ข่าว

จ่อออก 3 พ.ร.ก. สู้พิษโควิด-19 !!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ที่ประชุม ครม.นัดพิเศษ เห็นชอบการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ ให้อำนาจแบงค์ชาติปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ-เข้าไปซื้อตราสารหนี้เอกชน (หุ้นกู้ต่างๆ)-ให้คลังกู้เงิน

     อุบลรัตน์ เถาว์น้อย คอลัมน์นิสต์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า  ..จ่อออก 3 พ.ร.ก. สู้พิษโควิด-19 !!

    ถือว่าเป็นไปตามคาด สำหรับผลการประชุม ครม.นัดพิเศษ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มีมติรับหลักการ ในการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุดที่ 3 ออกมา นั่นก็คือ เห็นชอบให้มีการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ ที่คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ10% ของจีดีพี ซึ่งก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.68 ล้านล้านบาท (คำนวณจากจีดีพีของไทยปี 62 ที่ 16.8ล้านล้านบาท)

     ที่บอกว่าเป็นมาตรการชุดที่ 3 เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ออกนโยบายมาแล้วหลายอย่าง เช่น จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท , การพักชำระหนี้ ต่างๆ เป็นต้น

     แต่.. ดูเหมือนว่า วิกฤตโควิด-19 จะไม่ยอมคลี่คลายลงง่ายๆ

    กลับมาที่การออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ

     เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี ได้ประชุมร่วมกับ ผู้ว่าการแบงค์ชาติ คุณวิรไท สันติประภพ จนมีมติว่า ที่ประชุม ครม.นัดพิเศษ เห็นชอบการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) 2 ฉบับ และกระทรวงการคลัง 1 ฉบับ ประกอบด้วย

   1.พ.ร.ก.ให้อำนาจแบงค์ชาติปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ต่ำมาก) หรือซอฟต์โลน

   2.พ.ร.ก.ให้อำนาจ แบงค์ชาติเข้าไปซื้อตราสารหนี้เอกชน (หุ้นกู้ต่างๆ)

    3.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน

    ผู้ที่ออกมาแถลงเรื่องนี้คือ หัวเรือใหญ่ทีมเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรี ‘สมคิด จาตุศรีพิทักษ์’

    โดยมาตรการทางการคลังทั้งหมดในชุดนี้ คาดว่าจะใช้วงเงินรวมประมาณ 10% ของจีดีพี ถือเป็นวงเงินที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่น ครอบคลุมการดูแลทั้งประชาชน และภาคธุรกิจ

    ในขณะที่ขุนคลัง อย่าง อุตตม สาวนายน ยืนยันว่า 10% ของ จีดีพี ไม่ได้มาจากการกู้ทั้งหมด แต่ต้องพิจารณาเงินจากงบประมาณก่อน หมายถึงว่า ถ้างบประมาณใช้ได้ดี การออก พ.ร.ก.กู้เงิน ก็อาจจะไม่ใช่ 10% ของ จีดีพี.

    ส่วนมาตรการเยียวยาชุดที่ 3 จะครอบคลุมช่วงเวลา 6 เดือน ประกอบด้วย

   1. เยียวยาภาคประชาชน ด้วยการลดภาระสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม

   2. ดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจช่วงหยุดชะงัก โดยภาครัฐจะเร่งลงทุนเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

   3. ดูแลสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ผ่านช่องทางของแบงค์ชาติ เช่น

- พักเงินต้นและดอกเบี้ย ครอบคลุม SME ขนาดใหญ่ขึ้น โดยแบงค์ชาติ จะขอออก พ.ร.ก. เพื่อออกซอฟท์โลนปล่อยสินเชื่อได้เอง คล้ายตอนน้ำท่วมใหญ่

- ขอออก พ.ร.ก. เพื่อซื้อตราสารหนี้

-ขอขยายเวลาคุ้มครองเงินฝากจากที่จะลดเหลือ 1 ล้าน ใน ส.ค. 63 เป็น ส.ค. 64 (จากเดิม 5 ล้าน)

  นี่เป็นมาตรการคร่าวๆ ที่เคาะออกมาจากที่ ประชุม ครม.นัดพิเศษ เมื่อวันศุกร์ รับหลักการเรียบร้อย และมอบหมายให้ คลัง กับ แบงค์ชาติ ไปเตรียมรายละเอียด แล้วเสนอเข้าที่ประชุม ครม. อังคารที่จะถึงนี้

     อย่างที่บอกไป.. นี่เป็นมาตรการชุดที่3 แล้ว ที่ภาครัฐเข็นออกมาสู้กับวิกฤตโควิด-19 และเชื่อว่า คงไม่ได้เป็นมาตรการชุดสุดท้ายแน่นอน เพราะวิกฤตนี้น่าจะอยู่กับเราไปอีกนาน (ครึ่งปีเป็นอย่างน้อย)

     ส่งกำลังใจให้เหล่าคีย์แมนที่เกี่ยวข้องทุกคน ถ้าทำดี แก้ปัญหาได้เร็วตรงจุด คงจะซื้อใจคนได้ไม่ไม่ยาก แต่ถ้าออกมาตรงกันข้าม บอกได้คำเดียวว่า สู่ขิตแน่นอน..

————————-

#BonratTalk
อุบลรัตน์ เถาว์น้อย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ