ข่าว

70 ปีจีนใหม่ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะวันตก 300 ปี จีน 30 ปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

#จีนใหม่ รายงานพิเศษ จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก 12-13 ต.ค.62

 

 

***********************

 

ต่อจากตอนที่แล้ว (ฉบับวันที่ 28 ก.ย.) ซึ่ง ว่าน ซูเอี้ยน” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวจีน ได้อ้างคำพูดของ สวี หงไฉ” รองหัวหน้าคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจแห่งสถาบันวิจัยนโยบายวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน ที่ว่า 70 ปีที่แล้วมา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนได้แบ่งออกเป็น 5 ระยะ

 

ระยะที่หนึ่ง เริ่มตั้งแต่ปี 1949 จนถึงปี 1978 (เมื่อปี 1956 ประเทศจีนได้สถาปนาระบอบสังคมนิยมโดยพื้นฐาน) ระยะที่สอง เริ่มตั้งแต่ปี 1978 ซึ่งคณะกรรมการเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 11 ที่มีมติให้ดำเนินนโยบายปฏิรูปเปิดกว้าง จนถึง เติ้ง เสี่ยวผิง ได้กล่าวคำปราศรัยในโอกาสไปตรวจการณ์ภาคใต้เมื่อปี 1992

 

 

70 ปีจีนใหม่ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะวันตก 300 ปี จีน 30 ปี

 

 

 

ระยะที่สาม เริ่มตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งได้สถาปนาระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยมจนถึงปี 2001 ระยะที่สี่ เริ่มตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งประเทศจีนได้เข้าร่วมองค์การค้าโลก(WTO) จนถึงปี 2012 และระยะที่ 5 เริ่มตั้งแต่การประชุมสมัชชาพรรคคอมิวนิสต์จีนสมัยที่ 18 จนถึงปัจจุบัน

 

จากนั้นยังได้อ้างถึงมุมมองของ เจี้ย จิ้นจิง” ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันการเงินและหัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาคแห่งมหาวิทยาลัยประชาชนของประเทศจีน ที่ได้กล่าวว่า ช่วง 30 ปีแรกของการสถาปนาประเทศจีนใหม่ก็ได้สร้างรากฐานการอุตสาหกรรมไว้แล้ว เพียงแตมิได้แสดงออกทางเงินตรา

 

และเศรษฐกิจของประเทศจีนนั้น พลังแข่งขันที่เป็นหัวใจแท้จริงนั้น อยู่ที่ความสามารถในการดำเนินโครงการ ซึ่งรวมทั้งผลสำฤทธิ์ทางเทคโนโลยี โดยมักจะทำให้ปรากฏเป็นจริงโดยผ่านวิธีทางโครงการ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและโครงการนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างก็ต้องทำเป็นโครงการแล้ว จึงจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังการผลิตที่เป็นจริง

 

ความสามารถของประเทศจีนในการแปรเป็นโครงการนั้นเป็นเอกลักษณ์ไม่มีใครเทียบได้ เมื่อกล่าวโดยทัศนคติทางการพัฒนาแล้ว ประเทศจีนดำเนินการโดย “พัฒนาก่อน ปันผลทีหลัง” ส่วนฝ่ายตะวันตกนั้นดำเนินการโดย "ปันผลประโยชน์ก่อนแล้วพัฒนาอีก”

 

มาในตอนจบฉบับนี้ เขายังได้นำเสนอข้อมูลโดยอ้างคำพูดของ Dr.Theo Sommer อดีตบรรณาธิการและผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ไทม์ของเยอรมนี ที่ได้กล่าวไว้ว่า “ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่แล้วมาประเทศจีนได้บรรลุซึ่งความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจเป็นประวัติการณ์”

 

ว่าน ซูเอี้ยน เขียนในบทรายงานว่า Dr Theo Sommer ได้เยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1975 เมื่อพูดถึงภาพประทับใจที่มีต่อประเทศจีน เขากล่าวว่า “เมื่อเทียบกับปัจจุบันแล้ว ประเทศจีนเมื่อปี 1975 ยังอยู่ใน “ยุคหิน” แต่แค่ 40 ปีให้หลัง ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศที่ทันสมัยอย่างยิ่ง"

 

 

70 ปีจีนใหม่ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะวันตก 300 ปี จีน 30 ปี

 

 

เขากล่าวว่า "ฝ่ายตะวันตกได้ใช้เวลา 300 ปี จึงบรรลุซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมและมาถึงการปฏิวัติดิจิทัลเช่นในปัจจุบัน แต่คนประเทศจีนใช้เวลาเพียงประมาณ 30 ปีก็ได้บรรลุซึ่งกระบวนการดังกล่าว”

 

ระยะต้นของการสถาปนาประเทศจีนใหม่ การบริโภคสินค้าของชาวบ้านที่สำคัญคือต้องการกินอิ่มสวมเสื้อผ้าให้อุ่น แต่ต่อมารายได้ของชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นและทัศนคติเปลี่ยนไป การบริโภคของชาวบ้านได้เปลี่ยนจากความต้องการด้านปริมาณมาเป็นความต้องการด้านคุณภาพ ทำให้โครงสร้างการบริโภคมีการปรับปรุง

 

ในปัจจุบันชีวิตของคนประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก “กวอหวิน” ผู้มีอายุ 60 ปีเมื่อเห็นลูกชายตกแต่งห้องหอสำหรับการสมรสแบบทันสมัยก็รู้สึกฉงน อย่างเช่นในห้องครัวได้จัดให้มีอุปกรณ์การทำครัวแบบทันสมัย ในห้องน้ำก็จัดให้มีวัสดุดับกลิ่นและเครื่องซักผ้าอัตโนมัติ ในห้องรับแขกก็มีเครื่องโทรทัศน์แบบใช้รีโหมดควบคุมจอภาพและเสียง สิ่งเหล่านี้ทำให้เธอรู้สึกฉงนสนเท่ห์

 

หู อี้ซาน” นักวิชาการชาวมาเลเซียมีเรื่องที่ทำให้เขายากที่จะลืมเลือน นั่นคือ สินค้าที่มีสัญลักษณ์บอกว่าผลิตในประเทศจีน (Made In China) เมื่อปลายทศวรรษที่ 7 ต้นทศวรรษที่ 8 ของศตวรรษที่แล้วมา ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีนในมาเลเซียและในเอเชียอาคเนย์มีน้อยมาก แต่ตราบจนถึงทุกวันนี้เขายังสามารถบอกได้ว่าซอสที่มารดาของเขาใช้นั้นมีแบรนด์จูเจียง ซึ่งทำให้เขาเรียนรู้ว่าประเทศจีนนอกจากมีแม่น้ำฉางเจียงและหวงเหอแล้วยังมีแม่น้ำจูเจียง

 

สำหรับมุมมองของเขาแล้วเขาเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นบ่งบอกให้รู้กระบวนการปฏิรูปเปิดกว้าง โดยประเทศจีนเป็น “โรงงานโลก”

 

ปีนี้นอกจากเป็นปีที่ครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาประเทศจีนใหม่แล้ว ยังเป็นปีสำคัญซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งทางการประเทศจีนประกาศว่าเป็นปีที่สร้างสังคมประเทศจีนเป็นสังคม “เสี่ยวคัง” (คือมีอันจะกิน) และเป็นปีสำคัญที่จะก้าวเข้าสู่เป้าหมายหนึ่งศตวรรษแรก

 

 

70 ปีจีนใหม่ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะวันตก 300 ปี จีน 30 ปี

 

 

เฟย ฉางหง” อดีตหัวหน้าสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจของสถาบันวิจัยสังคมและวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อมภายนอกที่ประเทศจีนเผชิญอยู่นั้นยังไม่แจ่มใส การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกอยู่ในสภาพชะลอตัว ลัทธิกีดกัน และลัทธิปัจเจกนิยมมีความเหิมเกริมยิ่งขึ้น

 

ราคาสินค้าลอตใหญ่ทางสากลมีความผันผวนเป็นการใหญ่ ปัจจัยความไม่มั่นคงและไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัด แต่การพัฒนาของประเทศจีนยังคงอยู่ในช่วงมีโอกาสทางยุทธศาสตร์อันสำคัญ เศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มในทางที่ดีไม่เปลี่ยนแปลง

 

 

70 ปีจีนใหม่ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ตะวันตก 300 ปี จีน 30 ปี

 

 

ประเทศจีนจะต้องลงลึกในการปฏิรูปเชิงการตลาด ขยายระดับการเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นอีกต่อไป พัฒนากลไกระบบที่สอดรับกับการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงและมีความสมบูรณ์แบบ ด้านหนึ่งจะต้องทำให้รัฐวิสากิจมีความเข้มแข็งโดยการปฏิรูปและนวัตกรรม เสริมพลังการพัฒนาที่มีชีวิตชีวาและพลังการแข่งขันอย่างไม่หยุดหย่อน

 

อีกด้านหนึ่งจะต้องลงแรงมากยิ่งขึ้นในการทำให้สิ่งแวดล้อมการพัฒนาเศรษฐกิจของด้านเอกชนมีความเป็นเลิศ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันต้องลงลึกปฏิรูประบบการคลังการเรียกเก็บภาษีและการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องลดภาษีลดค่าใช้จ่ายในการประกอบการ เพื่ออำนวยให้องคาพยพทางจุลภาคมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

 

สุดท้าย ว่าน ซูเอี้ยน อ้างคำพูดของ เจี้ย จิ้นจิง โดยกล่าวว่า ความสามารถของประเทศจีนในการสนองการค้ำจุนด้านการเงินแก่การพัฒนาภาคเศรษฐกิจจริงนั้นยังไม่พอ ต้องคำจุนการสร้างสรรค์ระบบการเงินแบบทันสมัยของการพัฒนาเชิงนวัตกรรมและขับเคลื่อน

 

******************
ทิวสน(ถอดความ)

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ