ข่าว

"สถาบันวัคซีน" แจง "สยามไบโอไซเอนซ์" มีศักยภาพในการผลิตวัคซีนโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สถาบันวัคซีน" แจง บริษัท "สยามไบโอไซเอนซ์" มีศักยภาพในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่สุด เนื่องจากเป็นการทบทวนของทาง บริษัท แอสตร้าเซเนก้า ยืนยัน ซึ่งเป็นความพยายามที่ไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน

19 ม.ค.64 ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนโควิดที่เป็นประเด็น กรณีที่มีการกล่าวถึงการทำงานของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข ถึงกระบวนการจัดหาวัคซีนล่าช้า ไม่ครอบคลุมประชากรในประเทศ รวมถึงวัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซเนก้า ที่ผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 
ไทยเริ่มผลิตวัคซีนโควิด 200 ล้านโด๊ส ล็อตแรก พ.ค.64

นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่างไปจากสถานการณ์ปกติโดยทั่วไป เพราะฉะนั้นจะใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอ เป็นการบริหารจัดการในภาวะเร่งด่วน และไม่แน่นอน 

ดังนั้น การจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้าใช้ข้อมูลหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่เจรจาจัดซื้อวัคซีนธรรมดา โดยทั่วๆไป  ต้องพิจารณาข้อมูลรูปแบบของวัคซีนที่ได้มีการพัฒนาอยู่ ว่าเป็นลักษณะอย่างไร และใช้การได้อย่างไร ไม่ได้พิจารณาตามชื่อของบริษัทหรือตามตัววัคซีนเพียงอย่างเดียว  

อย่างกรณี บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ไม่ใช่การจองซื้อโดยทั่วไป แต่เป็นการจองซื้อที่มีข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ประเทศไทยด้วย  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับประเทศไทย บริษัทจำเป็นต้องหาผู้ที่จะมารับเทคโนโลยี ไม่ใช่ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยทั่วๆไปได้ คนที่จะมารับถ่ายทอดในช่วงเวลาเร่งด่วน ต้องเป็นคนที่พร้อมที่สุด มีความสามารถที่สุด ที่คนถ่ายทอดมีความมั่นใจที่สุด  ซึ่งทางบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ก็ได้ทบทวนคุณสมบัติหลายๆบริษัทในประเทศไทย  และก็เห็นได้ว่า มีเพียง บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์  ที่มีศักยภาพในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิต ในด้านการผลิตในรูปแบบ viral vector ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ไม่ใช่จะไปเลือกบริษัทเอกชนรายใดทำก็ได้ แม้กระทั่งองค์การเภสัชกรรมของกระทรวงสาธารณสุขเองก็ยังไม่มีศักยภาพพอ เพราะเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ต้องมีความพร้อมจริง ๆ เพราะเร่งด่วน

โดยกระบวนการคือ แอสตร้าเซเนก้าเป็นผู้คัดเลือก ซึ่งเกิดจากมีเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างเครือ SCG กับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งเครือ SCG ได้เจรจาดึงให้แอสตร้าเซเนก้ามาประเมินสยามไบโอไซเอนซ์ ขณะเดียวกันแอสตร้าเซเนก้าเองก็มีนโยบายขยายฐานกำลังการผลิตไปทั่วโลก และต้องการกำลังการผลิตจำนวนมาก ระดับ 200 ล้านโดสต่อปีขึ้นไป 

นพ.นคร ยังกล่าวอีกว่า การที่ประเทศไทย ได้ข้อตกลงในการทำงานในลักษณะแบบนี้  มีหลายประเทศอยากได้ข้อตกลงแบบเดียวกับไทย มีผู้ที่พยายามจะแข่งให้ได้รับคัดเลือก แต่ด้วยความพยายามของทีมประเทศไทย ทั้งกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ และ SCG ในการเจรจาและแสดงศักยภาพ รวมทั้ง รัฐบาลก็ได้แสดงความมุ่งมั่นในการสนับสนุน พัฒนาศักยภาพ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งเดิมผลิตเพียงแค่ชีววัตถุ ให้สามารถผลิตวัคซีน viral vector โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ 595 ล้านบาท และ SCG สนับสนุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมือต่าง ๆ ให้มีความสามารถสอดคล้องกับคุณสมบัติของแอสตร้าเซเนก้าที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ซึ่งเป็นความพยายามที่ไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน นึกอยากจะทำก็ทำไม่ได้ เราต้องมีพื้นที่ฐานเดิมซึ่งเป็นพื้นฐาน ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานไว้  การที่เรามีต้นทุนด้านคน ความรู้ ศักยภาพที่เรามี จึงเป็นเหตุให้เราได้รับคัดเลือก 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ