ข่าว

การเสียชีวิตของ ตั้ว-ศรัณยู ชวนสงสัย มะเร็งตับเกิดจากอะไรกันแน่?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การเสียชีวิตของ ตั้ว-ศรัณยู นักแสดงและผู้กำกับคนดังวัย 59 ปี ทำหลายชวนสงสัยและต่างตั้งคำถามว่า โรคมะเร็งตับเกิดจากอะไรกันแน่?

การเสียชีวิตของ ตั้ว-ศรัณยู นักแสดงและผู้กำกับคนดังวัย 59 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้หลายคนสงสัยและเกิดคำถามว่า "มะเร็งตับเกิดจากอะไร" กันแน่

อ่านข่าว : หมอเผยเคส "ตั้ว-ศรัณยู" ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย ทำไมตรวจพบจากการที่กระดูกหัก

อ่านข่าว : ฝีมือการแสดง ตั้ว-ศรัณยู ในละครเก้าอี้ขาวในห้องแดง

ซึ่งทางเราได้เข้าไปที่หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับเอาไว้อย่างน่าสนใจ 

อ่านข่าว : "มะเร็งตับ" พบมากเป็นอันดับ 1 ในไทย พร้อมแนะวิธีเช็กอาการและป้องกัน

 

มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่รุนแรงชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้ชายไทย

 

มะเร็งตับพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่าขึ้นไป โรคมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งของเซลล์ตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งโรคมะเร็งท่อน้ำดี จะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ การรักษาโรคมะเร็งตับยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร มีอัตราการรอดชีวิตต่ำมาก

 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดมะเร็งตับ

 

1. ไวรัสตับอักเสบ

ส่วนใหญ่ร้อยละ 75-80 ของผู้ป่วยมะเร็งตับเกิดจากในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร้อยละ 50-55 และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ร้อยละ 25-30 โดยผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงมากกว่าคนที่ไม่เป็นพาหะ ถึง 100-400 เท่า

 

2. เป็นโรคตับแข็ง

 

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

มีการศึกษาพบว่าถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 41-80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 1.5 เท่า และถ้าดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 7.3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน และความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับจะไม่ลดลงแม้ว่าจะหยุดดื่มแล้วก็ตาม

 

4. สารอัลฟลาท็อกซิน Aflatoxin

 

ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางชนิด พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง เป็นต้น ผู้ที่ตรวจพบว่ามีสารอัลฟลาท็อกซิน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ 5.0-9.1 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ตรวจไม่พบสารดังกล่าวในร่างกาย

 

ผู้ใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับ คือ

 

1. ผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งเพศหญิงและชาย ซึ่งมีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1-4 %ต่อปี

 

2. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอดหรือวัยเด็ก และยังไม่มีโรคตับแข็ง แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงในเพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ

 

3. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว

 

การตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับ ไม่แนะนำสำหรับประชากรทั่วไปเนื่องจากมีอัตราการเกิดมะเร็งตับต่ำมาก เพียงประมาณ 0.0005 % ต่อปี เท่านั้น

 

วิธีการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งตับทำได้โดย ตรวจเลือดหาค่า Alfa-fetoprotein (AFP) การทำอัลตร้าซาวน์ตับ (ควรตรวจทุก ๆ 6 เดือน)

วิธีการรักษามะเร็งตับแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

 

1. การรักษาเพื่อหวังผลหายขาด ได้แก่ การรักษาด้วยการทำผ่าตัดหรือการเปลี่ยนตับใหม่ การรักษามะเร็งตับที่หวังผลหายขาด คือ การผ่าตัด แต่มีประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่เหมาะสมต่อการผ่าตัดรักษา


การปลูกถ่ายตับ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนตับใหม่สำหรับมะเร็งตับ โดยเกณฑ์กำหนดผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อการปลูกถ่ายตับ คือ

 

- ก้อนมะเร็งขนาดเล็กกว่า 5 เซ็นติเมตร

 

- จำนวนก้อนมะเร็งมีจำนวนไม่เกิน 3 ก้อน และแต่ละก้อนมีขนาดเล็กกว่า 3 เซ็นติเมตร และทั้งหมดอยู่ในกลีบตับข้างเดียวกัน

 

- ไม่มีการลุกลามไปยังเส้นเลือด

 

- ไม่มีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น
 

2. การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวออกไป ได้แก่ การสอดสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงก้อนมะเร็งร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉีด ethanol หรือ acetic acid เข้าไปที่ก้อนมะเร็ง รวมถึงวิธีการใช้ความร้อนทำลายก้อนมะเร็ง

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ