นเจ้าภาพ ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วย \"วิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรฯ\"
 

ประสานในการดำเนินงานทศวรรษแห่งมหาสมุทรในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกณ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยขยายกรอบการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการ IOC WESTPAC ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการ 

IOC WESTPAC อยู่แล้ว เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุ 7 เป้าหมายในปี 2030 ซึ่งประกอบด้วย มหาสมุทรที่สะอาด  มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์และยืดหยุ่น/มีความสามารถในการปรับตัว มหาสมุทรที่มีผลผลิต มหาสมุทรที่พยากรณ์ได้ มหาสมุทรที่ปลอดภัย มหาสมุทรที่เข้าถึงได้ และมหาสมุทรที่มีแรงบันดาลใจและมีส่วนร่วม โดยมีวิสัยทัศน์ คือ “วิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อมหาสมุทรที่เราต้องการ” (The science we need for the ocean we want) และภารกิจที่ว่า “การแก้ไขปัญหาโดยใช้แนวทางวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการเปลี่ยนแปลง สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การเชื่อมโยงผู้คนกับมหาสมุทรของเรา” (The UN Ocean Decade Kickoff Conference for Western Pacific and its Adjacent Areas) 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ