เส้นทาง "กากแคดเมียม" ขุดขึ้นมาจากหลุม มีมูลค่ามหาศาล กับปริศนาเอาไปทำอะไร
สรุปเส้นทาง "กากแคดเมียม" จาก ตาก ถึง สมุทรสาคร สู่ ชลบุรี ขุดขึ้นมาจากหลุมฝั่งกลบ เพราะมีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ กับปริศนาเอาไปใช้ทำอะไรกันแน่
สร้างความหวาดวิตกกันไปทั่วหลังจากที่ "กากแคดเมียม" สารอันตรายต่อร่างกายโผล่ที่จ.สมุทรสาคร จำนวนกว่า 1,000 ถุง น้ำหนักรวม 2,440 ตัน เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมาที่ผ่านมา เหตุการณ์ดังกล่าวชวนให้สงสัยไม่น้อยว่า "กากแคดเมียม" จำนวนมากทำไมถึงถูกซุกไว้ใกล้แหล่งชุมชนขนาดนี้ เพราะในทางอุตสาหกรรม สารแคดเมียม หรือ "กากแคดเมียม" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมกรทำเหมือง แม้ว่าจะมีอันตรายมาก และในทางเศรษฐกิจก็มีมูลค่ามาเช่นกัน
นับเป็นเวลาเกือบ 10 วัน ที่มีการสาวเส้นทาง "กากแคดเมียม" และเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจค้นดรงงานต้องสงสัย และทำการอายัด "กากแคดเมียม" เอาไว้ พร้อมกับประกาศพื้นที่ที่พบกากแคดเมียมให้เป็นพื้นที่อันตาย ไว้ก่อน
สำหรับเส้นทางของ "กากแคดเมียม" ที่โผล่ไปทั่วทุกที่มีจุดเริ่มต้นจากการตรวจพบ ตรวจพบกากสังกะสีและแคดเมียม บรรจุในถุงบิ๊กแบ็กขนาดใหญ่จัดเก็บไว้ในสถานที่ของโรงงานของบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ในพื้นที่ อ.เมืองสมุทรสาคร จำนวนกว่า 1,000 ถุง น้ำหนักรวม 2,440 ตัน เส้นทางการขนย้ายครั้งนี้ เป็นการขนย้ายข้ามจังหวัด โดยมีการตรวจสอบและพบว่า "กากแคดเมียม" ที่เจอนั้น ถูกขุดขึ้นมาจาก หลุ่มฝั่งกลบในพื้นที่ จ.ตาก
จากนั้นเพียงไม่กี่วัน มีการตรวจพบ "กากแคดเมียม" เพิ่มเติมอีกว่า 10,000 ตัน ในพื้นที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี และในจ. สมุทราสาครอย่างน้อยอีก 3 จุด นอกจากนี้ยังพบ กากแคดเมียม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อีก 1 จุด จำนวนกว่า 150 ตัน โดยทั้งพื้นที่ชลบุรี และ กรุงเทพมหานคร ได้มีการออกประกาศพื้นที่ควบคุมห้ามอยู่อาศัย หรือดำเนินกิจการไปแล้วเรียบร้อย เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบ เพราะอย่างทราบกันดีว่า กากแคดเมียม จัดเป็นโลหะหนัก ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางอากาศ และการสัมผัสโดยตรง
- ย้อนเส้นทาง "กากแคดเมียม" ใน พื้นที่ จ. ตาก ทำไมเป็นแหล่งฝั่งกลบขนาดใหญ่
ข้อมูลจาก มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ระบุว่า ในปี 2561 ตามข้อกำหนดมาตรการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยสถานที่ฝังกลับตั้งอยู่ในโครงการโรงถลุงสังกะสี บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) พื้นที่ 2,500 ไร่ ที่ จ.ตาก ที่ผ่านมา "กากแคดเมียม" ถือว่า ของเสียอันตรายจากการทำเหมือง ซึ่งมีการฝังกลบแบบปลอดภัยไปแล้วในบ่อ 7 แห่ง และปิดบ่อไปแล้วตามข้อกฎหมายข้างต้น
ที่ผ่านมา บมจ. เบาด์ แอนด์ บียอนด์ หรือชื่อเดิมคือ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) มีการขออนุญาตขนย้าย "กากแคดเมียม" เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2566 และเริ่มขนย้ายในเดือน ก.ค.2566 โดยขนย้ายเที่ยวสุดท้ายออกจากพื้นที่เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2567 ระยะเวลาขนย้ายกว่า 8 เดือน
- ตอนนี้ "กากแคดเมียม" อยู่ที่ไหนของประเทศไทยบ้าง
ข้อมูลจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ระบุว่า ตรวจพบในโรงงาน ในพื้นที่จ.สมุทรสาคร ได้แก่
- บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด หมู่ที่ 2 ต.บางน้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จำนวน 2,440 ตัน
- บริษัท อิฟง จำกัด ใน ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จำนวน 6,720 ตัน
- บริษัท ซิน หงส์ เฉิง อินเตอร์ เทค (2008) จำกัด หมู่ที่ 6 ต.บางน้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จำนวน 1,034 ตัน
- โรงงานแห่งหนึ่งในย่านคลองมะเดื่อ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จำนวนราวๆ 1,000 ตัน
- บริษัท ซิน หงส์ เฉิง อินเตอร์ เทค 2008 จำกัด ใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งพบกากแคดเมียมหนักรวม 1,034 ตัน
เจ้าของเป็นทุนจีน คือ นายจาง เซิน ม่าว เป็นผู้จัดหากากแคดเมียมเพื่อส่งต่อให้กับคนจีนด้วยกันอีกต่อหนึ่ง โดยให้นายหน้าเป็นผู้ติดต่อซื้อกากแคดเมียมจากบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด
- "กากแคดเมียม" ทำไมจึงกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล
หนึ่งตันของ "กากแคดเมียม" เมื่อเสร็จจากการหลอมแล้วจะมีมูลค่ากว่าหนึ่งแสนบาท ซึ่งนี้อาจจะเป็นแรงจูงใจ ให้เกิดการขนย้ายซุกซ้อน กากแคดเมียมเอาไว้ ทั้งนี้ทางอุตสาหกรรม กากแคดเมียม ยังถือว่าเป็นที่ต้องการอย่างมาก และมีการนิยมนำไปใช้ ใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ดังนี้
- ผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟซ้ำได้ หรือแบตเตอรี่แบบนิเกิล-แคดเมียม (Ni-Cd) ซึ่งชาร์จซ้ำได้มากและจ่ายกระแสไฟได้สูงกว่าแบตเตอรี่ลิเทียม
- การชุบโลหะ เนื่องจากแคดเมียมมีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนสูง จึงสามารถนำไปชุบเคลือบโลหะอื่นเพื่อป้องกันสนิมหรือการกัดกร่อน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติลดแรงเสียดทาน จึงนิยมใช้เคลือบชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีการเสียดสี
- การผลิตสี เพราะเม็ดสีจากแคดเมียม จะให้ได้ เหลืองสด สีส้ม สีแดง ที่ทนทานต่อแสงและการกัดกร่อนของสารเคมี