คอลัมนิสต์

 'นิรโทษกรรม'ยากเป็นจริง.. ทำไม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เรื่อง"นิรโทษกรรม"ถูกเสนอขึ้นมาอีกครั้ง ล่าสุด"คำนูณ สิทธิสมาน" นำเรื่องนี้ไปอภิปรายต่อที่ประชุมวุฒิสภาและฝากไปถึงนายกฯว่าอย่าได้ลังเล .. แต่ตรวจสอบเรื่องนี้จากฝั่งรัฐบาลแล้ว ฟันธงล่วงหน้าได้เลยว่า ไม่เกิดขึ้นแน่นอน ทำไม... 

กรณี 'คำนูณ สิทธิสมาน' สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว. ) ได้อภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภาและเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนจากความผิดที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองช่วง15ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2548-2563 โดยมีหลักการในการนิรโทษกรรมแก่ผู้ทำผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมการเมืองโดยตรง รวมทั้งคดีอาญา ทั้งผู้ที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว  และผู้ที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมรวมทั้งผู้ที่หนีคดี
  "อยากให้นายกฯ แสดงเจตจำนงนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ที่อาจเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ จะต้องนำไปพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา จะเป็นการสร้างบารมีให้นายกฯ เพื่อสร้างระบบประชาธิปไตยที่มั่นคง มีธรรมาภิบาล ถ้านายกฯ รวมใจคนทุกภาคส่วนเข้ามา โดยมีร่างนิรโทษกรรมเป็นก้าวแรก ก็จะก้าวต่อไปได้ ขอฝากความหวัง นำจิตสำนึกผู้รักชาติทุกคน ทุกสี ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอด 15 ปี เพื่อพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง"  เป็นคำอภิปรายตอนหนึ่ง
 

ก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีการปูดเรื่อง "นิรโทษกรรม" โดยอ้างถึงเรื่องการสร้างความปรองดองและข่าวดังกล่าวยังมีการอ้างถึงนายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)และคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. ที่เคยเขียนบทความ เรื่อง “การอำนวยความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์”เมื่อปี2562 ระบุว่า การนิรโทษกรรมต้องอาศัยความพยายามทุกภาคส่วนรวมทั้งภาครัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ขยับตัวในเรื่องนี้ โอกาสเป็นไปได้ยาก
 ซึ่งเมื่อ"คมชัดลึกออนไลน์ "สอบถามไปยัง "ประสาร มฤคพิทักษ์" หนึ่งในกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. นายประสาน บอกว่า ตนเคยเป็น สปช. ตอนนั้นมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการปรองดองแห่งชาติที่มี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานฯ ตั้งแต่ปี 2558 ทำเป็นรายงานออกมาและรายงานผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)แล้วด้วย จากนั้นส่งรายงานไปยัง "รัฐบาล คสช." ต่อมาเรื่องไปอยู่ที่คณะกรรมาธิการการเมืองของ สนช. ที่มีนายกล้านรงค์  จันทิก เป็นประธานและมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯขึ้นมา มีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานยกร่าง พ.ร.บ.อำนวยความยุติธรรม ต่อมา สนช.หมดอายุลง
 ส่วนกรณีล่าสุดที่นายคำนูณ ออกมาชงเรื่อง"นิรโทษกรรม" นั้น จากการตรวจสอบถึงท่าทีของรัฐบาลและพรรคพลังประชารัฐ พบว่า ไม่มีความคิดเรื่องนี้เลยทั้งในส่วนรัฐบาลและพรรคพลังประชารัฐเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง อีกทั้งหากรัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมก็จะมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็จะเกิดปัญหาตามมาจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยซึ่งมีทุกฝ่ายทั้งเหลือง แดง  น้ำเงิน ดังนั้นหากรัฐบาลเป็นศูนย์กลางในเรื่องนี้ก็จะถูกด่าได้รับผลกระทบและถ้าฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมก็ไม่มีทางสำเร็จหากฝ่ายรัฐบาลไม่เอาด้วย เสียงในสภาไม่พอที่จะผ่านกฎหมายออกไปได้  และมองว่าไม่ใช่เวลาที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม ดังนั้นรัฐบาลก็คงจะไม่ขยับในเรื่องนี้ รัฐบาลไม่อยากไปยุ่ง
    "รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรักษาความสงบ ให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎหมาย ดังนั้นทุกอย่างต้องไปตามกระบวนการของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายโดยไม่มีการยกเว้นนิรโทษกรรมให้กับใคร กลุ่มไหนน่าจะนำมาซึ่งความสงบมากกว่าซึ่งเป็นหลักของรัฐบาล ส่วนการที่จะปรองดองกัน ก็ไปปรองดองกันทางอื่น นิรโทษกรรมกับการปรองดอง ไม่เกี่ยวข้องกันเท่าไหร่ ตอนนี้ทุกฝ่าย ทั้งแดง เหลือง น้ำเงิน ก็ตกเป็นจำเลยกันหมดแล้ว จะปรองดองก็ปรองดองกันไป แต่หากทำผิดแล้วจะบอกว่าไม่ต้องรับผิด มันอธิบายไม่ได้ ถ้าปรองดองคือการเห็นพ้องตรงกันว่า เราทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิด ก็จะเรียกว่าความปรองดองไม่ได้เพราะเป็นการปรองดองของผู้ที่กระทำผิด นอกจากนี้คนที่รักษากฎหมาย ทำตามกฎหมายหรือคนที่โดนคดีอื่นก็จะนำจุดนี้มาโจมตีว่าทำไมไม่นิรโทษกรรมให้บ้าง ส่วนคนที่จ้องจะก่อม็อบหรือก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองก็จะก่อม็อบไปเลย เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็ได้นิรโทษกรรม คนก็จะไม่กลัวกฎหมาย"
 

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  : "นิรโทษกรรม"แค่ "กระแสลม " ?

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ