คอลัมนิสต์

ปีแห่งดีลลับ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ในเงาอำนาจ ‘ทักษิณ’ คนเปลี่ยนเกม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โจทย์ใหญ่ชินวัตร อุ๊งอิ๊ง นับวันรออีก 60 วัน ทักษิณ ก็จะได้พักโทษ จากชั้น 14 ไปบ้านจันทร์ส่องหล้า โฉมหน้าการเมืองเปลี่ยน

120 วันผ่านไปแล้ว อุ๊งอิ๊ง นับวันรออีก 60 วัน ทักษิณ ก็จะได้พักโทษ จากชั้น 14 ไปบ้านจันทร์ส่องหล้า ดุลอำนาจเปลี่ยน


ปรากฏการณ์ 22 สิงหา ทักษิณ กลับไทย ไม่ใช่แค่การเมืองเรื่องชิงอำนาจตั้งรัฐบาล หากแต่เป็นสงครามตัวแทนคน 2 รุ่น


หาก อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร บอกให้พ่อทักษิณ อดใจรอต่อไปอีก 60 กว่าวัน ก็เข้าสู่เกณฑ์พักโทษ ตามเงื่อนไขต้องรับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 หรือตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป 
 

 

นับวันรออีก 60 วัน ทักษิณก็ได้พักโทษ

 

นอกจากเงื่อนไขระยะเวลารับโทษ ก็มีเงื่อนไขเรื่องอายุ รวมถึงอาการเจ็บป่วยที่จะบอกได้ว่า ทักษิณ เข้าเกณฑ์พักโทษ ช่วงวันที่ 22 ก.พ. 2567


ที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ดูจะอิหลักอิเหลื่อ และเลี่ยงการตอบคำถามนักข่าวเกี่ยวกับเรื่องชั้น 14 


ล่าสุด การแบ่งงานรองนายกรัฐมนตรี นายกฯเศรษฐา มอบให้ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค มากำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม แทนสมศักดิ์ เทพสุทิน


มีการตั้งวงวิเคราะห์มากมายว่า เกิดอะไรขึ้น แต่หากย้อนไปดูกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่แรก ก็คงได้คำตอบว่า ทำไมต้องเป็นบิ๊กตุ๋ย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 
 

ปีแห่งดีลลับ
ข่าวการเมืองแห่งปี 2566 คงไม่มีข่าวไหนใหญ่ไปกว่า ‘ดีลลับ’ ทักษิณ ชินวัตร กลับไทย ในวันที่ประชุมรัฐสภา โหวตเห็นชอบ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566


ช่วงต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา วันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา โพสเฟซบุ๊กเล่าเรื่องการพูดคุยในหมู่เพื่อน สว.ว่า “...สัญญาณครั้งนี้จากทุกสายชัดยิ่งกว่าชัด โหวตนายกฯ ครั้งหน้าจากเพื่อไทยผ่านฉลุย สว.เต็มคาราเบล”


ตอนนั้น สว.บางกลุ่มถึงกับช็อก นึกไม่ถึงว่า สว.สายลุงตู่ จะพลิกเกมหันมาหนุนเศรษฐา พร้อมกับข่าวพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมรัฐบาลเพื่อไทย


ทักษิณ และคนในตระกูลชินวัตร รู้ดีว่า การที่เพื่อไทยตัดสินใจดึงพรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ เข้ามาร่วมรัฐบาลนั้น มีต้นทุนที่ต้องจ่ายสูงมาก


อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ก็ยอมรับว่า “พรรคเพื่อไทย มีต้นทุนที่จะต้องจ่าย นั่นคือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน ขอน้อมรับ และต้องขอโทษที่ทำให้หลายคนรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจ”


ไม่น่าแปลกใจที่นิด้าโพล ช่วงปลายปี 2566 พบว่า คะแนนนิยมอุ๊งอิ๊ง ร่วงเหลือแค่ 5% และเพื่อไทยก็มีคะแนนนิยมลดลง

 

 

เงาของใคร
สาเหตุที่สื่อประจำทำเนียบจะตั้งฉายานายกฯเศรษฐา ให้เป็น “เซลส์แมนสแตนด์ชิน” เพราะผู้คนส่วนใหญ่ ยังมองว่าเขาไม่ใช่ตัวจริง เป็นแค่สแตนด์อิน 


ภาพ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นั่งหัวโต๊ะประชุมร่วมรัฐมนตรีหลายกระทรวง ก็สะท้อนให้เห็นว่า มีเงาชินวัตรทาบทับอยู่เบื้องหลังนายกฯเศรษฐา


การตัดสินใจตั้ง พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ มากำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม ยิ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐา ให้ความสำคัญกับการพักรักษาตัวของทักษิณ ที่ชั้น 14 ร.พ.ตำรวจ


เนื่องจากการบริหารจัดการกรณีคนชั้น 14 อาจยังไม่ราบรื่น เหมือนสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ ออกมาตำหนิข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่มีกฏระเบียบราชทัณฑ์อยู่แล้ว


สำหรับ บิ๊กตุ๋ย พีระพันธุ์ ในวันนี้ ไม่ใช่คนที่เคยสนิทสนมกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ หากแต่เป็นอดีตที่ปรึกษาที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เชื่อมั่นและไว้วางใจมอบให้ไปจัดตั้งพรรครวมไทยสร้างชาติ


ตัวละครสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพรรครวมไทยสร้างชาติ ก็คือคนที่คุ้นเคยกับทักษิณ และอย่าลืมว่า ตอนจัดตั้งรัฐบาลเศรษฐา เพื่อไทยกับรวมไทยสร้างชาติ ปิดดีลเรียบร้อย ก่อนพลังประชารัฐ


ทั้งนายกฯเศรษฐา และแกนนำเพื่อไทย ต่างให้ความเคารพ บิ๊กตุ๋ย พีระพันธุ์ และให้เกียรติพรรคร่วมไทยสร้างชาติ เพราะบิ๊กตุ๋ยคือ เงาร่างแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรค รทสช.


นี่แหละคือความต่างระหว่าง สมศักดิ์ เทพสุทิน กับ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และคำถามที่ว่า ทำไมต้องเป็นบิ๊กตุ๋ย ก็คงได้คำตอบแล้ว 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ