ข่าว

อัปเดตจัดสรรวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ที่ขอมาไม่เทใคร จะได้กันหมดไหมขอเวลานิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รายงานจัดสรรวัคซีน โควิด-19 ตัวเลือก "ซิโนฟาร์ม" ที่ขอมาไม่เทใคร จะได้กันหมดไหม ขอเวลานิด รายบุคคลธรรมดารอสักหน่อย

23 มิถุนายน 2564 เกาะติดสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ระลอกใหม่ ในประเทศ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงาน เมื่อเวลา 12.30 น. (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564) พบ ผู้ป่วยรายใหม่ 3,174 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 2,392 ราย ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 720 ราย จากเรือนจำ / ที่ต้องขัง 36 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 26 ราย ขณะที่ ผู้ป่วยยืนยันสะสม 199,676 ราย หายป่วยแล้ว 162,351 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 51 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 1,650 ราย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 22 มิถุนายน 2564 มีผู้รับวัคซีน โควิด-19 สะสมทั้งหมด จำนวน 8,148,335 โดส โดยวันที่ 22 มิถุนายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 165,673 ราย และ เข็มที่ 2 จำนวน 75,966 ราย

วัคซัน โควิด-19, โควิด-19, ซิโนฟาร์ม, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

วัคซัน โควิด-19, โควิด-19, ซิโนฟาร์ม, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ล่าสุด ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอรายงานการจัดสรรวัคซีน โควิด-19 ตัวเลือก ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ครั้งที่ 2 ส่วนของ อปท. และบริษัทที่รวมกลุ่มกันมากับสภาอุตสาหกรรม กำลังดำเนินการให้อยู่นะครับ ที่ขอมาไม่เทใคร จะได้กันหมดไหม ขอเวลานิด รายบุคคลธรรมดารอสักหน่อย

วัคซัน โควิด-19, โควิด-19, ซิโนฟาร์ม, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ด้าน นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตามที่มีข่าววัคซีน โควิด-19 ซิโนฟาร์ม ประเทศจีน ลอตแรก จำนวน 1 ล้านโดส ที่จัดหาผ่าน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้องค์กรต่างๆ เป็นวัคซีนทางเลือก หลังจากวัคซีน COVILO ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. ไปเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ถือเป็น วัคซีนทางเลือกยี่ห้อแรกที่นำเข้ามาใช้ในประเทศ

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับตัวอย่างวัคซีน โควิด-19 ซิโนฟาร์ม ที่มีชื่อทางการค้าว่า COVILO จำนวน 7 รุ่นการผลิต ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 หลังจากมาถึงประเทศไทยในวันที่ 20 มิถุนายน 2564 เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางห้องปฏิบัติการ ประกอบการพิจารณาออกหนังสือรับรองรุ่นการผลิต หลังจากได้รับตัวอย่าง ทางสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทำหน้าที่ห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพวัคซีนภาครัฐ ได้เร่งทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทันที ประกอบด้วย การตรวจด้านเอกลักษณ์ ความปลอดภัย และการตรวจลักษณะทางกายภาพ และเคมี ผลตรวจตัวอย่างวัคซีนทั้ง 7 รุ่นการผลิต ในทุกรายการทดสอบ ผ่านตามเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานของวัคซีนตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

ในการรับรองรุ่นการผลิตวัคซีนยังต้องพิจารณาข้อมูลจากเอกสารสรุปกระบวนการผลิตในแต่ละรุ่น ที่ผู้ผลิตส่งมาร่วมกับการตรวจสอบอุณหภูมิของการขนส่งวัคซีน โควิด-19 ตั้งแต่ต้นทางจนถึงสถานที่เก็บวัคซีนภายในประเทศ โดยส่วนเอกสารสรุปกระบวนการผลิตนั้นมีข้อมูลรายงานกระบวนการผลิตและคุณภาพของสารที่ผลิตในแต่ละขั้นตอนที่สำคัญ ตั้งแต่เชื้อไวรัส เซลล์ตั้งต้น สารตัวกลางในแต่ละขั้นตอน จนถึงวัคซีนสำเร็จรูป ซึ่งผลการพิจารณาแสดงให้เห็นว่าวัคซีนทั้ง 7 รุ่นการผลิตที่ส่งมาถึงประเทศไทยนั้น มีกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพที่สอดคล้องตรงตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. และข้อมูลอุณหภูมิการขนส่งวัคซีนที่นำเข้ามาแสดงอุณหภูมิอยู่ในช่วงความเย็นที่เหมาะสมกับการรักษาสภาพความคงตัวของวัคซีน

“จากข้อมูลทั้ง 3 ส่วนข้างต้น คือ 1. ผลการตรวจตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ 2. ผลพิจารณา ข้อมูลกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต และ 3. ผลพิจารณาข้อมูลอุณหภูมิการขนส่ง สรุปได้ว่า วัคซีน โควิด-19 ซิโนฟาร์ม ทั้ง 7 รุ่นการผลิต ผ่านเกณฑ์การรับรองรุ่นการผลิตของประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ออกหนังสือรับรองรุ่นการผลิตวัคซีนทั้ง 7 รุ่นการผลิต จำนวนรวม 1 ล้านโดส ในวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เพื่อให้สามารถนำไปใช้ตามแผนการจัดสรรวัคซีนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงวัคซีนอย่างทันการณ์” นายแพทย์ ศุภกิจ กล่าว

CR : Nithi Mahanonda , ศูนย์ข้อมูล COVID-19

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ