Program Online

บอร์ด EEC ไฟเขียว "ซีพี" ลงทุนไฮสปีด 2.2 แสนล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บอร์ด EEC ไฟเขียว "ซีพี" ลงทุนไฮสปีด 2.2 แสนล้าน

วันนี้มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณา และรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดาเนินงานโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) ไฟเขียว ให้ซีพีลงทุนไฮสปีด 2.2 แสนล้าน หลังกลุ่มซีพียอมรับร่างสัญญา

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2562 วันนี้มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณา และรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดาเนินงานโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ได้แก่1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นรูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ที่ภาครัฐลงทุนน้อยที่สุด และจากการพิจารณาตามขั้นตอนต่าง ๆ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จากัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เป็นผู้ได้รับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ เพราะเป็นผู้ยื่นข้อเสนอด้านการลงทุน ผลตอบแทนที่ผ่านการพิจารณา และบรรลุข้อตกลงในการเจรจาคณะกรรมการนโยบายฯ ได้รับทราบผลการคัดเลือก การเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสานักงานอัยการสูงสุดแล้ว และมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมลงทุนในโครงการฯ กับเอกชนที่ได้คัดเลือกดังกล่าว2. โครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ใน EECกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในอีอีซี จะเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความรู้ทางการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) ที่จำเป็นให้ประเทศที่มีความต้องการบริการการแพทย์แบบแม่นยาและนำไปสู่การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพคณะกรรมการนโยบายฯเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ใน พื้นที่ EEC และให้ สกพอ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป3. การพัฒนากาลังคนด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมและส่งเสริมการลงทุน ใน EEC ซึ่งที่ประชุมฯ ได้รับทราบความต้องการในอุตสาหกรรมดิจิทัล กว่า 100,000 คน โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้สานต่อโครงการพร้อมจัดทาการพัฒนาและผลิตกำลังคนดิจิทัล สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการ ซึ่งผลที่จะได้รับคาดว่าจะสามารถพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ และปริมาณตรงตามความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ภายในปี 2566 โดยเป็นบุคลากรที่ได้รับการพัฒนากว่า 180,000 คน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ