ชีวิตดีสังคมดี

'ฉนวนกาซา' คุกเปิดใหญ่ที่สุดในโลก ผู้คนแร้นแค้น เจอความขัดแย้งไม่จบสิ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ฉนวนกาซา' เรือนจำเปิดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประชาแออัดความเป็นอยู่สุดแร้นแค้น ยากจน ถูกซ้ำเติมด้วยความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอล-ฮามาส แบบไม่รู้จบ

ความขัดแย้ง อิสราเอล-ฮามาส ยืดเยื้อกินเวลามานานกว่า 1 สัปดาห์ หลังจากที่กลุ่มติดอาวุธฮามาสเปิดฉากบุกโจมตี ทำร้ายร่างกาย ผู้คนใน อิสราเอล ไม่ว่าจะทั้งคนชาติยิว และแรงงานต่างประเทศ นักท่องเที่ยวต่างถูกเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยม เพียงไม่กี่วันต่อวันถึงเวลาโจมตีกลับของ อิสราเอล เพื่อตอบโต้ในสิ่งที่กลุ่มฮามาสกระทำกับพลเมือง จนเกิดเป็นสงครามและความขัดแย้งที่คร่าชีวิตผู้คน และทำลาย "ฉนวนกาซา" และ อิสราเอล จนราบเป็นหน้ากอง ขณะนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตในเหตุความขัดแย้ง อิสราเอล-ฮามาส แล้วว่ากว่า 3,500 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมา

 

 

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอล-ฮามาส เกิดขึ้นเป็นนับพันๆ ปี และไม่มีท่าทีว่าจะจบลงอย่างง่ายๆ แม้ว่าทั้งปาเรสไตน์ และ อิสราเอล จะผ่านการไกลเกลี่ยจากสหประชาชนมาแล้วหลายครั้งจนมีการขีดเส้นแบ่งพรมแดนระหว่าง ชาวยิวและปาเรสไตน์ ออกชัดเจน โดยฝั่งของปาเรสไตน์ ได้ครอบครองพื้นที่ที่เรียกว่า "ฉนวนกาซา" และ เวสต์แบงก์  แม้ว่าจะปาเรสไตน์จะได้ปกครองทั้ง 2 พื้นที่แต่หากพิจารณาตามอาณาเขตแล้วกลับไม่มีแม้แต่ทางเข้าออกที่ทำได้อย่างอิสระ เพราะทั้งน่านฟ้า และน่านน้ำถูกควบคุมโดย อิสราเอล ทั้งหมดมีการจำกัดการเดินทางข้าพรมแดนไม่เพียงวันละหนึ่งร้อยคนเท่านั้น ทำให้ดินแดน ฉนวนกาซา ถูกพูดถึงว่าไม่ต่างอะไรกับ เรือนจำเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

"ฉนวนกาซา" เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณเล็ก ๆ ขนาด 360 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราวๆ 2 ล้านคน นับว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก ประมาณ  5,000 คนต่อตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอล และทางตะวันตกติดทะเล  เมดิเตอร์เรเนียน เหตุที่เรียกว่า "ฉนวนกาซา"  ก็เพราะเขตแดนส่วนนี้ถูกกำหนดขึ้นจากข้อตกลงระหว่างอิสราเอล

 

ฉนวนกาซา

 

เดิมดินแดนที่เรียกว่าอิสราเอลเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด ในช่วงเวลานั้น อาจมีชาวยิวอยู่บ้างที่เป็นชนส่วนน้อย มีอยู่ไม่ถึง 10 % ของประชากรทั้งหมด แต่ปัจจุบัน อิสราเอลบุกเข้าไปยึดครองจนเหลือพื้นที่ให้ปาเรสไตน์มีพื้นที่ไม่ถึง  20%  แถมยังรุกล้ำพื้นที่ที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งนิคมชาวยิวที่ผิดกฏหมายมากมาย หรือการสร้างกำแพงและรั้วลวดหนาม กักบริเวณชาวปาเลสไตน์ไม่ให้ได้ลืมตาอ้างปาก และไม่ให้มีโอกาสติดต่อกับโลกภายนอกได้ง่ายๆ

 

 

อิสราเอลได้อ้างถึงความมั่นคงปลอดภัยของนิคมชาวยิว จึงได้แบ่งพื้นที่กาซาออกเป็น 3 ส่วน แล้วใช้รั้วลวดหนามไฟฟ้ากั้นดินแดนระหว่างกาซากับอิสราเอล นับตั้งแต่ปี 2002 อิสราเอลได้ทยอยส่งครอบครัวชาวปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์ที่ถูกกล่าวอ้างว่ามีส่วนพัวพันกับการก่อการร้าย เข้าไปอยู่ใน "ฉนวนกาซา" ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้รายงานข่าวต่างประเทศมักเรียกดินแดนกาซาว่าเป็นกรงขังขนาดใหญ่ สำหรับชาวปาเลสไตน์

 

 

อย่างไรก็ตามประชากรที่อาศัยใน "ฉนวนกาซา" มีความเป็นอยู่ที่ลำบากแต่ในช่วงหลายปีหลังนับตั้งแต่ 2007 อิสราเอลยังใช้มาตรการปิดล้อม "ฉนวนกาซา"  จำกัดการนำเข้าอาหารการกิน ยารักษาโรค วัสดุก่อสร้าง และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ด่านพรมแดนต่างๆ ทั้งที่จะข้ามไปอียิปต์และอิสราเอลก็ถูกปิด สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนเปรียบเสมือนถูกลงโทษอยู่ในคุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

 

ทำไม เรียก "ฉนวนกาซา"

 

ในภาษาอังกฤษ Gaza Strip คำว่า Strip เองมีความหมายถึงดินแดนที่มีลักษณะแคบๆ เป็นแถบยาว หรือ ดินแดนที่แยกดินแดนอื่นออกเป็น 2 ฟาก หรือดินแดนที่มีทางออกทะเล และความหมายนี้จะถูกนำมาใช้นำหน้า corridor หรือช่องทางคมนาคม

"ฉนวนกาซา" ไม่ใช่พื้นที่เดียวที่ถูกเรียกว่าฉนวน ในโลกนี้มีพื้นที่ที่ถูกเรียกว่าฉนวนหลายแห่ง  ทั้งนี้ ฉนวนนกาซา ก็มีอีกพื้นที่ซึ่งเป็นฉนวน เหมือนกัน คือ ฉนวนฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia Corridor) พื้นที่แคบๆ แค่ 14 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพของอียิปต์-อิสราเอล ในปี 1979

 

 

 

ที่มา: 

รู้จัก ‘ฉนวนกาซ่า’ เข้าใจวิกฤติตะวันออกกลาง - ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย Thai World Affairs Center

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ