ชีวิตดีสังคมดี

'สถานการณ์น้ำโขง' เสี่ยงอุทกภัยใหญ่ เตือน 10-15 ส.ค. 8 จว.ระวังท่วมฉับพลัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'สถานการณ์น้ำโขง' เสี่ยงล้น ระดับน้ำสูงต่อเนื่อง ฝนที่ลาว-ไทยตกหนักต่อเนื่อง 8 จังหวัดไทยริมโขง เสี่ยงประสบภัยน้ำท่วม ระหว่าง 10-15 ส.ค. นี้ สทนช.ประสานด่วนจีน-ลาว ช่วยควบคุมการปล่อยน้ำจากเขื่อน

"ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล" เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้รายงาน "สถานการณ์น้ำโขง" ว่า สถานการณ์ฝนที่ตกหนักสะสมในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง และบริเวณแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมาก

 

 

 

สถานการณ์แม่น้ำโขง วันที่ 11 ส.ค. 2566

 

 

 

ส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

ช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 2566 ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2566 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง โดยมีการประสานข้อมูลการคาดการณ์สถานการณ์น้ำฝนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) มาอย่างต่อเนื่อง 

 

 

 

ระดับแม่น้ำโขงสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

ดังนั้น นอกจากการออกประกาศ กอนช.เพื่อแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการป้องกันผลกระทบให้กับพี่น้องประชาชนริมน้ำโขงแล้ว ล่าสุด สทนช.ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยได้ประสานไปยัง MRCS ให้ติดตาม "สถานการณ์น้ำโขง" อย่างใกล้ชิด และแจ้งให้ประเทศสมาชิกรับทราบต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการป้องกันและรับมือหากเกิดสถานการณ์อุทกภัย

 

 

 

 

ระดับแม่น้ำโขงสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

 

 

รวมถึงขอความร่วมมือ MRCS ประสานกับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ให้ช่วยบริหารน้ำจากเขื่อนต่างๆ ที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยจากสาเหตุระดับน้ำโขงสูงจนกว่า "สถานการณ์น้ำโขง" จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

 

 

 

สำหรับ "สถานการณ์น้ำโขง" ในสถานีต่างๆ ปัจจุบัน พบว่า ยังต่ำกว่าระดับตลิ่ง โดยบริเวณ "สถานีเชียงแสน" จ.เชียงราย ระดับน้ำ 4.60 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 8.20 ม.) ลดลงประมาณ 0.64 ม. จากเมื่อวาน 

 

 

 

"สถานีเชียงคาน" จ.เลย ระดับน้ำ 12.56 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.44 ม.) ลดลงประมาณ 1.17 ม. จากเมื่อวาน 

 

 

 

"สถานีหนองคาย" จ.หนองคาย ระดับน้ำ 10.91 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 1.29 ม.) ลดลงประมาณ 0.44 ม. จากเมื่อวาน  

 

 

 

"สถานีบึงกาฬ" จ.บึงกาฬ ระดับน้ำ 10.97 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 1.24 ม.) เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.20 ม. จากเมื่อวาน 

 

 

 

"สถานีนครพนม" จ.นครพนม ระดับน้ำ 11.11 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.89 ม.) เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.24 ม. จากเมื่อวาน

 

 

 

"สถานีมุกดาหาร" จ.มุกดาหาร ระดับน้ำ 9.97 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.53 ม.) เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.22 ม. จากเมื่อวาน  

 

 

 

"สถานีอำนาจเจริญ" จ.อำนาจเจริญ ปัจจุบันมีระดับน้ำ 7.13 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.17 ม.) เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.25 ม. จากเมื่อวาน 

 

 

 

"สถานีโขงเจียม" จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 11.04 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.46 ม.) เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.25 ม. จากเมื่อวาน 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมาย สทนช.ภาค 3 ลงพื้นที่ติดตาม "สถานการณ์น้ำโขง" อย่างใกล้ชิดเพื่อประสานแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนจังหวัดริมน้ำโขงที่อาจะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ