คอลัมนิสต์

'ทอน' ไม่รู้ โค่น 'นายกเล็ก 101'เหมือนโค่นหอโหวด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สนามนายกเล็กร้อยเอ็ด "ธนาธร" ย่องเงียบหาเสียง เจอคู่แข่งสายแกร่ง ตระกูล "จุรีมาศ" ผูกขาดท้องถิ่นมา 40 กว่าปีแล้ว คอลัมน์ .. ท่องยุทธภพ โดย .. ขุนน้ำหมึก

++
    ดังที่ทราบกัน เลือกตั้งท้องถิ่นเทศบาลรอบนี้ คณะก้าวหน้า ไม่ออกรบเต็มรูปแบบเหมือนตอนเลือกตั้งนายก อบจ. และสภา อบจ. เนื่องจากมีผู้อาสาลงสนามเทศบาลจำนวนไม่มาก แถมสมัครในสนามเทศบาลตำบลเสียเป็นส่วนใหญ่
    อย่างไรก็ดี “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ประธานคณะก้าวหน้า ก็ไม่ปล่อยให้ผู้สมัครนายก เทศมนตรี ต้องว้าเหว่จนเกินไป จึงวางคิวเดินสายเยี่ยมเยียนในบางจังหวัด แต่ไม่ขึ้นรถแห่ ไม่ขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่
    วันที่ 18 มี.ค.2564 ธนาธรเดินทางพบปะผู้สมัครนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล ในนามคณะก้าวหน้าที่ จ.ร้อยเอ็ด เตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับเทศบาล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 มี.ค.2564
    ตอนกลางวัน  “ธนาธร” แวะไปพูดคุยกับทีมงานผู้สมัครนายกเทศมนตรีตำบลอาจสามารถ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด และค่ำๆ จึงแวะไปพบปะทีมของ “ทนายโก้” พงศ์กรณ์ ตั้งกิตติ์ตระกูล ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในนามคณะก้าวหน้า ร้อยเอ็ด

\'ทอน\' ไม่รู้ โค่น \'นายกเล็ก 101\'เหมือนโค่นหอโหวด

ทนายโก้ และธนาธร


    “ทนายโก้” เป็นประธานสภาทนายความจังหวัดร้อยเอ็ด ทีมผู้สมัครสภาเทศบาลส่วนใหญ่ จึงมีอาชีพทนายความ
    คู่แข่งของทนายโก้คือ “บรรจง โฆษิตจิรนันท์” นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด 5 สมัย ในนามกลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น ผู้สร้าง “หอโหวด” แลนมาร์คท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองร้อยเอ็ด

\'ทอน\' ไม่รู้ โค่น \'นายกเล็ก 101\'เหมือนโค่นหอโหวด

หอโหวด ผลงานของบรรจง สมัยนั่งนายกเล็กร้อยเอ็ด

++
อดีตกลุ่ม 16
++ 
    ย้อนไปเมื่อการเลือกตั้ง 22 มี.ค.2535 สนามเลือกตั้งร้อยเอ็ด ได้ ส.ส.เลือดใหม่เข้าสภาฯ 2 คนคือ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ พรรคสามัคคีธรรม และเศกสิทธิ์ ไวยนิยมพงศ์ พรรคความหวังใหม่
    เนื่องจาก “บรรจง” อดีตพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นลูกเขยของ ถวิล จุรีมาศ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด (บรรจงมีภรรยาชื่อ แพทย์หญิงกฤษณา จุรีมาศ) จึงไม่แปลกที่เขาจะเป็น ส.ส.ร้อยเอ็ด 

 

\'ทอน\' ไม่รู้ โค่น \'นายกเล็ก 101\'เหมือนโค่นหอโหวด

บรรจง นายกเล็กร้อยเอ็ด 5 สมัย


    เลือกตั้งทั่วไป 13 ก.ย.2535 บรรจงย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา ก็ได้เป็น ส.ส.สมัยที่ 2 และช่วงนี้เองที่บรรจงได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม 16 ที่มี สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม 
    แม้จะมาจากฐานเสียงตระกูล “จุรีมาศ” แต่บรรจงก็แยกกันเดินกับ “อนุรักษ์ จุรีมาศ” ที่สังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นวิถีคนการเมืองท้องถิ่นที่ไม่อยากเป็นศัตรูกับผู้มีอำนาจสมัยนั้น
    หลังยุบสภาปี 2538 “บรรจง” ก็หันหลังให้การเมืองระดับชาติ และกระโจนสู่สนามท้องถิ่น โดยเป็นหัวหน้ากลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น ลงสมัครสมาชิกสภาเทศบาลร้อยเอ็ด ตอนนั้น ระบบเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ยังเป็นการเลือกทางอ้อม กลุ่มไหนมีเสียงข้างมาก ได้เป็นนายกเทศมนตรี
    กลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น ได้ 14 เสียง บรรจงเป็นนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และปี 2542 เป็นนายกเล็กต่อมาอีกสมัย กระทั่งมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ปี 2547 บรรจงก็ได้รับเลือกให้นายกเล็กร้อยเอ็ดเรื่อยมา จนถึงสมัยที่แล้ว 
    ไม่แปลกหรอกที่ตระกูล “จุรีมาศ” แทบจะผูกขาด ส.ส.เขต 1 ร้อยเอ็ด เพราะฐานที่มั่นเทศบาลนั้น มั่นคงและยาวนาน 

++
คนจีนกับการเมืองท้องถิ่น
++
    ตอนที่มีการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชอบพูดเรื่อง “บ้านใหญ่” หรือการเมืองอุปถัมภ์ท้องถิ่น แต่พอถึงเลือกตั้งเทศบาล ธนาธรไม่เอ่ยคำว่า “บ้านใหญ่” เลย เพราะเขาถูกประชาชนสั่งสอน โดยการเลือก “บ้านใหญ่”เป็นนายก อบจ.มาแล้ว
    จริงๆแล้ว ธนาธรได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ น่าจะหางานวิชาการเรื่อง “วิถีและชีวิตของคนจีนอีสานกับการขยายเมือง : ศึกษาเฉพาะร้อยเอ็ด และมหาสารคาม” ของ นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร มาอ่าน
    ตอนหนึ่ง มีการคนจีนในร้อยเอ็ด ที่เริ่มเล่นการเมืองในนาม “กลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น” เมื่อปี 2517 โดย “ถวิล จุรีมาศ” อดีตสมาชิกสภาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เจ้าของถวิลภาพยนตร์ ซึ่งเป็นธุรกิจหนังเร่รายใหญ่ ได้จัดตั้งกลุ่มการเมืองท้องถิ่นขึ้นมา
    ถวิล จุรีมาศ เป็นน้องชายของ สมพร จุรีมาศ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด ผู้ล่วงลับ และเป็นพี่ชายของ สมควร จุรีมาศ ซึ่งเป็นบิดา “เสี่ยแกละ” อนุรักษ์ จุรีมาศ ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคชาติไทยพัฒนา
    ตอนที่ตั้งกลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น ถวิลก็จับมือน้องชาย-สมควร และน้องสาว-สมพิศ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล สมพร จุรีมาศ เป็นนายกเล็กร้อยเอ็ด ปี 2518 ก่อนจะลาออกไปสมัคร ส.ส.ร้อยเอ็ด 
    กลุ่มของ “ถวิล” เป็นนายกเทศมนตรี ติดต่อกันมาหลายสมัย โดยวิธีการของกลุ่มนี้ จะให้คนในกลุ่มหมุนเวียนเป็นนายกฯ คราวละ 1 ปี กระทั่งปี 2538 ถวิลส่งไม้ต่อให้ลูกเขย-บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เป็นหัวหน้ากลุ่มพิทักษ์ท้องถิ่น และเป็นนายกเทศมนตรีร้อยเอ็ดติดต่อกัน 5 สมัย
    ตำนานคนจีนกับการเมืองร้อยเอ็ด ยังมีข้อมูลที่น่าศึกษาอีกเยอะ และมิควรด่วนสรุปว่า บ้านใหญ่คือการเมืองอุปถัมภ์เพียงด้านเดียว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ