เด่นโซเชียล

"หมึกช็อต" ชวนสยอง อ.เจษฏ์ ไขข้อสงสัย เส้น ๆ นั้นไม่ใช่พยาธิ ที่แท้เป็นแบบนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมึกช็อต" ยังฮิตอยู่มั้ย หลังเจอคลิปช็อก อ้างพยาธิตัวเป็น ๆ เส้น ๆ เต็มไปหมดแบบนี้ อ. เจษฎ์รีบชี้แจง จริง ๆ แล้วเส้น ๆ ที่เราเห็นไม่ใช่พยาธิแต่เป็นสิ่งนี้

 

"หมึกช็อต" ฮิตสุดฉุดไม่อยู่จริง ๆ งานนี้ การันตีความสด รสชาติจัดจ้าน กรุบกรับถึงใจ ชาวเน็ตถูกใจ ลุยถึงที่ ซัดเรียบไม่มียั้ง จนเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หนึ่งในสมาชิก TikTok ได้โพสต์คลิป ผ่าหมึกสด ๆ อ้างเส้น ๆ ที่พบเห็นในคลิปนั้นคือ พยาธิ! ชาวเน็ตร้องอี๊ น่าจะเข็ดไปอีกนาน 

 

 

หมึกช็อต, TikTok, พยาธิ

 

 

จนเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา อ.เจษฎ์ รีบชี้แจง เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โพสต์ข้อมูลผ่านเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดยระบุว่า มีการเผยแพร่คลิปวีดีโอสั้นๆเหมือนกับกำลังผ่าหมึก แล้วเห็นของที่อยู่ข้างใน เป็นเส้นขาว ๆ จำนวนมาก พร้อมกับเสียงบรรยายว่า เป็นพยาธิ ให้ระวังด้วย !?

 

 

ไม่ใช่นะครับ มันไม่ใช่พยาธิในหมึก ซึ่งปกติจะเป็นพยาธิตัวกลม (เช่น พยาธิอะนิซาคิส) ที่อยู่เป็นตัวเดี่ยว ๆ หลายตัว แต่ไม่ได้จับกันเป็นกระจุก เป็นฝักแบบนั้น แต่สิ่งที่เห็นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ของหมึกตัวผู้ ที่เรียกว่า สเปิร์มมาโตฟอร์ (spermatophore) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ฝักสเปิร์ม

 

 

 

 

ให้นึกถึงเวลาที่เรากิน ไข่หมึกทอด ที่เป็นถุงเป็นก้อนขาว ๆ นั้น จะมีทั้งที่เป็นถุงรังไข่ (ovary) ของหมึกตัวเมียและที่เป็นถุงสเปิร์ม (อัณฑะ) ของหมึกตัวผู้  ถ้าเราเอาถุงอัณฑะมาผ่าแยกออก จะเห็นเหมือนท่อยาวๆ สีขาว จำนวนมาก ซึ่งก็คือ สเปิร์มมาโตฟอร์ (Spermatophore) เรียงอยู่ข้างในนั้น

 

 

สเปิร์มมาโตฟอร์ (Spermatophore) เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์หลายชนิด ทั้งกลุ่มแมลง แมงมุม รวมถึงพวกเซฟฟาโลปอด (พวกหมึกชนิดต่าง ๆ) ซึ่งตัวผู้จะใช้ในการนำส่งสเปิร์ม (อสุจิ) เข้าไปในตัวเมียในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

 

 

สำหรับพวกเซฟาโลพอด ส่วนใหญ่จะใช้แขนเฉพาะ ที่เรียกว่า เฮโคโคติลัส (helicotilus) เพื่อส่งสเปิร์มมาโตโฟร์เข้าไปยังภายในตัวเมีย จากนั้น จะมีกลไกที่ซับซ้อนในการปล่อยตัวอสุจิ ออกจากสเปิร์มมาโตฟอร์ และอสุจิก็จะเก็บรักษาเอาไว้ภายในตัวเมีย

 

 

 

 

"หมึกช็อต" ตัวเมียตัวหนึ่งอาจจะมีสเปิร์มจากตัวผู้หลายตัวอยู่ภายใน และด้วยความที่สเปิร์มมาโตฟอร์สามารถอยู่รอดได้นานภายในร่างกายของตัวเมีย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยก่อน อย่าง จอร์จ คูเวียร์ (George Cuvier) เข้าใจผิดว่าเป็นหนอนปรสิต และตั้งชื่อให้ว่า Hectocotylus (ภาษาละติน: "Hundred" + "hollow thing")

 

 

สเปิร์มมาโตฟอร์แต่ละอันนั้น ถ้าบีบให้แตกออก จะเห็นว่ามีปลอกชั้นนอกที่ใส ๆ กับถุงน้ำเชื้อชั้นในที่ขาว ๆ ตรงโคน สเปิร์มมาโตฟอร์ มีกลไกเชือก ถ้าดึงหรือบีบมันจะปล่อยถุงชั้นในออกมาอย่างรวดเร็ว

 

ถุงชั้นในพอหลุดจากปลอก จะกลายเป็นแท่งแหลม ๆ ขาว ๆ เรียกว่า สเปิร์มมาแทนเจีย (spermatangia) ตรงโคนมีกาวเคลือบ เอาไว้ติดหนึบกับเนื้อของตัวเมีย กลไกเหล่านี้ของสเปิร์มมาโตฟอร์ ทำให้เราเห็นในคลิปว่ามันขยับเขยื้อนได้ เหมือนกับเป็นพยาธิ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วเป็นแค่อวัยวะหนึ่งครับ

 

 

ข้อมูล : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ