ชีวิตดีสังคมดี

'ชัชชาติ' ชู 3 โมเดลดันกรุงเทพฯเมืองสุขภาพดี ดูแลคนแก่ ป่วยซึมเศร้า PM2.5

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ชัชชาติ' ชู 3 แนวทาง ผลักดันกรุงเทพฯให้เป็นสุขภาพดี สุขภาวะดี เพิ่มศักยภาพระบบเส้นเลือดฝอยให้แข็งแรงดูแลทั้งผู้อายุ วัยทำงาน ป่วยซึมเศร้า จัดการฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ต้นทาง

THAN FORUM 2023  HEALTH AND WELLNESS SUSTAINABILITY  งานเสวนาที่เป็นการระดมผู้เชี่ยวชาญในวงการแพทย์ การดูแลสุขภาพของประชาชนคนไทยให้มีความยั่งยืน ภายใต้การนำเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมไปถึงการแก้ไข หรือปรับปรุงระบบริการทางการแพทย์และด้านสาธารณสุขให้เกิดประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

 

โดย นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชกากรรุงเทพมหานคร (ผว.กทม.) ได้กล่าวปาฐกถา HEALTH IN THE CITY และระบบการดูแลระบบสุขภาวะ และสุขภาพของคนกรุงเทพผ่านโมเดลเส้นเลือดฝอยด้วยการสร้างให้ประชาชนได้เข้าใกล้ระบบสาธารณะสุขได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเท่าเทียมกัน ผ่านโครงการและรูปแบบการดำเนินการที่ผสมผสานระหว่างการนำเทคโนโลยีมาให้ รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพให้แก่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

นาย ชัชชาติ กล่าวระหว่างการปาถกฐาถึงความสำคัญกับการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนในเมืองหลวง ว่า เมืองหลวงที่มีจำนวนคนอาศัยอยู่จำนวนมากย่อมเป็นแหล่งการเกิดการโรคระบาด และเกิดอัตราการเสียชีวิตได้สูงกว่าเมืองอื่นๆ อย่างเช่นการเกิดการระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมาคนที่อาศัยกรุงเทพฯเกิดการติดเชื้อ และเสียชีวิตมากกว่าต่างจังหวัด ดังนั้นความท้าท้ายในการบริหารจัดการด้านสุขภาวะ และระบบสาธารณสุข จึงเป็นเป็นที่อีกภาระกิจหนึ่งของการบริการเมืองหลวง หลายคนอาจจะมองว่าการจัดการระบบผังเมือง การจัดการปัญหาการจราจรเป็นเรื่องหลัก ๆ ที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.)จะต้องจัดการ แต่ในความเป็นจริงการสร้างสุขภาพที่ดี ระบบสาธารณสุขที่ดี และลดผลกระทบด้านสุขภาพให้กับประชาชนถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องให้ความสำคัญมากพอ ๆ  กับ การทุ่มงบประมาณไปกับการจัดการขยะ หรือการแก้ปัญหาด้านโครงกสร้างพื้นฐาน

แน่นอนว่าเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองที่ดีย่อมมาจากการที่ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพที่ดี ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ จะต้องทำให้ประชาชนกันมาดุแลตัวเองให้มากยิ่งขึ้นก่อนที่ประชาชนจะวิ่งมาหาหมอ เพราะการมาหาหมอถือว่าเป็นวิธีการสุดท้ายที่ กทม.ต้องการให้คนกรุงเทพฯนึกถึงเพราะคำว่าสุขภาพที่ดีจะนำมาซึ่งเมืองที่ดีเสมอ

 

THAN FORUM 2023

 

สำหรับกรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเมืองหลวงที่ผู้คนต่างใช้ชีวิตแบบเร่งรีบจนลืมดูแลตัวเองส่งให้ปัจจุบันคนกรุงเทพฯเป็นโรค NCDs หรือ โรคเรื้อรังไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน หลอดเลือด โรคอ้วน โรคหัวใจ จำนวนมากและยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย ส่วนใหญ่พบว่าคนทีเป็นโรคดังกล่าวเป็นผลมาตากพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งสิ้น

 

 

นาย ชัชชาติ กล่าวต่อว่า กรุงเทพฯ มีผู้ป่วยเกินค่าเฉลี่ยประเทศทุกโรค โดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุงที่สูงกว่าประเทศ 17%  มีประชาชนที่เป็นภาวะดังกล่าว 56.1% รวมไปถึงภาวะคอเลสเตอรอลสูงซึ่งมีมากถึง 66.4% โรคความดันโลหิตสูง 27.2% ภาวะเสี่ยงเบาหวาน 13.2% และโรคเบาเหวาน 12.5%  โดยภาวะเหล่านี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัย การรักษา หรือควบคุมไม่ดี จะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งผลที่ตามมาคือจะทำให้คน กทม. มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง และกทม.จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น

 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

โดยแนวคิดการดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ นาย ชัชชาติ ได้เสนอ 3 แนวทาง ซึ่งเป็นไปตาม โมเดลการดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพมหานคร ตามนโยบายสุขภาพดี ดังนี้

 

1.เส้นเลือดฝอยและสุขภาพคนกรุง

ปัจจุบันกทม.มีงบประมาณ ราว 80,000 ล้านบาท โดยเป็นการใช้งบประมาณด้านสาธารณสุข ราว 7,000 ล้านบาท คิดเป็น 8.8% ของงบประมาณทั้งหมด  ปัญหาระบบสาธาสุขไม่ได้อยู่ระบบเส้นเลือดใหญ่เพราะถือว่ามีความแข็งแรงมากแล้ว เพราะมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่สิ่งที่ต้องทำให้แข็งแรงขึ้นคือ ระบบเส้นเลือดฝอยโดยเฉพาะระบบสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ  ดังนั้นสิ่งที่กทม.จะต้องเร่งดำนเนินการคือ ยกระดับ ศูนย์สาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลประชาชนในพื้นที่ โดยเพิ่มบริการคลีนิคพิเศษเฉพาะทาง บริการคลีนิคนอกเวลา รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายบริการชุมชนในพื้นที่  เพิ่มศักยภาพเชื่อมโยงการรักษาโรงพยาบาลแม่ข่ายโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้มากขึ้น

 

2.สังคมผู้สูงอายุและโรคคนเมือง

กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีผู้สูงอายุและวัยทำงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พบว่าปัญหาผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่น่ากังวลและกทม.จะต้องเข้าไปดูแลใกล้ชิด โดยเฉพาะการป้องกันโรคเพราะขณะนี้พบว่า ผู้สุงอายุในกทม.ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง ไม่ว่าโรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ดังนั้นกทม.จึงส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ออกมาทำกิจกรรเปลี่ยนพฤติกรรมจากติดเตียงเป็นติดเพื่อน ด้วยการสร้างชมรมผู้สูงอายุในชุมชน

 

ขณะเดียวกับยังพบว่า นอกจากการป่วยทางกายแล้ว นายชัชชาติยังระบุต่อไปว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่พบผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตจำนวนมาก ในปีที่ผ่านมาพบสูงถึง 7,500 ราย กว่า 60% อยู่ในวัยทำงานอายุประมาณ 21-59 ปี โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 4,227 และ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 3,327 ราย

 

ปัญหาในข้างต้นทั้งหมดถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดูแล และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพจิตที่พบว่าการเข้าถึระบบการรักษาต้องใช้เวลารอนานมากถึง 3-4 เดือน และจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโจทย์ท้าทายของการเมืองที่มีดีสุขภาพดีและยั่งยืนของกทม.ในวันนี้คือดูแลให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการทางแพทย์รวดเร็ว และสะดวก

 

3.ปัญหาโรคทางเดินหายใจ

ปัญหาดังกล่าวคงหนี้ไม่พ้นเรื่องปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯโดยเฉพาะปัญหาฝุ่น  PM 2.5 มาก ซึ่งพบว่ามาจากแหล่งกำเนิดฝุ่นและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ดังนั้นสิ่งที่กทม.จะทำได้คือการควบคุมต้นกำเนิดฝุ่นเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนโดยเฉพาะในช่วงอากาศปิด ผ่านการตั้งศูนย์ฝุ่นสำหรับติดตามสถานการณ์ฝุ่น การเผาในพื้นที่ และเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 โดยเป็นการพยากรณ์ล่วงหน้า 3 วัน และแจ้งให้ประชาชนทราบผ่าน Line Alert การปูพรมตรวจรถควันดำตั้งแต่ต้นทางขณะนี้ตรวจไปแล้ว  109,792 คัน สถานประกอบการ 4,800  ครั้ง และแพลนท์ปูน 583 ครั้ง

 

รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านโครงการต้นไม้ล้านต้น เพื่อดูซับฝุ่นละออง ขณะนี้ปลูกไปทั้งหมด 273,602 ต้น  ยอดจองปลูกต้นไม้ 1,641,310 ต้น  กทม.คาดหวังว่าในอนาคตต้นไม้เหล่านี้จะโตขึ้นและช่วยดูดซับมลภาวะในอากาศและสร้างปอดที่มีคุณภาพให้กับคนกรุงเทพฯได้

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ