ชีวิตดีสังคมดี

เส้นทาง 'โครงการแลนด์บริดจ์' 109 กม. ผ่าน 2 จังหวัด ในโครงการก่อสร้างอะไรบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เส้นทาง 'โครงการแลนด์บริดจ์' ระยะทาง 109 กิโลเมตร ตัดผ่าน 2 จังหวัด เมกะโปร์เจ็กล้านล้านบาทในโครงการก่อสร้างอะไร

ไม่พูดถึงคงไม่ได้สำหรับ "โครงการแลนด์บริดจ์" ที่รัฐบาลกำลังพยายามดันให้เกิดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการโชว์โครงการกับนานาประเทศมาแล้ว โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีท่าทีสนใจโครงการดังกล่าว หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอโครงการ ในระหว่างการประชุม "Belt and road summit"  พร้อมกับเตรียมไป Road Show โรดโชว์ แลนด์บริดจ์ ครั้งแรกเวทีเอเปก ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา 11-17 พ.ย. 2566

"โครงการแลนด์บริดจ์" นับว่าเป็นอีกเมกะโปรเจ็กต์งบประมาณกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลได้เร่งจัดทำร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ.... เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้ (SEC) ซึ่ง "โครงการแลนด์บริดจ์" จะอยู่ในพื้นที่นี้ด้วยกฎหมายฉบับนี้จะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.67

 

 

เส้นทางโครงการแลนด์บริดจ์  จะกินพื้นที่ ชุมพร-ระนอง มีระยะทางรวม 109 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างในลักษณะอุโมงค์ ระยะทาง 21 กม. มีจุดเริ่มต้นที่ท่าเรือแหลมริ่ว จ.ชุมพร ฝั่งอ่าวไทย ผ่านแนวเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 89.35 กม. และจุดสิ้นสุดที่ท่าเรืออ่าวอ่าง จ.ระนอง ฝั่งอันดามัน

ประกอบไปด้วยแผนการศึกษาพัฒนาท่าเรือของโครงการฯ เพื่อเชื่อมระบบรางและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เบื้องต้น สนข. ได้ดำเนินการศึกษาท่าเรือ แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งละ 2 ระยะ รวมรองรับปริมาณตู้สินค้าฝั่งละจำนวน 40 ล้าน ที.อี.ยู. ประกอบด้วย 1.ท่าเรือแหลมริ่ว จ.ระนอง โดยระยะที่ 1 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 20 ล้าน ที.อี.ยู. และระยะที่ 2 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 20 ล้าน ที.อี.ยู.

2.ท่าเรืออ่าวอ่าง จ.ชุมพร แบ่งออกเป็น 2 ระยะ รวมรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 40 ล้าน ที.อี.ยู. ระยะที่ 1 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 20 ล้าน ที.อี.ยู. และระยะที่ 2 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 20 ล้าน ที.อี.ยู. เมื่อเทียบกับท่าเรือ TUAS ประเทศสิงคโปร์ ในปัจจุบันสามารถพัฒนาท่าเรือในระยะที่ 1 เพื่อรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ถึง 20 ล้าน ที.อี.ยู. เช่นเดียวกัน

 

 

รายละเอียด  "โครงการแลนด์บริดจ์" จะมีการก่อสร้าง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนอง, โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร, โครงการระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร – ระนอง และโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงชุมพร – ระนอง ซึ่งมีการคาดการไว้ว่าหากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่เติบโตและหันมาใช้เส้นทางนี้กว่า 400,000 ลำต่อปี  รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นไปตามอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย

 

อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่า เดือน เม.ย.-มิ.ย. 2568 จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน เมษายน-มิถุนายน 2568 ก่อนที่จะดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างเดือน ม.ค. 2568-ธ.ค. 2569 และเสนอ ครม.อนุมัติลงนามในสัญญาได้ในเดือนก.ค.-ส.ค. 2568 ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ในเดือน ก.ย. 2568-ก.ย. 2573 เปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2573

 

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนการจนส่งและจราจร 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ