Lifestyle

ผิดเป็นครู หรือ..ผิดเพราะเป็นครู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผิดเป็นครู หรือ..ผิดเพราะเป็นครู หาคำตอบจากบทวิเคราะห์ ของ ชัยวัฒน์ ปานนิล

      สังคมสมัยใหม่จับจ้องความผิดของบุคคลในอาชีพครูที่โผล่มาเป็นดอกเห็ดในหน้าสื่อทุกสื่อ เก่งที่จับได้ เก่งที่ได้พูด เก่งที่ได้ออกมาประจาน ในใจครูอยากถามว่า ที่เก่งได้แบบทุกวันนี้เพราะใคร ไม่ได้ทวงบุญคุณแต่แค่ถาม

 

     อ่านข่าว  : "ครูพี่โอ๊ะ" เสมา3 เผยส่งนักจิตวิทยาลง "รร.สารสาสน์

ราชพฤกษ์" พรุ่งนี้หลังพบมีปัญหาเพียบ

 

       ตอนที่ยังเป็นเด็กอายุประมาณ 6-7 ขวบ เกิดและเติบโตที่บ้านนอก และเข้าเรียนในโรงเรียนเล็กในหมู่บ้าน สอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.6 ส่วนใครที่ยังอายุไม่ถึงเกณฑ์เข้าเรียน พ่อแม่ก็จะนำไปฝากเรียนไว้กับครู ป.1

 

       สมัยนั้นชอบเรียนกันว่า ป.ขี้ไก่ ก็คือชั้นเตรียมก่อนเข้า ป.1 นั้นเอง โดยเรียนรวมกับชั้น ป.1 สอนด้วยครูคนเดียวกัน เรียนเหมือนกัน แต่พอครบปีก็ยังไม่ได้เลื่อนชั้นขึ้น ป.2 แต่ก็เลื่อนฐานะมาเป็นนักเรียน ป. 1 เรียนซ้ำอีกปีก่อนขึ้น ป.2

 

      จำได้ว่าตอนนั้นมีครูผู้ชาย 2 คน มาบรรจุใหม่ ครูใหญ่ได้จัดให้พักที่ห้องสมุดโดยอาศัยอยู่รวมกันทั้ง 2 คน นับเป็นเรื่องตื่นเต้นของนักเรียนที่มีครูผู้ชายคนใหม่มาบรรจุพร้อมกันถึง 2 คน เพราะครูที่สอน ป.1 ต้องเป็นครูผู้หญิงที่มีอายุ นักเรียนส่วนใหญ่จะเรียกว่า "แม่ครู"  

 

      เล่าเรื่องของแม่ครูให้ฟังก่อนเล็กน้อย ในตอนเช้าของแต่ละวันนักเรียนจะเดินทางไปโรงเรียนกันแต่เช้าก่อนคุณครูจะมาถึงเพื่อรอรับคุณครู เมื่อแม่ครูเดินทางมาถึงโรงเรียนนักเรียนต่างวิ่งกรูกันเข้าไปหาเพื่อช่วยแม่ครูหิ้วของเข้าห้องเรียน   

        แต่ใช่ว่าจะสมหวังกันทุกคน แม่ครูจะเป็นคนเลือกว่าใครจะได้ช่วยหิ้วของเข้าชั้นเรียน นักเรียนที่ได้รับเลือกจะมีความภูมิใจและถือของอย่างภาคภูมิใจเดินเข้าสู่ห้องเรียน ท่ามกลางสายตาของเพื่อนๆ ที่มองด้วยความอิจฉา จะเป็นเช่นนี้ทุกวัน จนกว่าจะได้เลื่อนชั้นไปหาครูคนใหม่ต่อไป    

 

          ย้อนกลับมาที่ครูหนุ่มสองคนที่มาบรรจุในโรงเรียนบ้านนอกที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวเพียงร้านเดียวในหมู่บ้าน เปิดขายเฉพาะตอนเที่ยง ดังนั้นอาหาการกินครูหนุ่มทั้งสองก็ต้องจัดหุงหาด้วยตัวเอง ตั้งแต่หุงข้าว ทำกับข้าว แล้วจะเอาวัตถุดิบจากไหนมาปรุงอาหาร

 

        เล่าให้ฟังแล้วอย่าแปลกใจ นักเรียนนี้และครับ เป็นคนนำมาให้ ทันทีที่บ้าน เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็นำข้าวไปสีที่โรงสีแล้วรีบนำเอามาให้ครู เพื่อให้ครูได้รับประทานก่อนใคร แม้แต่คนในบ้านที่ช่วยกันปลูกข้าว วันไหนตกเป็ดหาปลาได้เยอะ ตอนเช้าก็หิ้วมาให้ครู วันไหนเข้าป่าเก็บเห็ดได้ก็แบ่งมาให้ครู

 

      ไม่ถือว่าเป็นการติดสินบนหรือเอาใจครูแต่อย่างใด เพราะไม่มีผลกับคะแนนหรือผลการเรียนเลย เป็นน้ำใจที่แสดงออกด้วยความรักและเคารพต่อครู ผู้ซึ่งจะมาเปลี่ยนชีวิตของลูกชาวนาจนๆ ให้ดีขึ้นได้

 

       การนับถือ ยกย่อง และให้เกียรติ ผู้มีความรู้ทำกันมาแต่โบราณ สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการนอบน้อม อะไรไม่รู้ก็ถาม อะไรทำไม่เป็นก็ฝึกหัด เป็นสังคมที่ดีงาม เป็นสังคมที่แบ่งบัน  

    วันเวลาเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยนไป อาจจะทำให้ผู้คนเปลี่ยนไปด้วย ในปัจจุบัน เขาบอกว่า คนเก่าคนแก่ ในยุคโบราณเป็นคนโง่ หัวอ่อน หลอกง่าย บอกให้ทำอะไรก็เชื่อ ปัจจุบัน เป็นยุคของ คนเก่ง คนรู้ ความรู้หาได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว ทำให้หลายคนลืมนึกถึงครู อยากรู้อะไรก็รู้ได้หมดแค่คลิก ความรู้ก็มา เมื่อบทบาทเปลี่ยนทำให้ครูเปลี่ยน 

 

        ทุกวันนี้ครูกลายเป็นคนร้ายของสังคม ถูกจับตาจากสังคมรอบข้างแทบกระดิกไม่ได้ ครูจะเป็นผู้ร้ายทันที เมื่อมีคนพูดหรือคนกล่าวโทษ ผิด โดยไม่ต้องสอบสวน เมื่อนึกย้อนถึงอดีตเคยมีเหตุการณ์แบบปัจจุบันหรือไม ตอบได้เลยว่า มีมานับไม่ถ้วน เพียงแต่สมัยนั้นไม่มี การสื่อสารที่ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน

 

       ต้องยอมรับว่า สังคมสมัยใหม่ คนฉลาดมากขึ้น รู้เท่าทันทุกเหตุการณ์ จับได้ไล่ทัน ไม่ยอมใคร แต่ มีคำถามที่คาใจอยากถามกับทุกคนว่า ที่ฉลาดได้ทุกวันนี้เพราะใครสอน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ