ข่าว

'โหวตนายกฯ' ช้า กระทบความเชื่อมั่นหากลากยาวส่อกระทบไปถึง GDP ไตรมาส 4

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'โหวตนายกฯ' ช้ากระทบความเชื่อมั่นนักธุรกิจ ภาคลงทุน จับตา 19 ก.ค. ภาคธุรกิจอยากให้มีรัฐบาลชุดใหม่เร็วที่สุด หากสถานการณ์ยืดเยื้อไม่เป็นผลดี

กว่า 2 เดือนแล้วที่ประเทศไทยผ่านการเลือกตั้งมาแต่จนตอนนี้ เราก็ยังไม่สามารถจัดตั้งรับบาลได้ แม้ว่าเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566  ที่ผ่านมาสภาฯ จะมีการจัดประชุมเพื่อ "โหวตนายกฯ" โดยพรรคร่วมทั้งหมด 8 พรรค ได้มีการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคก้าวไกล แต่ปลการ "โหวตนายกฯ" ในครั้งแรกพบว่า นายพิธา ไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงข้างมากและไม่ยังไม่สามารถเป็นนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาลได้

 

 

แน่นอนว่าการที่ประเทศไทยมีรัฐบาลล่าช้า หลังจากที่ผ่านการเลือกตั้งมาเป็นเวลานาน ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่น และกระทบระบบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และยิ่งหากการ โหวตนายกฯ และการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ทำได้ล่าช้ามากเท่าไหร่ รวมไปถึงหากมีการชุมชนทางการเมือง ก็อาจจะสั่นคลอนระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น การลงทุนได้

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากผลการลงคะแนนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หอการค้าไทย เชื่อว่ากระบวนการตามระบอบประชาธิปไตยในทางรัฐสภาได้พยายามเดินหน้าอย่างเต็มที่ ซึ่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยังไม่สามารถผ่านการลงคะแนนได้ในครั้งแรก ซึ่งก็ยังการ "โหวตนายกฯ" ครั้งที่ 2 - 3 ตามที่มีกำหนดออกมาเบื้องต้นในวันที่ 19 และ 20 ก.ค. 2566 โดยหลังจากนี้ ทั้ง 8 พรรคร่วมฯ คงจะกลับไปทำความเข้าใจและเจรจาพูดคุยเพื่อหาแนวทางร่วมกันใหม่อีกครั้ง และคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด

ด้านการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนภายใต้กฎหมาย  ที่สามารถทำได้และวันนี้เราเห็นแล้วว่าทุกฝ่ายต่างยอมรับและเคารพในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเชื่อว่าในระยะสั้นการชุมนุมจะอยู่บนพื้นฐานของความเรียบร้อย ไม่กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่หลายฝ่ายมองว่าสามารถเติบโตได้ทั้งปี 3 - 3.5 %

 

นายสนั่น อังอุบลกุล

 

​อย่างไรก็ตามยังเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ แต่หอการค้าฯ ยังคงเชื่อว่าหลังจากนี้จะมีกระบวนการหารือและทำความเข้าใจร่วมกัน ในที่สุดทุกฝ่ายจะเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศ และสนับสนุนให้เกิดรัฐบาลใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะหากได้รัฐบาลล่าช้าออกไป การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และการประกาศนโยบายต่อรัฐสภาอาจจะเกิดขึ้นช่วง ส.ค.- ก.ย. 2566 และกว่าจะจัดทำงบประมาณแล้วเสร็จอาจได้เริ่มใช้งบประมาณประเทศในไตรมาส 2 ปี 2567 ซึ่งจะล่าช้าและกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและนักลงทุนต่างประเทศ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเอกชนจึงอยากให้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่รวดเร็วที่สุด เพื่อเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

ด้านข้อมูลอมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินการจัดตั้งรัฐบาลมีความล่าช้าออกไปจากกำหนดการเดิมในเดือนส.ค.  ถ้ายิ่งล่าช้าออกไปผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย อีกทั้งจะกดดันให้จีดีพีไทยปี 2566 ขยายตัวเพียง 2-2.5% ซึ่งมีความเป็นไปได้ เพราะผลกระทบไปกระทบกับตัวเลขภาคเอกชนมากกว่า เรื่องการเบิกจ่ายภาครัฐ เพราะเรื่องนี้สามารถบริหารจัดการได้ อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีที่จะมีในวันที่ 19 ก.ค. 2566 นี้

 

 

ทั้งนี้พบว่า ผลกระทบเกิดจากความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่อาจจะลากยาวไปถึงไตรมาส 4/2566  อย่างไรก็ตามหากไม่เกิดความรุนแรงจากปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจไทยจะมีรัฐบาล หรือไม่มีรัฐบาล เรื่องภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยวก็ยังเป็นตัวสนับสนุนให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ