ชีวิตดีสังคมดี

กระเป๋า 'ถุงน้ำยาล้างไต' พลาสติกเหนียวเท่าหนังวัว ใช้ได้นานชั่วชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปลี่ยน 'ถุงน้ำยาล้างไต' พลาสติกเหนียวแน่นเท่าหนังวัวเป็นกระเป๋ารักษ์โลก ทนทานใช้ได้นานชั่วชีวิตคนซื้อ มาพร้อมแนวคิด Upcycling ขยะพลาสติกแบบ 100% จัดการให้อยู่แบบถูกที่ถูกทาง

ขยะจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" ขยะพลาสติดอีกหนึ่งประเภทที่ถูกกำจัดและทิ้งแบบผิดวิธีมาโดยตลอด ปัจจุบันในประเทศไทยมีขยะพพลาสติกจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" ราวๆ 1 ล้านใบต่อเดือน เพราะผู้ป่วยโลกไต 1 คน จะต้องล้างไตผ่านทางหน้าท้องวันละ 4 เวลา และใช้ถุงน้ำยาล้างไตมากถึง  4 ถุงต่อวัน 

 

 

ทำให้ขยะพลาสติกจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" มีจำนวนมากในประเทศไทย  และขยะเหล่านี้ยากต่อการทำลาย และใช้เวลานานหลายปีในการย่อยสลาย เนื่องจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" ทำมาจากพลาสติกประเภท PVC ซึ่งมีความเหนียว และย่อยสลายได้ยาก บ่อยครั้งที่เรามักจะเจอว่าถึงน้ำยาล้างไตถูกทิ้งตามท้องนา ริมถนน และไม่ได้รับการกำจัดที่ถูกวิธี   Scarp Shop ศูนย์พัฒนาออกแบบ ให้คำปรึกษาในการออกแบบพัฒนาและผลิตภัณฑ์จากเศษวัสุ  โดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่ "ถุงน้ำยาล้างไต" พร้อมกับจัดการกับขยะพลาสติกทีมีคุณภาพเหนียวแน่น คงทนเทียบเท่าหนังวัวให้อยู่แบบถูกที่ถูกทาง เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ ตั้งแต่ผู้ป่วยยันชุมชน จึงได้เริ่มต้นออกแบบ กระเป๋ารักษ์โลกจาก "ถุงน้ำยาล้างไต"

คมชัดลึก ได้มีโอกาสพูดคุยถึงแนวคิดการทำกระเป๋ารักษ์โลกจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" ที่ใช้ ถุงน้ำยาล้างไตจากผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทยแบบ 100% โดย นายสุทธิพงษ์ ช่างแย้ม ผู้ช่วยผู้จัดการ  Scarp Shop ได้ถ่ายทอดแนวคิดการรังสรรค์กระเป๋าจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการ อัพไซคลิ่ง (Upcycling) และเพิ่มมูลค่าให้แก่ขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง ก็คือ ผู้ป่วย ไปจนถึง ชุมชนที่รับรีดถึงนน้ำยาล้างไตก่อนที่ Scarp Shop จะนำมาขึ้นรูปออกแบบเป็นกระเป๋าสุดทนทานที่สามารถใช้ได้ตลอดชั่วชีวิตคนซื้อ 

 

กระเป๋ารักษ์โลกจากถุงน้ำยาล้างไต

  • จุดเริ่มต้น กระเป๋ารักษ์โลกจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" 

ก่อนจะกลายมาเป็นกระเป๋ารักโลกษ์ "ถุงน้ำยาล้างไต"  เคยถูกทิ้งอยู่ตามท้องนาจำนวนมาก เพราะผู้ป่วยที่ใช้ถุงน้ำยาล้างไตเสร็จแล้วไม่รู้วิธีการเพิ่มมูลค่า หรือการกำจัดขยะพลาสติกที่ถูกวิธี คำบอกเล่าของ ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน Scarp Shop หลังจากนั้นเพื่อนของ รศ.ดร.สิงห์ เห็นว่าลวดลายฉลากบนถุงน้ำยาล้างไตมีความสวยงาม อีกทั้งพลาสติกยังเหนียวและทนทาน จึงนำถึงน้ำยาล้างไตที่ผ่านการใช้งานแล้วมาให้อาจารย์สิงห์ต่อยอดเพื่อทำการ Upcycling และออกแบบเป็นกระเป๋า เพื่อจัดการให้ขยะเหล่านี้อยู่ในที่ในทาง ที่ถูกต้อง และสามารถสร้างประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และผู้ป่วยได้มากกว่าการที่นำถุงน้ำยาล้างไตที่ใช้แล้วเร่ขายให้แก่คนรับซื้อของเก่าตามชุมชนเท่านั้น 

 

ถุงน้ำยาล้างไต

 

 

  • ลดขยะพลาสติก Upcycling 100% จัดการให้อยู่ถูกที่ถูกทาง 

นายสุทธิพงษ์ อธิบายถึงขั้นตอนการนำถุงน้ำยาล้างไตมาเปลี่ยนเป็น ว่า  Scarp Shop  และทีมงานต้องการที่จะลดขยะพลาสติกในระบบให้ลดลง โดยเฉพาะถึงน้ำยาล้างไต ที่หากกำจัดไม่ถูกวิธีจะต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย เพราะเป็นพลาสติกคุณภาพดี ดังนั้นการนำ "ถุงน้ำยาล้างไต" มาทำกระเป๋าจึงเป็นกระบวนการ  Upcycling ขยะพลาสติกได้แบบ 100%  เพราะในกระบวนการทำงานตั้งแต่การล้าง รีดถุงน้ำยาล้างไต จนการนำมาขึ้นรูป เหลือเศษพลาสติกเพียงแค่ 5 % เท่านั้น เพราะเราพยายามใช้ถุงน้ำยาล้างไตให้ได้ทุกส่วนแบบไม่คืนขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบ 

ส่วนการคัดเลือกถุงที่จะมาใช้เจาะจงเป็นถุงบนซึ่งเป็นถุงสำหรับให้สารอาหารแก่ผู้ป่วย และมาจากผู้ป่วยที่ไม่มีโรคติดต่อเท่านั้น นอกจากนั้น ก่อนจะนำมาเข้ากระบวนการต่างๆ ต้องผ่านการล้าง ฆ่าเชื้อ เพื่อความมั่นใจด้านความสะอาดปลอดภัย

 

กระเป๋ารักษ์โลกจากถุงน้ำยาล้างไต

 

 

  • เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ตั้งผู้ป่วยโรคไตยันคุณป้าในชุมชน 

แน่นอนว่าการจะนำ "ถุงน้ำยาล้างไต" เข้ามาสู่กระบวนการ  Upcycling จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือ และการให้ความรู้ตั้งแต่ผู้ป่วยโรคไต ไปจนถึง ชุมชนที่ช่วย  Scarp Shop ในการรีดถุงน้ำยาล้างไตก่อนจะมาตัดเย็บกระเป๋า 1 ใบ โดยที่ผ่านมาทาง Scarp Shop ได้เข้าไปให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไต ในการทำความสะอาดถุงน้ำยาล้างไตก่อนจะนำมาส่งขายกับ Scarp Shop ปัจจุบันเรารับซื้อถุงน้ำยาล้างไตกิโลกรัมละ 35-40 บาท หากส่งมาจากขนส่งจะรับซื้อที่ราคา 20-25 บาท แต่ทาง Scarp Shop จะเป็นผู้ออกค่าขนส่งให้ ซึ่งให้ราคาสูงกว่าการส่งขายกับรถซาเล้ง หลังจากที่ได้ถุงน้ำยาล้างไต มาแล้วก็จะนำไปส่งต่อเพื่อจ้างคุณป้าในพื้นที่แฟลตดินแดง เพื่อทำการรีดถึงน้ำยาล้างไต ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำมาขึ้นรูปเป็นกระเป๋ารักษ์โลกที่ได้ออกแบบไว้  โดยการขั้นตอนการตัดเย็บทางร้านพยายามจะหาธุรกิจตัดเย็บระดับ SME เพื่อรับขึ้นรูปกระเป๋าที่มีรายละเอียดเยอะๆ ส่วนแบบง่ายๆ ก็จะจ้างช่างระดับชุมชนทำ เพื่อเป็นการกระจายรายได้ และเพื่อเป็นอาชีพเสริมอีกทาง

 

 

"ตอนนี้เราต้องการถุงน้ำยาล้างไตจำนวนมาก หากผู้ป่วยที่ทำการรักษาและล้างไตผ่านทางหน้าท้อง สามารถทำความสะอาดถุงน้ำยาล้างไต ย้ำว่าเป็นถุงด้านบนเท่านั้น และส่งมาให้แก่  Scarp Shop ได้เลยส่วนราคาจะพิจารณาตามความสมบูรณ์ของสภาพถุงน้ำยาล้างไต ปัจจุบันเราต้องการถึงน้ำยาล้างไตสำหรับทำกระเป๋าราวๆ 80,000 ถุงต่อปี ดังนั้นหากบ้านไหนมีผู้ป่วยโรคไตที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องก็สามารถติดต่อเพื่อส่งถุงน้ำยาล้างไตเข้ามาได้เลยเรารับไม่อั้น นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้แล้วเรายังมองว่าเป็นการจัดการขยะจากถุงน้ำยาล้างไตให้อยู่ถูกที่ด้วย" คำบอกเล่าของผู้ช่วยผู้จัดการร้าน Scarp Shop 

 

ขอบคุณภาพจาก Scarp Shop

 

 

  • กระเป๋ารักษ์โลกจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" โกอินเตอร์โดนใจต่างชาติ  

กระเป๋ารักษ์โลกจากถุงน้ำยาล้างไตเริ่มเป็นที่รู้จักและกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจจากต่างชาติมากยิ่งขึ้น นายสุทธิพงษ์ เล่าต่อว่า Scarp Shop เริ่มต้นทำกระเป๋าจาก "ถุงน้ำยาล้างไต" เกือบ 10 ปี ช่วงแรกยังไม่เป็นที่นิยมมากหนักโดยเฉพาะในกลุ่มคนไทย เพราะหลายคนยังคงกังวลเรื่องความปลอดภัยและความสะอาดอยู่ แต่ปัจจุบันคนไทยเปิดใจกับสินค้าจากการ Upcycling มากขึ้น ส่วนต่างชาติต้องบอกว่ากระเป๋าของร้านเป็นที่นิยมมาก ๆ ตอนนี้เรามีออร์เดอร์เข้ามาสำหรับส่งไปขายที่ต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ เพราะต่างชาตินิยมใช้สินค้าที่มาจากการ  Upcycling มากกว่าคนไทย และยิ่งสินค้านั้นมีเรื่องราวยิ่งสร้างความประทับใจมากขึ้น ดังนั้นตอนนี้หลักๆ เราจึงผลิตกระเป๋าจากถุงน้ำยาล้างไต เพื่อขายให้แก่ต่างชาติมากกว่า แต่หากคนไทยอยากอุดหนุนก็สามารถเข้ามาจับจองหรือซื้อหาได้ที่ร้าน  Scarp Shop มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร บางเขน ร้าน  ODS Siam Discovery ร้าน Bacc shop 

 

 

 

"ความต้องการที่มากขึ้น ทำให้เราต้องการถุงน้ำยาล้างไตมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องการให้คนไทยเป็นโรคไต เพราะตราบใดที่คนไทยสุขภาพย่อมดีกว่าการที่เราจะต้องมานั่งผลิตกระเป๋าจากถุงน้ำยาล้างไต แต่ ณ ตอนนี้ประเทศไทยมีขยะพลาสติกจากถุงน้ำยาล้างไตจำนวนมากแนวคิดหลักๆ ของเราต้องการที่จะทำให้มันอยู่ถูกที่ถูกทางไม่สร้างมลภาวะให้แก่โลก และเพิ่มรายได้สำหรับครอบครัวที่มีผู้ป่วยต้องล้างไตผ่านทางหน้าท้อง" นายสุทธิพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย 
 

 

กระเป๋ารักษ์โลกถุงน้ำยาล้างไต

 

กรเป๋ารักษ์โลกถุงน้ำยาล้างไต

 

ที่อยู่สำหรับจัดส่งถุงน้ำยาล้างไตให้แก่  Scarp Shop

 Scarp Shop คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร: 093-669-9244 Facebook : Scarp Shop ร้านรักษ์โลก 

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ